ประกันสังคม ม.33 ม.39 ม.40 ติดโควิดได้อะไรบ้าง จ่ายเงินชดเชยเท่าไหร่ เช็คเลย

23 เม.ย. 2565 | 05:00 น.
อัปเดตล่าสุด :23 เม.ย. 2565 | 10:09 น.

ประกันสังคม ผู้ประกันตน ทุกมาตรา ม.33 ม.39 ม.40 หากติดเชื้อโควิดขาดราบได้ ได้อะไรบ้าง จ่ายเงินชดเชยเท่าไหร่ เช็คเลย

เช็คสิทธิประกันสังคม "ผู้ประกันตน" ม.33 ม.39 และ ม.40 ติดเโควิดขาดรายได้ สามารถยื่นขอรับเงินชดเชยขาดรายได้ จากสำนักงานประกันสังคมได้ภายในระยะเวลาเท่าไร และจะได้รับชดเชยอย่างไร

ดาวน์โหลดแบบฟอร์มคำขอรับประโยชน์ทดแทนได้ที่ (คลิก) 

 

มาตรา 33

  • กรณีลาป่วย  รับค่าจ้าง 30 วันแรก จากนายจ้าง
  • หยุดรักษาตัว เกิน 30 วัน เบิกสิทธิประโยชน์กรณีขาดรายได้ จากประกันสังคม นับตั้งแต่วันที่ 31 ของการลาป่วย
  • ได้รับเงินทดแทนร้อยละ 50 ของค่าจ้างจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท
  • ได้รับครั้งละไม่เกิน 90 วัน ปีละไม่เกิน 180 วัน เว้นแต่โรคเรื้อรังไม่เกิน 365 วัน

มาตรา 39

  • รับเงินทดแทน ขาดรายได้ร้อยละ 50
  • คิดจากฐานอัตราการนำส่งเงินสมทบ (4,800 บาท) ครั้งละไม่เกิน 90 วัน ปีละไม่เกิน 180 วัน
  • เว้นแต่โรคเรื้อรังไม่เกิน 365 วัน ยื่นแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน (สปส. 2-01)
  • ม.33 และ ม.39 จะพิจารณาจากเอกสารหลักฐาน และใบรับรองแพทย์ และผู้ประกันตนต้องมีการนำส่งเงินสมทบ 3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนวันรับบริการทางการแพทย์ ตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขฯ

 

 มาตรา 40

  • รับเงินทดแทนขาดรายได้ตามทางเลือก 1 - 2 - 3
  • ต้องนำส่งสมทบ 3 เดือน ภายในระยะเวลา 4 เดือน ก่อนเดือนที่ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย
  • พิจารณาจากเอกสารหลักฐาน และใบรับรองแพทย์ ยื่นแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน (สปส. 2-01/ม.40)

 

ช่องทางการจ่ายเงินสิทธิประโยชน์กองทุนประกันสังคมและกองทุนเงินทดแทนผ่านธนาคาร

 

  • ม.33 และ ม.39 (โอนผ่านธนาคาร) Krungthai , Krungsri , Bangkok Bank , ttb , SCB , Kbank , ธนาคารอิสลาม , CIMB Thai , ออมสิน , ธ.ก.ส. , PromptPay
  • ม.40 (โอนผ่านธนาคาร) Krungthai , Krungsri , ออมสิน , ธ.ก.ส.

 

ขอรับเงินทดแทนกองทุนเงินทดแทน (โอนผ่านธนาคาร)

Krungthai , Krungsri , ออมสิน , ธ.ก.ส.