ทำไมวิกฤติเศรษฐกิจโลกรอบใหม่นี้ นักเศรษฐศาสตร์และองค์กรการเงินชั้นนำระดับโลกจึงห่วงกันว่าจะเป็น "มหาพายุ" หรือ Perfect Storm
ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล กรรมการรองผู้จัดการใหญ่และเลขานุการ ธนาคารกรุงเทพ กล่าวโดยโพสต์ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว "Kobsak Pootrakool"ว่า มรสุมเศรษฐกิจกำลังก่อตัว Perfect Storm กำลังมา เรากำลังเข้าสู่ช่วงใหม่ของเศรษฐกิจ ที่ไม่ง่าย ถือเป็นความท้าทายของเศรษฐกิจหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 หรือในรอบ 80 ปี
โดยสรุปมรสุมทั้ง 3 ลูกที่เริ่มจาก 3 ทวีปนี้ ส่งผลกระทบดังนี้
1.ทวีปยุโรป สงครามรัสเซีย-ยูเครน นำไปสู่
2.ทวีปอเมริกา จากความผิดพลาดของเฟด ในการประเมินผลกระทบจากโควิดทำให้เฟดมือหนัก ใส่ยากระตุ้นเศรษฐกิจเข้าไปมากกว่าควร ทั้งในเรื่องดอกเบี้ยและในเรื่องสภาพคล่อง ซึ่งเมื่อเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว จึงมีปัญหาในการควบคุมเงินเฟ้อ จนต้องมาวิ่งไล่ปัญหาอยู่ในขณะนี้ นำไปสู่
3.ทวีปเอเชีย จากจีนที่มีปัญหาความเปราะบางจากฟองสบู่ภาคอสังหาริมทรัพย์ที่สะสมมานานหลายสิบปี และเริ่มประสบปัญหาตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว เริ่มต้นจาก Evergrande และลุกลามไปบริษัทอื่นๆ ทำให้
สอดรับกับนายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ที่วิเคราะห์ ผ่านบทความ“เฝ้าระวังมหาวิกฤตเศรษฐกิจ” โดยประเมินว่า Perfect Storm คาดจะถล่มเศรษฐกิจทั่วโลกในไตรมาส 4 ปีนี้ เพราะหลายประเทศอาจจะเผชิญปัญหาพร้อมกัน ทั้งในการดำเนินนโยบายของธนาคารสหรัฐสู้กับเงินเฟ้อดูดสภาพคล่องออก บีบเศรษฐกิจลดกำลังซื้อ
"เฟดเริ่มช้าเป็นปี มาจังหวะนี้จึงเจอพายุซ้อน ทั้งจากสงครามยูเครน และจากปัญหาห่วงโซ่อุปทาน ขณะที่จีน ปัญหา Evergrande และภาคอสังหาริมทรัพย์ยังแก้ไขไม่เสร็จ เจอปัญหาเพิ่มจาก"นโยบายโควิดซีโร่"ทำให้ต้องไล่ปิดเมืองใหญ่ ตัดทอนกำลังซื้อ ส่วนยุโรป กำลังจะชะลอตัว รายได้ธุรกิจจากรัสเซียหายไป ส่วนรัสเซียเศรษฐกิจอันดับ 11 ก็จะกระทบอย่างหนัก"
"ไอเอ็มเอฟ" ออกโรงเตือน
ล่าสุดเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ดร. คริสตินา จีโอจีวา ผู้อำนวยการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ ) ออกมาเตือนว่า สถานการณ์การเศรษฐกิจโลกในขณะนี้ กำลังเข้าสู่ความยุ่งเหยิงอย่างยิ่ง อันเป็นผลมาจากทั้งการระบาดของโควิด 19 ความขัดแย้งในยูเครน และตลาดการเงินที่เปราะบางอย่างยิ่ง รวมไปถึงปัญหา “ซัพพลาย เชน” ที่เผชิญขณะนี้ ถือเป็นบททดสอบครั้งใหญ่ของโลกนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 ทีเดียว
ปัจจุบันมี 30 ประเทศทั่วโลกแล้ว ที่ใช้มาตรการจำกัดการส่งออกอาหาร พลังงาน และสินค้าโภคภัณฑ์ นับตั้งแต่เกิดสงครามในยูเครน ทำให้สถานการณ์ยิ่งเลวร้ายลงไปอีก
ขณะที่ประเทศไทย ดร.นณริฏ พิศลยบุตร นักวิชาการอาวุโส สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ระบุว่า เห็นด้วยว่ามหาพายุทั้ง 3 ลูก จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจผ่านภาคเศรษฐกิจจริง (real sector) ไม่ว่าจะเป็นข้าวของแพง ภาคการเงิน เงินจะไหลออกในระยะปานกลาง ขณะที่ภาคส่งออก รายได้ลดลงกว่าที่ควร ส่วนภาคท่องเที่ยวจะฟื้นตัวช้า
"เศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัวช้าขึ้น โตเป็นบวกแต่ยังคงไม่ฟื้นไปสู่ระดับปี 2562 ความล่าช้าในการฟื้นตัวทำให้ประเทศไทยยังไม่กลับไปสู่ระดับเศรษฐกิจปี 2562 อาจจะต้องรอถึงครึ่งปี 2566 เรียกได้ว่าการฟื้นตัวช้าลงจากพายุทั้ง 3 ลูกราว 2-3 ไตรมาส"
ล่าสุดเมื่อวันที่ 17 พ.ค.ที่ผ่านมา สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้ปรับเป้าเศรษฐกิจไทย (จีดีพี) ปี 2565 คาดจะเติบโตระดับ 2.5-3.5% (จากเดิมที่ 3.5-4.5%) หลังจากจีดีพี ไตรมาส 1/ 2565 ขยายตัว 2.2% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา
ขณะที่ “ธนาคารโลก” ปรับลดตัวเลขคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในปีนี้ สู่ระดับ 3.2% จากเดิมที่คาดไว้ระดับ 4.1%