TDRI แนะโอกาส-ทางรอดภาคธุรกิจ ปรับแนวรบ สู่ Green Business

08 มิ.ย. 2565 | 10:17 น.
อัปเดตล่าสุด :08 มิ.ย. 2565 | 18:04 น.

ทีดีอาร์ไอ ย้ำภาคธุรกิจเดินหน้า คว้าโอกาส ปรับกระบวนการสร้างธุรกิจสีเขียวลดปัญหาโลกร้อน เผยองค์กรใหญ่ ต้องรวมพลังเอสเอ็มอี ซึ่งเป็นกลุ่มธุรกิจขนาดเล็กให้เดินหน้าไปพร้อมกัน เพื่ือสร้างเศรษฐกิจไทยอยู่รอด และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกับตลาดโลก

ดร.กรรณิการ์ ธรรมพานิชวงค์ นักวิชาการอาวุโส จากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ได้กล่าวในงาน สัมมนา TEA FORUM 2022 “Mission Possible: Energy Transition to the Next 2050” ที่จัดโดย "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า การที่โลกธุรกิจกำลังปรับเปลี่ยนและเดินหน้าสู่ธุรกิจสีเขียว เพื่ือลดปัญหาภาวะโลกร้อน หรือกาเรปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งเป็นปัญหาของโลก ถือเป็น "โอกาส" ของภาคธุรกิจไทย หากผู้ประกอบการเปิดใจ นำเทคโนโลยี และพลังงานสะอาดเข้ามาใช้ จะทำให้สามารถก้าวสู่ธุรกิจใหม่ๆ ได้ และยังเพิ่มความสามารถในการแข่งขันกับตลาดโลกได้ด้วย 

 

ที่ผ่านมา ภาคธุรกิจไทยใช้ทรัพยากรธรรมชาติเข้มข้นมาก สิ้นเปลืองมาก โดยเฉพาะพลังงานฟอสซิล หากสามารถปรับแผนการดำเนินสู่การลดก๊าซเรือนกระจก ลองมองหาวิธีการ หรือรูปแบบการทำธุรกิจที่ลดคามเสี่ยงกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และหาวิธีการรับมือกับสถานการณ์ช็อคโลกต่างๆ ได้ จะช่วยเสริมศักยภาพในการแข่งขันให้กับภาคธุรกิจไทย ซึ่งในปี 2023 สหภาพยุโรป และสหรัฐอเมริกาจะเริ่มดำเนินจัดเก็บภาษีก๊าซเรือนกระจกก่อนข้ามพรมแดนสำหรับสินค้านำเข้า (Carbon Border Adjustment Mechanism) หรือ CBAM แม้จะเริ่มจากสินค้าเพียงไม่กี่ตัว แต่อนาคต คือ ขยายมากขึ้นแน่นอน ดังนั้น ไทยต้องเริ่มวางแผน เพื่อรับมือกับกาเปลี่ยนแปลงต่างๆ ทางภาคธุรกิจระดับโลก 

ทีดีอาร์ไอ มองว่า เทคโนโลยีจะเป็นหนึ่งในหัวใจสำคัญของการขับเคลื่อนการเติบโตแบบคาร์บอนต่ำ สร้างโอกาสใหม่ๆ เช่น ธุรกิจพลังงานทดแทน รถยนต์ไฟฟ้า บรรจุภัณฑ์ที่ป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งเพิ่มประสิทิภาพการใช้ทรัพยากรเช่น พลังงาน น้ำ และยังช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เช่น ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก มลพิษทางอากาศ น้ำเสีย ขยะ 

TDRI แนะโอกาส-ทางรอดภาคธุรกิจ ปรับแนวรบ สู่ Green Business

ทางออกที่ประเทศในกลุ่มประเทศ OECD หรือ องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ดำเนินการแล้ว และได้ผล คือ 

  • การออกฎหมายขึ้นมารองรับ เช่น สหรัฐอเมริกา ออกกฎหมายรองรับการใช้พลังงานสะอาด
     
  • การติดฉลาก และการกำหนดมาตรฐาน ต่างๆ ที่จะให้ความรู้ผู้บริโภค ซึ่งขณะนี้เมืองไทยเริ่มปรับไปในทิศทางที่ดีในการให้ความรู้ แต่ต่างประเทศเริ่มให้ข้อมูลที่ลึกซึ่งมากขึ้น และมีการประเมินตลอดว่าส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์นั้นๆ มาจากแหล่งอะไร อันนี้ บ้านเราต้องขับเคลื่อนให้มากกว่านี้
  • การนำมาตรการทางเศรษฐศาสตร์มาใช้ ทั้งภาษี และค่าปรับ
  • การสร้างมาตรการจูงใจ และการสนับสนึน 
  • การประชาสัมพันธ์ ขาดไม่ได้ แต่บ้านเรายังไม่ค่อยเห็นแคมเปญระดับประเทศ ที่ทำให้คนทั่วประเทศลุกขึ้นมาทำพร้อมกัน ต้องออกแคมเปญจูงใจที่ติดหูคนและจูงใจคน
  • การศึกษา ที่ให้ความรู้ผู้บริโภคและประชาชนตั้งแต่ระดับประถม  

 

อีกหนึ่งสิ่งสำคัญคือ การปรับตัวไปสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ เรื่องนี้สำหรับองค์กรขนาดใหญ่ไม่มีปัญหา คาดว่าสามารถทำได้ตามเป้าปี 2050 แต่สำหรับธุรกิจขนาดเล็ก หรือเอสเอ็มอี ซึ่งมีปริมาณมาก และเป็นรากฐาน เป็นซัพพลายเชนที่สำคัญของประเทศ ภาครัฐและองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ควรให้ความช่วยเหลือและสนับสนุน เพื่อผลักดันให้ทุกนเดินหน้าไปพร้อมกัน 

 

ขณะเดียวกัน ผู้บริโภค อาจต้องกัดฟันซักนิด ในการเลือกบริโภคสินค้าที่เป็นสินค้าคาร์บอนต่ำ หรือ กรีนโปรดักส์ เพื่อสร้างให้เกิดดีมานด์ให้เพิ่มมากขึ้น และนั่นจะเป็นแรงกระเพื่อมที่สร้างอิมแพ็คให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสู่โลกของเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำในไทยได้