หลังจากการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราไปรษณียากรและค่าธรรมเนียมอื่น พ.ศ. …. ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) เสนอ มีสาระสำคัญเป็นการปรับอัตราไปรษณียากร หรือ แสตมป์ สำหรับบริการไปรษณียภัณฑ์ในประเทศใหม่ ในรอบ 18 ปี นับตั้งแต่ใช้ราคาเดิมมาตามกฎกระทรวงฯ ปี 2547
เหตุผลของการปรับอัตราขึ้นใหม่
ดศ. ชี้แจงเสนอว่า กฎกระทรวงกำหนดอัตราไปรษณียากรและค่าธรรมเนียมอื่นตามพระราชบัญญัติไปรษณีย์ พุทธศักราช 2477 พ.ศ. 2547 และกฎกระทรวงกำหนดอัตราไปรษณียากรสำหรับไปรษณียภัณฑ์ภายในประเทศที่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนด พ.ศ. 2549 มีผลใช้บังคับมาเป็นระยะเวลานานแล้ว บริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด (ปณท) ไม่ได้ขอปรับอัตราราคาค่าบริการไปรษณีย์พื้นฐานในประเทศ
ขณะที่ต้นทุนเพิ่มขึ้นตามอัตราเงินเฟ้อ และจากผลการศึกษาโครงการปรับปรุงอัตราค่าบริการไปรษณียากรของจดหมายและไปรษณียบัตรในประเทศของ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) เมื่ออิงกับดัชนีราคาผู้บริโภค และอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจากข้อมูลธนาคารแห่งประเทศไทย ที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไป ณ ปัจจุบันปรับสูงขึ้น 38.46% จากปี 2547 พบว่าในปี 2562 อัตราค่าบริการจดหมายในประเทศที่ควรจะเป็นคือ 4.13 บาทต่อฉบับ
แม้ ปณท ได้พยายามบริหารจัดการต้นทุนให้อยู่ในกรอบอัตราเงินเฟ้อมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถบริการไปรษณีย์พื้นฐานในประเทศโดยทั่วถึงแก่ประชาชนในอัตราเริ่มต้นที่ 3 บาท มีผลให้ ปณท มีภาระเชิงสังคมต้นทุนของบริการพื้นฐานในประเทศเพิ่มสูงขึ้น จากข้อมูลปี 2554 – 2563 เป็นจำนวนสูงถึง 18,380 ล้านบาท
(เฉลี่ยปีละ 1,838 ล้านบาทและมีแนวโน้มสูงขึ้น โดยในปี 2563 มีภาระการให้บริการเชิงสังคม 3,072 ล้านบาท)
อีกทั้ง ปณท ต้องปรับมาตรฐานการฝากส่งให้เป็นไปตามสหภาพสากลไปรษณีย์ (UPU) จากมาตรฐานการฝากส่งรูปแบบเดียว เป็นมาตรฐานการฝากส่ง 2 รูปแบบ คือ ประเภทหีบห่อ (กล่อง) และประเภทซอง
ดศ. พิจารณาแล้วเห็นว่า ปณท ได้ใช้อัตราค่าบริการไปรษณีย์พื้นฐานเดิมมาเป็นเวลานาน กิจการไปรษณีย์ในปัจจุบันมีแนวโน้มประสบปัญหาขาดทุน เห็นควรปรับอัตราไปรษณียากรสำหรับบริการไปรษณียภัณฑ์ในประเทศใหม่ ดังนั้นเพื่อไม่ให้ประชาชนเดือดร้อน ดศ. จึงได้ยกร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราไปรษณียากรและค่าธรรมเนียมอื่น พ.ศ. …. ขึ้น
การปรับขึ้นครั้งนี้ส่งผลอะไรกับประชาชน
ปณท ยืนยันว่า การปรับอัตราไปรษณียากรในระยะ 3 ปีแรก จะไม่ส่งผลกระทบต่อภาคประชาชน เนื่องจากเป็นการปรับอัตราไปรษณียากรเฉพาะบริการประเภทจดหมาย ซึ่งภาคประชาชนส่วนใหญ่มาใช้บริการฝากส่งอยู่ในช่วงพิกัดน้ำหนัก 0 – 10 กรัม ซึ่งมีอัตราไปรษณียากร 3 บาท (เท่าเดิม)
แม้ว่าจะส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจสำหรับกลุ่มการเงิน กลุ่ม e-Commerce และกลุ่มขนส่งและสื่อสารก็ตาม แต่เป็นต้นทุนที่เพิ่มขึ้นอย่างไม่มีนัยสำคัญจนอาจเกิดการผลักภาระค่าใช้จ่ายดังกล่าวไปยังผู้ใช้บริการแต่อย่างใด
สำหรับการปรับอัตราไปรษณียากรสำหรับบริการไปรษณียภัณฑ์ในประเทศใหม่ ดังนี้
1. จดหมาย จำแนกออกเป็น 2 ประเภท คือ
โดยมีอัตราค่าบริการให้แยกประเภทซอง/หีบห่อ เป็น 2 ระยะ
ระยะแรก (พ.ศ. 2565 – 2567)
ระยะที่สอง ตั้งแต่ปี 2568 เป็นต้นไป
2. ไปรษณียบัตร ของตีพิมพ์ และพัสดุไปรษณีย์ ไม่เปลี่ยนแปลงอัตราค่าบริการในระยะแรก (พ.ศ. 2565 – 2567) เป็นระยะเวลา 3 ปี และระยะที่สองจะปรับอัตโนมัติตั้งแต่ปี 2568 เป็นต้นไป
3. กำหนดอัตราไปรษณียากรพิเศษสำหรับไปรษณียภัณฑ์ภายในประเทศที่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนด โดยมีส่วนลดสูงสุดไม่เกิน 44% จากอัตราที่ขอปรับขึ้นใหม่ โดยกำหนดเงื่อนไขในการใช้บริการ เช่น ฝากส่งเป็นประจำต่อเนื่อง ฝากส่งต่อเดือนตั้งแต่ 500,000 ฉบับต่อเดือนขึ้นไป มีการคัดแยกเพื่ออำนวยความสะดวกในการส่งต่อในระบบงานไปรษณีย์ ฝากส่งและนำจ่ายในเขตพื้นที่เดียวกัน เป็นต้น
สำหรับอัตราไปรษณียากรสำหรับจดหมาย ประเภทซอง จดหมาย ประเภทหีบห่อ ไปรษณียบัตร ของตีพิมพ์ เครื่องอ่านสำหรับคนเสียจักษุ และพัสดุไปรษณีย์ กำหนดไว้ดังนี้
สำหรับอัตราส่วนลดจากอัตราไปรษณียากรทั่วไป กำหนดไว้ดังนี้
สำหรับอัตราค่าธรรมเนียมสำหรับบริการการเงินในประเทศ กำหนดไว้ดังนี้