กรมปศุสัตว์จับมือจังหวัดสงขลาดัน “ไข่ครอบ” เป็นสินค้า GI

19 พ.ค. 2565 | 08:50 น.
อัปเดตล่าสุด :19 พ.ค. 2565 | 15:50 น.

อธิบดีกรมปศุสัตว์ จับมือจังหวัดสงขลาดัน “ไข่ครอบ” เป็นสินค้า GI กระตุ้นผู้ประกอบการแปรรูป ให้มีรายได้เพิ่มขึ้น บูมเศรษฐกิจในจังหวัด

วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤษภาคม 2565 นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ ร่วมกับ     นายเจษฎา จิตรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา และนายไพเจน มากสุวรรณ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา เปิดกิจกรรมประชาสัมพันธ์และผลักดัน “ไข่ครอบสงขลา” สินค้าอัตลักษณ์พื้นถิ่นให้เป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ หรือสินค้า GI ของจังหวัดสงขลา ณ ศูนย์ฝึกอบรมและพัฒนาการกีฬา องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา

กรมปศุสัตว์จับมือจังหวัดสงขลาดัน “ไข่ครอบ” เป็นสินค้า GI

นายสัตวแพทย์สรวิศ  เผยว่า กรมปศุสัตว์ร่วมกับจังหวัดสงขลาจัดนิทรรศการพร้อมสาธิตการทำอาหารจากไข่ครอบสงขลา ได้แก่ ยำไข่ครอบ สปาเก็ตตี้คาโบนาร่าไข่ครอบ และทาร์ตไข่ครอบ เพื่อผลักดันไข่ครอบเป็นสินค้า GI ของจังหวัดสงขลา โดยกิจกรรมในครั้งนี้ได้เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ไข่ครอบสงขลาให้แก่ประชาชนผู้ร่วมชมงานสัตวแพทย์พระราชทาน เพื่อเป็นข้อมูลในการบริโภคและเป็นแนวทางให้กับผู้จำหน่ายในการเพิ่มมูลค่าไข่ครอบเป็นเมนูอาหารที่หลากหลาย เพิ่มโอกาสด้านการตลาดและช่องทางการจำหน่ายตลอดห่วงโซ่การผลิต ให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงเป็ด ผู้แปรรูปไข่ครอบ และผู้ประกอบการร้านอาหารให้มีรายได้เพิ่มขึ้น ตลอดจนกระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่จังหวัดสงขลาให้เติบโตอย่างยั่งยืน

 

กรมปศุสัตว์จับมือจังหวัดสงขลาดัน “ไข่ครอบ” เป็นสินค้า GI

 

นายสัตวแพทย์สรวิศ  เผยว่า กรมปศุสัตว์ร่วมกับจังหวัดสงขลาจัดนิทรรศการพร้อมสาธิตการทำอาหารจากไข่ครอบสงขลา ได้แก่ ยำไข่ครอบ สปาเก็ตตี้คาโบนาร่าไข่ครอบ และทาร์ตไข่ครอบ เพื่อผลักดันไข่ครอบเป็นสินค้า GI ของจังหวัดสงขลา โดยกิจกรรมในครั้งนี้ได้เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ไข่ครอบสงขลาให้แก่ประชาชนผู้ร่วมชมงานสัตวแพทย์พระราชทาน

เพื่อเป็นข้อมูลในการบริโภคและเป็นแนวทางให้กับผู้จำหน่ายในการเพิ่มมูลค่าไข่ครอบเป็นเมนูอาหารที่หลากหลาย เพิ่มโอกาสด้านการตลาดและช่องทางการจำหน่ายตลอดห่วงโซ่การผลิต ให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงเป็ด ผู้แปรรูปไข่ครอบ และผู้ประกอบการร้านอาหารให้มีรายได้เพิ่มขึ้น ตลอดจนกระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่จังหวัดสงขลาให้เติบโตอย่างยั่งยืน

กรมปศุสัตว์จับมือจังหวัดสงขลาดัน “ไข่ครอบ” เป็นสินค้า GI

“ไข่ครอบสงขลา”  เป็นภูมิปัญญาในการถนอมอาหารของชาวประมงในพื้นที่คาบสมุทรสทิงพระ โดยนำไข่แดงจากไข่เป็ด 2 ใบ ใส่ลงในเปลือกไข่ที่ตัดแต่งขอบ แล้วนึ่งจนมีสีแดงอมส้ม ผิวมันวาว ข้างนอกสุก ข้างในเป็นยางมะตูม มีรสชาติเค็มเล็กน้อย เป็นอาหารอัตลักษณ์พื้นถิ่นของจังหวัดสงขลา ไข่แดงมีขนาดใหญ่ สีแดงอมส้ม วางประกบกันสองลูก ลักษณะเหมือนรูปหัวใจ

กรมปศุสัตว์จับมือจังหวัดสงขลาดัน “ไข่ครอบ” เป็นสินค้า GI

 

เนื้อสัมผัสมีความเหนียวหนึบหนับ รสชาติ มีความมันและเค็มเล็กน้อย กลมกล่อม ไม่มีกลิ่นคาว ผลิตในในพื้นที่อำเภอสิงหนคร อำเภอสทิงพระ อำเภอกระแสสินธุ์ และอำเภอระโนด ของจังหวัดสงขลา มีวิธีการทำโดยนำไข่เป็ดแยกไข่แดงออกจากไข่ขาว ตัดแต่งขอบเปลือกไข่ให้สวยงาม แล้วนำไข่แดง 2 ฟอง ใส่ลงไปในเปลือกไข่ โรยน้ำเกลือ หมักทิ้งไว้ 5 - 6 ชั่วโมง แล้วนึ่งให้ผิวไข่แดงสุก ด้านในเป็นยางมะตูม รับประทานคู่กับอาหารพื้นถิ่น เช่น ข้าวยำ ขนมจีน แกงเหลือง เป็นต้น 

 

กรมปศุสัตว์จับมือจังหวัดสงขลาดัน “ไข่ครอบ” เป็นสินค้า GI

สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) คือ เครื่องหมายที่ใช้กับสินค้าที่มาจากแหล่งผลิตที่เฉพาะเจาะจง ซึ่งคุณภาพหรือชื่อเสียงของสินค้านั้นๆ เป็นผลมาจากการผลิตในพื้นที่ดังกล่าว GI จึงเปรียบเสมือนเป็นแบรนด์ของท้องถิ่นที่บ่งบอกถึงคุณภาพและที่มาของสินค้า ในปัจจุบันสินค้า GI ของประเทศไทย มีจำนวนทั้งสิ้น 156 สินค้า โดยมีสินค้าปศุสัตว์ จำนวน 4 รายการ ได้แก่ ไข่เค็มไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี หมูย่างเมืองตรัง จังหวัดตรัง เนื้อโคขุน    โพนยางคำ จังหวัดสกลนคร และผ้าฝ้ายทอผสมขนแกะบ้านห้วยห้อม จังหวัดแม่ฮ่องสอน

 

 

ทั้งนี้จังหวัดสงขลามีสินค้าเกษตรที่เป็นสินค้า GI แล้ว จำนวน 2 รายการ ได้แก่ ส้มโอหอมควนลัง และส้มจุกจะนะ ดังนั้นจึงเป็นโอกาสสำคัญอย่างยิ่งในการผลักดันสินค้าปศุสัตว์ “ไข่ครอบสงขลา” ให้เป็นสินค้า GI เพื่อคุ้มครองชื่อสินค้าให้เป็นสิทธิของชุมชน   ที่ขึ้นทะเบียน และที่สำคัญเป็นการเพิ่มมูลค่าของสินค้าให้ผู้ผลิต เนื่องจากมีลักษณะพิเศษที่เป็นอัตลักษณ์แตกต่างจากที่อื่น

กรมปศุสัตว์จับมือจังหวัดสงขลาดัน “ไข่ครอบ” เป็นสินค้า GI

ทำให้ผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นในแหล่งที่มาและคุณภาพของสินค้า นอกจากนี้สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ยังเป็นเครื่องมือทางการตลาดที่ช่วยในการประชาสัมพันธ์สินค้าให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย ช่วยกระจายรายได้สู่ชนบท และส่งเสริมอุตสาหกรรมท้องถิ่นให้สามารถแข่งขันทั้งในระดับประเทศและระดับสากล ตลอดจนสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชน ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของกลุ่มชนในท้องถิ่น ที่ร่วมมือกันพัฒนาคุณภาพของสินค้า และรักษาภูมิปัญญาของท้องถิ่นด้วย