ฝนเร็วปีนี้ผลไม้ใต้มีน้อยราคาดี เริ่มแล้ว"ชุมพร"ประเดิม"เทศกาลทุเรียน"

15 มิ.ย. 2565 | 10:30 น.
อัปเดตล่าสุด :15 มิ.ย. 2565 | 17:39 น.

 เผยปีนี้4ผลไม้เศรษฐกิจใต้ผลผลิตลด ขณะราคามีแนวโน้มปรับเพิ่ม แต่รายได้เกษตรกรไม่เท่าปีที่แล้ว ประเดิม"เทศกลผลไม้ทุเรียนเมืองชุมพร" 16 มิ.ย.นี้   เปิดฤดูกาลท่องเที่้ยวผลไม้ใต้ 

นายอนุชา  ยาอีด  ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จ.สงขลา เปิดเผย “ฐานเศรษฐกิจ" ถึงการประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 14 จังหวัดภาคใต้ ระหว่างวันที่ 6-7มิถุนายน 2565 ที่ผ่านมา เพื่อประมวลภาพรวมผลไม้ภาคใต้ ปี 2565 ทั้งผลผลิตและราคา ว่า สำหรับผลไม้เศรษฐกิจ 4 ตัวที่สำคัญของภาคใต้ ได้แก่ ทุเรียน มังคุด เงาะ และลองกอง  ข้อมูล ณ วันที่ 6 มิถุนายน 2565 ผลผลิตลดลง 32 % แยกเป็นทุเรียนผลผลิตลดลง 19 % มังคุดผลผลิตลดลง 63 % เงาะผลผลิตลดลง 36 % และลองกอง ผลผลิตลดลง 82 %

 

สาเหตุที่ทำให้ผลผลิตลดลงในปีนี้นั้น เนื่องจากมีฝนตกต่อเนื่องตั้งแต่เดือนกุภาพันธ์-เมษายน ซึ่งเป็นช่วงที่ผลไม้เตรียมการออกดอก พอเจอฝนทำให้แทนที่จะเป็นตาดอก ก็ออกเป็นตาใบแทน

ฝนเร็วปีนี้ผลไม้ใต้มีน้อยราคาดี เริ่มแล้ว\"ชุมพร\"ประเดิม\"เทศกาลทุเรียน\"

ฝนเร็วปีนี้ผลไม้ใต้มีน้อยราคาดี เริ่มแล้ว\"ชุมพร\"ประเดิม\"เทศกาลทุเรียน\"

“ช่วงที่ผลไม้ภาคใต้ที่พีคที่สุดเริ่มจากเดือนมิถุนายนเป็นต้นไป ไล่จากภาคใต้ตอนบนลงไป ส่วนภาคใต้ตอนล่างจะพีคในช่วงสัปดาห์ที่ 3 และที่ 4 เดือนกรกฎาคม ไปจนถึงสัปดาห์ที่ 2 ของเดือนสิงหาคม" 

 

จากผลผลิตที่ลดลง ทำให้ผลไม้ 4 ชนิดของภาคใต้ในปีนี้จะมีผลผลิตที่ลดลง คิดเป็นปริมาณ ประกอบด้วย ทุเรียน ผลผลิตปีนี้จะเหลืออยู่ที่ 465,959 ตัน  ซึ่ง 83 % เป็นทุเรียนในฤดูปกติ มังคุด ผลผลิตปีนี้จะอยู่ที่ 59,659 ตัน ซึ่ง 95 % เป็นมังคุดในฤดูปกติ  เงาะ ผลผลิตปีนี้จะอยู่ที่ 41,858 ตัน ซึ่งเป็นเงาะในฤดูทั้งหมด และ ลองกอง ผลผลิตปีนี้จะอยู่ที่ 6,550 ตัน 

ฝนเร็วปีนี้ผลไม้ใต้มีน้อยราคาดี เริ่มแล้ว\"ชุมพร\"ประเดิม\"เทศกาลทุเรียน\"

ฝนเร็วปีนี้ผลไม้ใต้มีน้อยราคาดี เริ่มแล้ว\"ชุมพร\"ประเดิม\"เทศกาลทุเรียน\"

“การบริหารจัดการผลไม้ทั้ง 4 ตัวนี้  ให้แต่ละจังหวัดมีการนำเสนอ ก็เห็นว่าปีนี้ปริมาณความต้องการ จะมีมากกว่าผลผลิตอยู่ ซึ่งถ้าดูราคาจากผลผลิตน้อยราคาก็จะสูงขึ้น”
 

 

แต่อย่างไรก็ตามในช่วงนี้ราคาผลผลิต เป็นราคาที่เกษตรกรยังพอใจอยู่  แต่ว่าทุเรียนกับมังคุด จะมีส่วนที่ซ้อนทับกันอยู่กับภาคตะวันออก โดยเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลไม้ทางภาคตะวันออกเป็นช่วงปลายฤดูยังไม่หมด  ในขณะที่ทางภาคใต้ผลผลิตก็เริ่มออกและใกล้จะพีค

 

ประเด็นก็คือว่า ในส่วนของผู้กอบการค้าส่ง หรือล้ง จากภาคตะวันออกบางส่วน ยังไม่ได้ลงมาภาคใต้ แต่คิดว่าตั้งแต่สัปดาห์หน้าเป็นต้นไป ผลไม้ทางภาคตะวันออกก็จะคงจะหมดแล้ว ทำให้ผู้ประกอบการค้าส่ง หรือล้ง ก็จะลงมาในภาคใต้ 

 

โดยเวลานี้ทุเรียนหมอนทองใต้ ราคาอยู่ที่ประมาณ 100 บาทต่อกิโลกรัม มังคุดราคา 40-45 บาทต่อกิโลกรัม ส่วนเงาะ ในขณะนี้ในภาคใต้ผผลิตยังไม่ออกสู่ตลาด โดยผลผลิตเงาะจะเริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนหน้า (กรกฎาคม) เป็นต้นไป รวมถึงลองกอง ฉะนั้นที่ผลผลิตออกแล้วจะมี ทุเรียนกับมังคุด  

ฝนเร็วปีนี้ผลไม้ใต้มีน้อยราคาดี เริ่มแล้ว\"ชุมพร\"ประเดิม\"เทศกาลทุเรียน\"

ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5  กล่าวอีกว่า สำหรับราคาทุเรียนกับมังคุดในปีนี้เมื่อเทียบกับที่ผ่านมา ถือว่าราคาในปีนี้จะมีแนวโน้มดีกว่าที่แล้ว แต่ปัญหาในปีนี้คือผลผลิตลดลงมาก เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ฉะนั้นในแง่ของรายได้ของเกษตรกรก็อาจจจะไม่ดีเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว เนื่องจากผลผลิตที่ลดลงค่อนข้างมาก

 

“แต่ปีนี้ในแง่ของคุณภาพถือว่าดีกว่าที่แล้ว เนื่องจากเกษตรกรมีการพัฒนาคุณภาพให้เป็นเกรดพรีเมียมมากขึ้น ทำให้ในแง่ของราคาดีกว่าปีที่แล้ว”

 

แต่ปัจจุบันที่ทำให้ราคาตอนนี้ยังทรงตัวอยู่ เนื่องจากว่าติดข้อจำกัดในเรื่องของผู้ประกอบการค้าส่ง หรือล้ง ที่จะลงมาจากภาคตะวันออก แต่เมื่อล้งจากภาคตะวันออกลงมาคิดว่าแนวโน้มราคาจะมีการขยับขึ้น

 

สรุปราคาผลไม้ 4 ชนิดในภาคใต้ปีนี้ แนวโน้มราคาจะดีกว่าที่ผ่านมาแน่นอน เนื่องจากผลผลิตน้อยกว่าความต้องการ แต่ในแง่ของรายได้ของเกษตรกรอาจจะลดลงเล็กน้อย

 

“สมมุติกว่าปีที่แล้ว เกษตรกร 1 ราย ขายผลผลิตได้ 100 กิโลกรัม กิโลกรัมละ 10 บาท มีรายได้ 1,000 บาท แต่ปีนี้มาขายได้แค่ 50 กิโลกรัม และสมมุติว่าราคาปรับขึ้นกิโลกรัมละ 15 บาท ก็จะมีรายได้ 750 บาท เทียบให้เห็นภาพ”

ฝนเร็วปีนี้ผลไม้ใต้มีน้อยราคาดี เริ่มแล้ว\"ชุมพร\"ประเดิม\"เทศกาลทุเรียน\"

เนื่องจากผลผลิตที่ลดลงค่อนข้างเยอะในปีนี้ แต่ราคาปรับขึ้น แต่อย่างไรก็ตามเพื่อบรรเทาผลกระทบจากรายได้ที่ที่ลดลงก็เพิ่มเพิ่มคุณภาพ แม้ผลผลิตจะน้อยแต่ก็มุ่งเน้นคุณภาพมากขึ้น

 

ส่วนปัญหาทุเรียนอ่อนในปีนี้นั้น ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 กล่าวว่า หลายจังหวัดได้มีการรณรงค์ตั้งแต่ต้นทาง ตั้งแต่พี่น้องเกษตรกร ในเรื่องของรณรงค์การไม่ตัดทุเรียนอ่อน รวมถึงระหว่างหรือกลางก็จะมีการสุ่มตรวจวัดเปอร์เซ็นต์แป้ง  ซึ่งหลาย ๆ จังหวัดก็ได้มีการแต่งตั้งคณะทำงานขึ้นมา เพื่อตรวจสอบทุเรียนอ่อนในพื้นที่ และการสุ่มตรวจปลายทาง ณ ที่ผู้ประกอบการ ทำให้ปัญหาการตัดทุเรียนอ่อนในภาคใต้ปีนี้ลดลง ในพื้นที่จังหวัดที่มีการปลูกทุเรียนมาก เช่น จังหวัดชุมพร หรือจ.สุราษฎร์ธานี ในเรื่องการตรวจทุเรียนอ่อนมีมาตรการที่เข้มงวด 

 

“ปีนี้ผมเชื่อว่าปัญหาการตัดทุเรียนในภาคใต้จะลดลงมาก แต่ถามว่าจะยังมีปัญหาอยู่บ้างหรือไม่ ก็มีบ้างแต่คงไม่มาก”  ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 กล่าว 

 

นายโชตินรินทร์ เกิดสม ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร  กล่าวว่า  ฤดูทุเรียนของจังหวัดชุมพร 9 เดือน แต่จะมีเยอะที่สุดในช่วงเดือนมิถุนายน 2565  ในปีนี้ผลผลิตทุเรียนประมาณ 260,000 ตัน ลดลงเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว (2564) 320,000 ตัน ผลมมาจากฝนที่ตกมาหลายรอบ ทำให้ดอกร่วง

 

นายโชตินรินทร์ กล่าวและว่า เกษตรกรชาวสวนส่วนใหญ่พอใจกับรายได้ โดยแต่ละสวนสามารถตัดขายได้ 6-7 ล้านบาท แม้ว่าจะเจอปัญหาต้นทุนที่สูงขึ้นก็ตาม  แต่ก็ยังสามารถสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำ และในวันที่  16-26 มิถุนายน 2565  จัดให้มีงานเปิดฤดูกาลท่องเที่ยว เทศกาลผลไม้ ทุเรียน เมืองชุมพร 2565  โดยงานจะเปิดวันที่ 21 มิถุนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน จะมาเป็นประธานเปิดงาน

 

สำหรับกิจกรรมต่างในในงาน เช่น การประกวดทุเรียนแห่งประเทศไทย ขายผลไม้ต่างๆ จัดรถชิมชมสวน ด้วยซื้อบุฟเฟ่ต์ การประกวดมิสทุเรียน “การประกวดใช้การประกวดทุเรียนแห่งประเทศไทย โดยจะเชิญทุกจังหวัดเข้าร่วม มีการจัดนิทรรศการและขายผลไม้ เจรจาธุรกิจของผู้ประกอบการ”

 

ซึ่งปัจจุบันจังหวัดชุมพร เป็นจังหวัดที่มีการปลูกทุเรียนมากติดอันดับ 1 ใน 2 ของประเทศ และคาดว่าในอีก 1-2 ปี พื้นที่การปลูกทุเรียนของจังหวัดชุมพรจะเพิ่มขึ้นเป็นอันดับ 1 ของประเทศ