thansettakij
เอกชนหวังเงินบาทอ่อนตัวเนื่อง  มั่นใจส่งออก Q2 โตต่อเนื่อง

เอกชนหวังเงินบาทอ่อนตัวเนื่อง มั่นใจส่งออก Q2 โตต่อเนื่อง

03 พ.ค. 2565 | 06:12 น.
อัปเดตล่าสุด :05 พ.ค. 2565 | 12:09 น.

เอกชนหวังเงินบาทอ่อนตัวเนื่องช่วยฝ่าวิกฤติเศรษฐกิจโลกและต้นทุนในประเทศ  มั่นใจส่งออก Q2 โตต่อเนื่อง คาด โต 3.5-5% เป้าทั้งปี 5%

นายชัยชาญ เจริญสุข ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) เปิดเผยถึงสถานการณ์ส่งออกไทยว่า สรท. คาดการณ์การส่งออกไทยในไตรมาสที่สองของปี 2565 เติบโต 3.5 - 5% โดยยังคงคาดการณ์รวมปี 2565 ทั้งปีที่ 5% โดยการส่งออกจะเป็นไปได้ตามเป้าหมายนั้นอยู่ที่ค่าเงินบาทของไทยอ่อนค่าอย่างต่อเนื่องหรือไม่

นายชัยชาญ เจริญสุข ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) นายชัยชาญ เจริญสุข ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.)

นอกจากนี้  เศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าอย่าง ยุโรป อาเซียน เอเชียใต้  ตะวันออกกลาง ยังมีความต้องการสินค้าสูง ทำให้การส่งออกของไทยขยายตัว สินค้าที่ส่งออกเติบโตยังอยู่ในกลุ่มรถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกกอบ อัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ  เป็นต้น

 

เอกชนหวังเงินบาทอ่อนตัวเนื่อง  มั่นใจส่งออก Q2 โตต่อเนื่อง

สำหรับปัจจัยปัจจัยเสี่ยงที่เป็นอุปสรรคสำคัญในปี 2565 เช่น สงครามรัสเซีย-ยูเครน ที่ส่งผลต่อการค้าโลกชะลอตัวโดยเฉพาะในกลุ่มสินค้าที่รัสเซียและยูเครนมีศักยภาพในการส่งออกไปทั่วโลกโดยเฉพาะสินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูป ปุ๋ย ปรับตัวสูงขึ้นและขาดแคลน ล่าสุดรัสเซียเริ่มงดซัพพลายพลังงานให้กับโปแลนด์และบัลแกเรียแล้ว  

เอกชนหวังเงินบาทอ่อนตัวเนื่อง  มั่นใจส่งออก Q2 โตต่อเนื่อง

 ราคาพลังงานทรงตัวในระดับสูง ส่งผลให้สินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมันมีมูลค่าสูงขึ้น ในทางกลับกันส่งผลต่อต้นทุนการผลิตสินค้าเกือบทุกประเภทรวมถึงต้นทุนการขนส่งที่ต้องปรับตัวสูงขึ้นตามกลไกราคาพลังงานในตลาดโลก ทำให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ปรับตัวสูงขึ้นหลายเท่าตัวทั่วโลก

เอกชนหวังเงินบาทอ่อนตัวเนื่อง  มั่นใจส่งออก Q2 โตต่อเนื่อง

ปัญหาหาการขาดแคลนแรงงานในภาคการผลิตขาดแคลนต่อเนื่อง ประกอบกับอาจมีแนวโน้มต้นทุนการจ้างงานที่ปรับตัวสูงขึ้น กระทบภาคการผลิตที่กำลังเผชิญเรื่องต้นทุนการผลิตที่สูงอยู่ก่อนแล้ว รวมถึงปัญหาวัตถุดิบขาดแคลนและราคาผันผวน อาทิ เซมิคอนดักเตอร์, เหล็ก, แร่ธรรมชาติ, สินค้าอุปโภคบริโภคขั้นต้นและขั้นกลาง เป็นต้น

เอกชนหวังเงินบาทอ่อนตัวเนื่อง  มั่นใจส่งออก Q2 โตต่อเนื่อง

ขณะที่ สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด – 19 หลายประเทศเริ่มมีการผ่อนคลายมาตรการ สำหรับการเดินทางเข้าประเทศอย่างต่อเนื่อง รวมถึงไทยที่เปิดประเทศเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม ที่ผ่านมา ทำให้การเดินทางทั้งท่องเที่ยวและทำธุรกิจมีความคล่องตัวมากขึ้น ขณะที่บางประเทศยังคงเข้มงวดในเรื่องของมาตรการตรวจสอบโควิดก่อนเข้าประเทศ อาทิ ประเทศจีน ที่ล่าสุดมีจำนวนผู้ผู้ป่วยโควิด-19 ที่เพิ่มขึ้นอย่างมากท่ามกลางการแพร่กระจายของโควิดโอไมครอนที่สามารถติดต่อได้ง่าย อย่างไรก็ดียังคงต้องเฝ้าติดตามและประเมินสถานการณ์การแพร่ระบาดอย่างใกล้ชิด

เอกชนหวังเงินบาทอ่อนตัวเนื่อง  มั่นใจส่งออก Q2 โตต่อเนื่อง

อย่างไรก็ตามสรท.มีข้อเสนอแนะไปยังภาครัฐ เช่น การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ โดย ขอให้ภาครัฐพิจารณาการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำโดยอ้างอิงจากปัจจัยการปรับขึ้นตามอัตราเงินเฟ้อเป็นหลัก พร้อมทั้งบริหารจัดการอัตราเงินเฟ้อไม่ให้ปรับตัวสูงเกินกว่า 5% เพื่อให้ผู้ประกอบการไม่แบกรับภาระที่สูงจนเกินไป และขอให้พิจารณาปรับขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไป เนื่องจากปัจจุบันผู้ประกอบการมีต้นทุนแรงงานที่ค่อนข้างสูง โดยเฉพาะการนำเข้าแรงงานต่างด้าวเฉลี่ยต่อคนประมาณ 12,000 บาท ดังนั้นหากปรับขึ้นมากเกินไปอาจกระทบกับธุรกิจในระดับ SME ที่กำลังฟื้นตัวจากผลกระทบโควิด-19 และยังไม่มีศักยภาพเพียงพอที่จะปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำได้ในช่วงเวลานี้

เอกชนหวังเงินบาทอ่อนตัวเนื่อง  มั่นใจส่งออก Q2 โตต่อเนื่อง

“ภาครัฐต้องพิจารณาควบคุมหรือปรับลดค่าใช้จ่ายภาคประชาชนในการดำรงชีวิต เช่น ค่าเดินทางโดยระบบขนส่งสาธารณะ (Mass transportation) ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า และค่าพลังงาน (น้ำมันและก๊าซหุงต้ม) และต้นทุนสินค้าโภคภัณฑ์ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตประจำวัน เพื่อช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันของประชาชน รวมถึงลดต้นทุนการผลิตของผู้ประกอบการ ทั้งด้านแรงงานและเครื่องจักร แทนที่การควบคุมราคาสินค้าของผู้ประกอบการ ท่ามการการปรับตัวเพิ่มขึ้นของต้นทุนการผลิต อาทิ ราคาน้ำมัน ค่าขนส่ง วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต ซึ่งหากต้นทุนของผู้ประกอบการต่ำ จะทำให้ผู้ประกอบการสามารถบริหารจัดการต้นทุนในระบบและไม่จำเป็นต้องผลักภาระต้นทุนไปให้แก่ผู้บริโภค"

เอกชนหวังเงินบาทอ่อนตัวเนื่อง  มั่นใจส่งออก Q2 โตต่อเนื่อง

นอกจากนี้การรักษาเสถียรภาพราคาน้ำมันในประเทศให้อยู่ระดับที่เหมะสม ผ่านเครื่องมือหรือกลไกในการควบคุมไม่ให้ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการและผู้บริโภคมากเกินไปรวมถึงเร่งผลักดันการค้าเข้าสู่ตลาด RCEP ให้มากที่สุด เพื่อใช้สิทธิประโยชน์จากความตกลงดังกล่าว