สำนักงานเกษตร อำเภอ จังหวัด สังกัด กรมส่งเสริมการเกษตร โพสต์แจ้งประชาสัมพันธ์ การขึ้นทะเบียนและปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร ปี 2565 โดยมีหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ ชนิดพืช จำนวนพื้นที่ และกรอบระยะเวลา
-แจ้งได้ตั้งแต่ 1 เมษายน - 31 ตุลาคม 2565
-แจ้งได้ตั้งแต่ 1 พฤศจิกายน - 31 มีนาคม 2566*
*อายุข้าวไม่น้อยกว่า 15 วัน และไม่เกิน 60 วัน
*เนื้อที่ปลูกตั้งแต่ 1 ไร่ขึ้นไป
-แจ้งได้ตลอดทั้งปี
-หลังปลูกแล้วไม่น้อยกว่า 30 วัน ถ้ายืนต้นอยู่ให้
ปรับปรุงทุกปี
-เนื้อที่ปลูกอย่างใดอย่างหนึ่งหรือรวมกันบน
เนื้อที่ตั้งแต่ 1 ไร่ขึ้นไป
-แจ้งได้ตลอดทั้งปี
-หลังปลูกไม่น้อยกว่า 15 วัน ถึงก่อนเก็บเกี่ยว
-เนื้อที่ปลูกอย่างใดอย่างหนึ่งตั้งแต่ 1 งานขึ้นไป
-แจ้งได้ตลอดทั้งปี
-หลังปลูกไม่น้อยกว่า 30 วัน ถ้ายืนต้นอยู่ให้ปรับปรุง
-เนื้อที่ปลูกตั้งแต่ 1 งานขึ้นไป และมีจำนวนต้น
ไม่น้อยกว่า 20 ต้น
-แจ้งได้ตลอดทั้งปี
-หลังเลี้ยงไม่น้อยกว่า 15 วัน ถึงก่อนเก็บเกี่ยว
-เนื้อที่เลี้ยงตั้งแต่ 30 ตารางเมตรขึ้นไป
-แจ้งได้ตลอดทั้งปี
-หลังปลูกไม่น้อยกว่า 15 วัน ถึงก่อนเก็บเกี่ยว
-เนื้อที่ปลูกตั้งแต่ 1 ไร่ขึ้นไป
**ทั้งนี้ต้องแจ้งขึ้นทะเบียนก่อนเกิดภัยพิบัติ
การให้ข้อมูลที่เป็นเท็จกับทางราชการมีโทษตามมาตรา 137 และมาตรา 267 แห่งประมวลกฎหมายอาญา‼️
หลักเกณฑ์และเงื่อนไข
ครัวเรือนเกษตรกรผู้ขอขึ้นทะเบียนจะต้องเป็นผู้ประกอบการเกษตร เป็นอาชีพหลัก หรืออาชีพรองก็ได้
ครัวเรือนเกษตรกร 1 ครัวเรือน จะมีตัวแทนมาขอขึ้นทะเบียนได้เพียง 1 คน ในการพิจารณาว่าครัวเรือนใดขอขึ้นทะเบียนซ้ำซ้อนหรือไม่ เจ้าหน้าที่จะต้องชี้แจงรายละเอียดให้เกษตรกร ผู้ขอขึ้นทะเบียนรับทราบ ตามนิยามที่กําหนด
เกษตรกรผู้ขอขึ้นทะเบียนต้องบรรลุนิติภาวะ และมีสัญชาติไทย กรณีที่เป็นนิติบุคคล จะต้องมีการมอบหมายผู้แทนมาขึ้นทะเบียน
สถานที่ขึ้นทะเบียน/ปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร
เกษตรกรรายเดิม แปลงเดิม
สามารถแจ้งปรับปรุงได้ที่สํานักงานเกษตรอําเภอทุกแห่ง, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีความพร้อมและร่วมเป็นหน่วยสนับสนุนที่เกษตรกรมีพื้นที่การเกษตรอยู่, อาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน (อกม.)
สามารถแจ้งขึ้นทะเบียนเกษตรกรผ่าน DOAE Farmbook Application ด้วยโทรศัพท์มือถือ (Smartphone) ได้ด้วยตนเอง **Application FARMBOOK ใช้ได้เฉพาะแปลงเดิม – รายเดิม เท่านั้น
เกษตรกรรายใหม่ รวมไปถึงเกษตรกรรายเดิม แต่เพิ่มแปลงใหม่
ให้ยื่นเอกสารที่สํานักงานเกษตรอําเภอที่ตั้งแปลงที่ทํากิจกรรมการเกษตรอยู่หากมีแปลงที่ทํากิจกรรมการเกษตรหลายพื้นที่ หลายอําเภอ ให้ยื่นที่สํานักงานเกษตรอําเภอที่ตั้งแปลงหลัก (อําเภอที่มีจํานวนแปลงมากที่สุด)
กรณีที่ใช้คอมพิวเตอร์แท็ปเล็ต (Tablet) ขึ้นทะเบียนเกษตรกร เจ้าหน้าที่สามารถรับขึ้นทะเบียนเกษตรกรราย ใหม่ในพื้นที่ พร้อมวาดผังแปลงไปพร้อม ๆ กันในคราวเดียวได้ (เฉพาะพื้นที่ที่มี Internet)
เอกสารประกอบการขึ้นทะเบียน/ปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร
เกษตรกรรายเดิม แปลงเดิม ใช้บัตรประจําตัวประชาชนตัวจริง
เกษตรกรรายใหม่ หรือ รายเดิม เพิ่มแปลงใหม่ ใช้บัตรประจําตัวประชาชนตัวจริง พร้อมหลักฐานแสดงสิทธิการถือครองที่ดินตัวจริง หรือสําเนาที่มีการรับรองสําเนาจากผู้ครอบครอง ทั้งนี้ สามารถเรียกหลักฐานอื่นๆ เพิ่มเติมได้ตามความจําเป็นและเหมาะสม
การขึ้นทะเบียน/ปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร
สามารถดําเนินการได้ทั้งในพื้นที่ที่มีเอกสารสิทธิ์และไม่มีเอกสารสิทธิ์
สามารถดําเนินการได้ทุกลักษณะการถือครองที่ดิน ได้แก่ ของครัวเรือน เช่า อื่น ๆ (ทําฟรี/ที่สาธารณประโยชน์)
การมอบอํานาจให้บุคคลอื่นมาดําเนินการแทน
ครัวเรือนเกษตรกรสามารถมอบอํานาจให้สมาชิกในครัวเรือนที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนเกษตรกร เดียวกัน เป็นผู้ขอปรับปรุงทะเบียนเกษตรกรแทนได้ แต่หากเป็นเกษตรกรที่ต้องการขอขึ้นทะเบียนใหม่ต้องแจ้งขึ้นทะเบียนเกษตรกรด้วยตนเอง
นิติบุคคล สามารถมอบอํานาจให้ผู้แทนขึ้นทะเบียน/ปรับปรุงทะเบียนเกษตรกรได้
เจ้าหน้าที่ผู้รับขึ้นทะเบียน จะต้องย้ำให้เกษตรกรทราบว่าต้องแจ้งข้อมูลและกรอกข้อมูลในแบบคําร้องให้สมบูรณ์ ถูกต้อง ครบถ้วนตามความเป็นจริง พร้อมลงลายมือชื่อรับรองข้อมูล ในแบบคําร้องด้วย
สําหรับผู้ขอขึ้นทะเบียนใหม่ ต้องมีผู้นําชุมชน (รายละเอียดตามคํานิยาม) ลงลายมือชื่อพร้อมระบุตําแหน่ง เป็นพยานการให้ข้อมูล
วิธีตรวจสอบสถานะเกษตรกรและสมาชิกครัวเรือน
เข้าไปที่เว็บไซต์ http://farmer.doae.go.th/
กรอกหมายเลขบัตรประชาชนแล้วกดค้นหา
**กรณีตรวจสอบแล้วไม่พบข้อมูล แสดงว่าไม่ได้ขึ้นทะเบียนไว้กับกรมส่งเสริมการเกษตร รบกวนตรวจสอบที่หน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น ประมง (คลิกตรวจสอบสถานะเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนกรมประมง) ปศุสัตว์ (คลิกตรวจสอบสถานะที่ขึ้นทะเบียนกับกรมปศุสัตว์) หรือ การยางแห่งประเทศไทย (คลิกที่นี่ ตรวจสอบสถานะเกษตรกรชาวสวนยาง)
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการขึ้นทะเบียน/ปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร