วันกัญชาโลก รัฐ-เอกชนเดินหน้าหนุนวิจัย-พัฒนา “กัญชาทางการแพทย์”

20 เม.ย. 2565 | 10:59 น.
อัปเดตล่าสุด :20 เม.ย. 2565 | 18:14 น.

วันกัญชาโลก เปิดเวทีสัมนา “แพทย์พบแพทย์ เพื่อกัญชาทางการแพทย์” มิติการวิจัยและพัฒนาจากความร่วมมือภาครัฐและเอกชนร่วมบูรณาการครบวงจร

20 เมษายน เป็น “วันกัญชาโลก” ซึ่งก่อตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนการเปิดเสรีและการทำให้กัญชาถูกกฎหมาย ทางสมาคมนักวิจัยแห่งประเทศไทย ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนโดย กรมสุขภาพจิต, กรมแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระ นคร บริษัท เนเจอร์ ไทย วิสดอม จำกัด มูลนิธิโรงพยาบาลศรีธัญญา, ศูนย์บูรณาการความรู้กัญชา และทีมสอนฝึกอบรมแพทย์กัญชา ร่วมกันจัดงานสัมมนา “แพทย์พบแพทย์ เพื่อกัญชาทางการแพทย์” ขึ้น

แพทย์พบแพทย์ เพื่อกัญชาทางการแพทย์

นายแพทย์ศิริศักดิ์  ธิติดิลกรัตน์ รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า กัญชาเพื่อการแพทย์ตามข้อมูลขององค์การอาหารและยาสหรัฐ หรือ FDA นั้นถูกตีความมาจากสารสกัดพื้นฐานจากพืชกัญชา เพื่อนำมารักษาผู้ที่มีปัญหาการเจ็บป่วยที่เข้าเงื่อนไขทางวิชาการ ที่มีการพัฒนาการวิจัยอย่างต่อเนื่องมาตลอดหลายทศวรรษ ซึ่งหลายประเทศได้พัฒนาและนำมาใช้เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์แล้ว

แพทย์พบแพทย์ เพื่อกัญชาทางการแพทย์

โดยสิ่งที่กรมดำเนินการอยู่มี 2 ส่วน คือ 1. เข้าไปขอร่วมในโครงการวิจัยทางการแพทย์ของหน่วยงานต่างๆ ที่ทำอยู่ขณะนี้ เพื่อต้องการทราบว่าการใช้สารสกัดกัญชาเพื่อรักษาโรคนั้น มีผลกระทบกับกับโรคทางจิตเวชอย่างไรหรือไม่ เพราะต้องยอมรับว่าก่อนหน้านี้กัญชาในเมืองไทยยังเป็นเรื่องที่ผิดกฎหมาย เลยไม่ได้มีการเก็บข้อมูลทางด้านจิตเวชมากเท่าที่ควร และ      

 

2. กรมฯ จะศึกษาเรื่องการใช้สารสกัดกัญชารักษาอาการสั่นเรื้อรังรักษาไม่หาย ที่เป็นผลมาจากการใช้ยารักษาโรคทางจิตเวชสมัยก่อน และร่วมศึกษาตำรับยาศุขไสยาสน์กับผู้ป่วยจิตเวช ช่วยเรื่องการนอนหลับ เป็นต้น ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการเพื่อให้เกิดผลในทางปฏิบัติ

แพทย์พบแพทย์ เพื่อกัญชาทางการแพทย์

ด้านนายแพทย์ขวัญชัย วิศิษฐานนท์  รองอธิบดีกรมแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กล่าวว่า นโยบายกระทรวงสาธารณสุขนั้นได้ส่งเสริมให้นำกัญชามาใช้ประโยชน์ ทางการแพทย์แผนไทย และการแพทย์พื้นบ้านไทยได้ การขับเคลื่อนการใช้ประโยชน์จากกัญชา นอกจากสนับสนุนให้มีคุณค่าทางการแพทย์แล้ว ยังสนับสนุนให้ประชาชนเข้าถึงบริการ และใช้เพื่อสุขภาพ


เกิดประโชน์ต่อการสร้างงาน สร้างเงิน ทั้งในระดับครัวเรือน ระดับวิสาหกิจชุมชน และระดับประเทศ ช่วยทั้งในภาคการเกษตร และภาคอุตสาหกรรมครอบคลุมถึงการแปรรูป บรรจุภัณฑ์ การขาย และการตลาด เกิดการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศ เกิดการพลิกฟื้นเศรษฐกิจ และจากการยกระดับกัญชาให้กลายเป็นพืชเศรษฐกิจ

 

โดยในปี 2564 ผลิตภัณฑ์จากกัญชา กัญชง ในประเทศมีมูลค่าสูงกว่า 7,000 ล้านบาท แต่ประเด็นของสถานพยาบาลเอกชนที่มีความพร้อมในการจัดบริการคลินิกกัญชาทางการแพทย์แผนไทย ยังขาดโอกาสในการเข้าถึงตำรับยากัญชาทางการแพทย์แผนไทย สำหรับให้บริการผู้ป่วย ดังนั้น เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว และสร้างโอกาสการเข้าถึงตำรับยากัญชาทางการแพทย์แผนไทย จึงเกิดความร่วมมือ ขับเคลื่อนโครงการความร่วมมือเพื่อพัฒนารูปแบบการ นำผลิตภัณฑ์ตำรับยากัญชาทางการแพทย์แผนไทย ไปใช้ใน สถานพยาบาลเอกชน

แพทย์พบแพทย์ เพื่อกัญชาทางการแพทย์

​ขณะที่อันชญาน์ อิสรวรางค์กุน ประธาน บริษัท เนเจอร์ ไทย วิสดอม จำกัด กล่าวว่า กัญชาเป็นหนึ่งในสมุนไพรที่เราทำงานเชิงวิจัยมีแผนในการที่จะส่งออกไปยังต่างประเทศ เพื่อใช้ประโยชน์ในทางการแพทย์ทั้งนี้แผนการทั้งหมดได้ถูกผลักดันให้เกิดขึ้นจริงอย่างเป็นรูปธรรมแล้ว

 

โดย ศูนย์บูรณาการความรู้กัญชา หรือ CKC (Cannabis lntegrated knowledge Center) ภายใต้มูลนิธิโรงพยาบาลศรีธัญญา และ กรมสุขภาพจิตจึงนับว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการยกระดับแพทย์แผนไทยไปสู่ทั่วโลก หากประเทศไทยเราพร้อมเดินหน้าขับเคลื่อนเรื่องกัญชาสู่ตลาดทั้งภายในและต่างประเทศ  เชื่อว่าจะเป็นพืชเศรษฐกิจชนิดหนึ่งที่เป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศที่จะนำรายได้เข้าประเทศอย่างมหาศาล เรียกได้ว่า

 

ขณะนี้การดำเนินการในประเทศไทยมีทั้งต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ เกิดขึ้นแล้วอย่างครบวงจร ปัจจุบัน เนเจอร์ ไทย วิสดอม ได้สร้างกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่เรียกว่ากลุ่ม “Green Blood” ซึ่งเป็นการรวมกันของคำว่า Green และ Young Blood โดยคนรุ่นใหม่กลุ่มนี้มองเห็นคุณค่าของสมุนไพร และวัฒนธรรมไทย เช่นเดียวกับ ศูนย์บูรณาการความรู้กัญชา และมุ่งทำการตลาดไปด้วยกันเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์และตอบแทนสังคมโลก