“ภัตตาคาร-ร้านอาหาร” ฟื้นต่อเนื่องตามการท่องเที่ยวและเปิดประเทศ

25 พ.ค. 2565 | 05:58 น.
อัปเดตล่าสุด :25 พ.ค. 2565 | 14:43 น.

“ภัตตาคาร-ร้านอาหาร” ฟื้นต่อเนื่องติดต่อกัน 3 เดือน  ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ การท่องเที่ยว และเปิดประเทศส่วนยอดเลิก 850 ราย เพิ่ม 39% คาดแนวโน้มยังดี ชี้ผลกระทบสงคราม เงินเฟ้อ โควิด-19 ปัจจัยเสี่ยง

นายจิตรกร ว่องเขตกร รองอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เปิดเผยถึงการจดทะเบียนธุรกิจประจำเดือนเม.ย.2565 ว่า มีผู้ประกอบธุรกิจยื่นขอจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนบริษัทใหม่ทั่วประเทศ จำนวน 5,376 ราย เทียบกับมี.ค.2565 ลดลง 25% และเทียบกับเม.ย.2564 ลดลง 10% ซึ่งถือเป็นปกติของทุกปีที่การจดตั้งใหม่ในเดือนเม.ย.

นายจิตรกร ว่องเขตกร รองอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า

จะมีจำนวนน้อยที่สุดในรอบปี เนื่องจากวันทำการน้อยกว่าเดือนอื่น ๆ จากช่วงวันหยุดเทศกาลของไทย โดยมีมูลค่าทุนจดทะเบียนจำนวน 171,105.77 ล้านบาท และประเภทธุรกิจที่จัดตั้งใหม่สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไป ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์

 

และธุรกิจภัตตาคาร ร้านอาหาร ที่กลับมาติดอันดับ 3 ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ การท่องเที่ยว และการเปิดประเทศ

“ภัตตาคาร-ร้านอาหาร” ฟื้นต่อเนื่องตามการท่องเที่ยวและเปิดประเทศ

ส่วนธุรกิจเลิกประกอบกิจการ มีจำนวน 850 ราย เมื่อเทียบกับมี.ค.2565 ลดลง 8% เทียบกับเม.ย.2564 เพิ่มขึ้น 39% มีมูลค่าทุนจดทะเบียนเลิกจำนวน 9,110.66 ล้านบาท โดยประเภทธุรกิจเลิกประกอบกิจการสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไป ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และธุรกิจภัตตาคารและร้านอาหาร

“ภัตตาคาร-ร้านอาหาร” ฟื้นต่อเนื่องตามการท่องเที่ยวและเปิดประเทศ

สำหรับแนวโน้มการจดทะเบียนตั้งใหม่ในระยะต่อไป คาดว่า ผลของการเปิดประเทศต้อนรับนักท่องเที่ยว ที่ทำให้มีจำนวนนักท่องเที่ยวเข้ามาไทยเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล ที่จะออกมาเพิ่มเติม จะช่วยให้ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว โรงแรม การค้าขาย ภัตตาคาร ร้านอาหาร มีการฟื้นตัวดีขึ้น แต่ยังต้องระวังสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับยูเครน และมาตรการคว่ำบาตร ที่จะส่งผลกระทบต่อการผลิต การค้า การขนส่ง ทำให้ต้นทุนสินค้าและบริการสูงขึ้น มีผลกระทบต่อเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับหลายประเทศ รวมถึงการสูงขึ้นของราคาพลังงาน เศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัวอย่างเต็มที่จากโควิด-19 อาจส่งผลให้ผู้ประกอบการชะลอการลงทุน เพื่อรอดูสถานการณ์ได้


 อย่างไรก็ตาม กรมฯ ยังคาดการณ์การจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจใหม่ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2565 อยู่ประมาณที่ 40,000–42,000 ราย และตลอดทั้งปี 2565 อยู่ที่ประมาณ 70,000–75,000 ราย

“ภัตตาคาร-ร้านอาหาร” ฟื้นต่อเนื่องตามการท่องเที่ยวและเปิดประเทศ
 ปัจจุบันมีธุรกิจดำเนินกิจการอยู่ทั้งสิ้น (ณ วันที่ 30 เม.ย.2565) จำนวน 833,124 ราย มูลค่าทุน 19.83 ล้านล้านบาท จำแนกเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล จำนวน 201,500 ราย คิดเป็น 24.19% บริษัทจำกัด จำนวน 630,282 ราย คิดเป็น 75.65% และบริษัทมหาชนจำกัด จำนวน 1,342 ราย คิดเป็น 0.16% ตามลำดับ