"พลังงาน"แจงค่าการกลั่นน้ำมันไม่ถึง 8.56 บาท เปิดข้อมูลแลกหมัด "พรรคกล้า"

13 มิ.ย. 2565 | 12:40 น.
อัปเดตล่าสุด :14 มิ.ย. 2565 | 11:54 น.

"พลังงาน" ชี้ค่าการกลั่นน้ำมันไม่ถึง 8.56 บาท เปิดข้อมูลแลกหมัด "พรรคกล้า" โต้ใช้วิธีคำนวณต่างกัน พร้อมแจงค่าเฉลี่ยการกลั่น 10 ปีที่ผ่านมา

นายสมภพ  พัฒนอริยางกูล  โฆษกกระทรวงพลังงาน  เปิดเผยถึงประเด็นกระแสข่าวเรื่องค่าการกลั่นน้ำมันที่พรรคกล้าออกมาให้ข้อมูลว่ามีการปรับเพิ่มขึ้นถึง 10 เท่า หรืออยู่ที่ประมาณ 8.56 บาทต่อลิตร ว่า จากข้อมูลของสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) และข้อมูลที่เผยแพร่ โดย สนพ. จะมีการเผยแพร่ค่าการกลั่นมาต่อเนื่องบนเว็บไซด์  

 

ทั้งนี้ จะมีวิธีการคำนวณค่าการกลั่นด้วยการนำราคาน้ำมันดิบเฉลี่ยจากทั้ง 3 แหล่ง ได้แก่ ดูไบ โอมาน และทาปิส (Tapis)ของมาเลเซีย มาเฉลี่ยกับค่าน้ำมันสำเร็จรูปทุกประเภทที่ผลิตได้จากโรงกลั่น ซึ่งต้องทำความเข้าใจด้วยว่า ในน้ำมัน 1 ลิตร  สามารถกลั่นออกมาได้เป็นทั้งเบนซิน ดีเซล และน้ำมันเตา โดยที่แต่ละชนิดน้ำมันจะมีราคาที่แตกต่างกัน  ทั้งราคาถูก และแพง

 

"การที่นำราคาน้ำมันสำเร็จรูปมาลบกับราคาน้ำมันดิบ อาจจะไม่ใช่ค่าการกลั่นที่แท้จริง  เนื่องจากโรงกลั่นจะมีการกลั่นน้ำมันหลายชนิดทั้งที่มีราคาถูก และแพง  โดยจากข้อมูลที่พรรคกล้านำมาเสนอ  เป็นการใช้ข้อมูลจากราคาน้ำมันดิบเพียงแหล่งเดียว ไม่ใช่ 3 แหล่งแบบที่ สนพ. ใช้คำนวณ"

นอกจากนี้ ในช่วงปี 63-64 ยังเป็นปีที่มีสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งถือว่าเป็นปีที่ไม่ปกติ ความต้องการใช้น้ำมันมีไม่มาก ค่าการกลั่นจึงอยู่ในระดับที่ไม่สูงมาก

 

อย่างไรก็ดี ยอมรับว่าค่าการกลั่นในปัจจุบันอาจะมีราคาที่สูงเกินจริง แต่ไม่ถึงขนาดราคา 8.56 บาทต่อลิตรตามที่พรรคกล้านำเสนอข้อมูล โดยค่าการตลาดเดือน มิ.ย. อยู่ที่ประมาณ 5.56 บาทต่อลิตร ส่วนเดือน พ.ค. อยู่ที่ 5.2 บาทต่อลิตร  

 

พลังงานโต้พรรคกล้าค่าการกลั่นน้ำมันไม่ถึง 8.56 บาทต่อลิตร

 

นายสมภพ กล่าวต่อไปอีกว่า ข้อมูลค่าการกลั่นเฉลี่ยยช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ได้แก่

  • ปี 55 อยู่ที่ 2.15 บาทต่อลิตร
  • ปี 56 อยู่ที่ 2.2 บาทต่อลิตร
  • ปี 57 อยู่ที่ 2.35 บาทต่อลิตร 
  • ปี 58 อยู่ที่ 2.43 บาทต่อลิตร
  • ปี 59 อยู่ที่ 1.813 บาทต่อลิตร
  • ปี 60 อยู่ที่ 2.16 บาทต่อลิตร 
  • ปี 61-62 อยู่ที่ประมาณ 1.70 บาท

 

"โดยสรุปช่วง 10 ปีที่ผ่านมาค่าการกลั่นเฉลี่ยจะอยู่ทีประมาณ 2-3 บาทต่อลิตร  ซึ่งจะมีการปรับเปลี่ยนขึ้น ลงตามสถานการณ์ความต้องการใช้ในตลาดโลก"  

สำหรับค่าการกลั่นน้ำมันที่พรรคกล้า โดยนายกรณ์ จาติกวณิช หัวหน้าพรรค  ออกมาให้ข้อมูลนั้น  เป็นข้อมูลในช่วง 3 ที่ผ่านมา ประกอบด้วย  

 

  • วันที่ 10 มิ.ย. 63 ราคาน้ำมันดิบดูไบเมื่อเทียบเป็นราคาเงินบาทจะอยู่ที่ 8.10 บาทต่อลิตร ซึ่งเป็นต้นทุนที่โรงกลั่นต้องซื้อมา ขณะที่เฉลี่ยราคาขายสำเร็จรูปอยู่ที่ 8.99 บาทต่อลิตร ต้นทุนการกลั่นอยู่ที่ 88 สตางค์ต่อลิตร

 

  • วันที่ 10 มิ.ย. 64 ราคาน้ำมันดิบดูไบเมื่อเทียบเป็นราคาเงินบาทจะอยู่ที่ 14.01 บาทต่อลิตร ซึ่งเป็นต้นทุนที่โรงกลั่นต้องซื้อมา ขณะที่เฉลี่ยราคาขายสำเร็จรูปอยู่ที่ 14.88 บาทต่อลิตร ต้นทุนการกลั่นอยู่ที่ 87 สตางค์ต่อลิตร

 

ข้อมูลค่าการกลั่นน้ำมันจากพรรคกล้า

 

  • วันที่ 10 มิ.ย. 65  ราคาน้ำมันดิบดูไบเมื่อเทียบเป็นราคาเงินบาทจะอยู่ที่ 25.92 บาทต่อลิตร ซึ่งเป็นต้นทุนที่โรงกลั่นต้องซื้อมา ขณะที่เฉลี่ยราคาขายสำเร็จรูปอยู่ที่ 34.48 บาทต่อลิตร  ต้นทุนการกลั่นอยู่ที่ 8.56 บาทต่อลิตร

 

"จากตัวเลขดังกล่าวถือว่าค่าการกลั่นเพิ่มขึ้น 10 เท่า ทั้งที่ต้นทุนการกลั่นไม่เปลี่ยน ไม่ว่าจะเป็นวัตถุดิบสูงขึ้น  แต่ราคาขายก็สูงขึ้น แต่ส่วนต่างของกำไรของเหล่าโรงกลั่นไทยเพิ่มเกือบ 10 เท่า  ซึ่งเป็นภาระของประชาชน ภาระของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงที่เป็นหนี้มากขนาดนี้ โดยปัจจุบันติดลบ 8.6 หมื่นล้าน  และไม่มีคำอธิบายว่าทำไมรัฐปล่อยให้มีการทำกำไรมากขนาดนี้  ขณะทีประชาชนเดือดร้อน" นายกรณ์กล่าวและว่า