เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศ 19 พฤษภาคม 2563 (คลิกอ่านข่าว ) ลงนามโดย นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม “ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม” เรื่อง บัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย (ฉบับที่6) พ.ศ.2563 อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 วรรคสอง และมาตรา 18 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการวัตถุอันตราย ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ1 ให้ยกเลิกรายการเกี่ยวกับวัตถุอันตราย ในบัญชีรายชื่อวัตถุอันตรายแนบท้ายประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง บัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย พ.ศ. 2556 ลงวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ.2556 ดังต่อไปนี้ โดยให้รายการตามบัญชีรายชื่อวัตถุอันตรายแนบท้ายประกาศฉบับนี้แทน
บัญชีที่1 ที่กรมวิชาการเกษตรรับผิดชอบ บัญชี 1.1 รายชื่อสารควบคุม ลำดับที่53 คอลร์ไพริฟอส ลำดับที่ 54 คลอร์ไพริสฟอส-เมทิล ลำดับที่ 352 พาราควอต ลำดับที่ 353 พาราควอตไดคลอไรด์ และลำดับที่ 354 พาราควอตไดคลอไรด์
ข้อ2. ให้ผู้ผลิจ ผู้นำเข้า ผู้ส่งออก หรือผู้มีไว้ครอบครองซึ่งวัตถุอันตรายชนิดที่4 ตามประกาศฉบับนี้ ที่ได้ดำเนินการอยู่ก่อนวันที่ประกาศบับนี้มีผลใช้บังคับ ปฎิบัติตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ในระยะเวลาที่พนักงานเจ้าหน้าที่กำหนด
ข้อ3 ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2563 เป็นต้นไป นั้น
ดร.จรรยา มณีโชติ นายกสมาคมวิทยาการวัชพืชแห่งประเทศไทย โพสต์ผ่านเฟซบุ๊ก สมาคมวิทยาการวัชพืชแห่งประเทศไทย ไม่มีพาราควอตแล้ว..‼ พืชเศรษฐกิจ เช่น ข้าวโพด อ้อย มันสำปะหลัง ยางพารา ปาล์มน้ำมัน สับปะรด และไม้ผล เหลือสารชนิดใดบ้างที่สามารถใช้เป็น "สารทางเลือก" ถ้าใช้แล้วได้ผลดี คุ้มค่าทางเศรษฐกิจ จึงเรียกสารนั้นว่า "สารทดแทน"
สมาคมฯ ได้รวบรวมรายชื่อสารตามระยะเวลาการใช้ 2 ระยะ คือ
1. พ่นก่อนวัชพืชงอก หรือ ยาคุม (pre-emergence)
2. พ่นหลังวัชพืชงอก หรือ ยาฆ่า (post-emergence)
หมายเหตุ อัตราใช้ดูจากฉลากข้างขวด
ขอย้ำอีกทีว่า ยาคุม ที่มีกลไกออกฤทธิ์ไปย้บยั้งการสังเคราะห์แสง เช่น กลุ่ม C หรือเกี่ยวข้องกับกระบวนการสังเคราห์แสง เช่น กลุ่ม E สามารถใช้เป็นยาฆ่าได้ในระยะต้นอ่อนของวัชพืช (early post-emergence) สารเหล่านี้จึงได้เปรียบยาคุมในกลุ่มอื่นๆ
ส่วนลูกเพจ เสียงสะท้อนการใช้สารเคมี "กลูโฟซิเนต" ที่ภาครัฐสนับสนุนใช้เป็นสารทดแทน หลังแบนพาราควอต