นายอุทัย สอนหลักทรัพย์ นายกสมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทยและผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ(กนย.) เผยผ่าน งานแถลงข่าว “ สยท.วอนรัฐปราบโกงส่งออกถุงมือยางทำไทยไปไม่ถึงฮับ ดับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี “ ย้อนไปเมื่อ 16 พฤษภาคม ที่ผ่านมา ได้เดินทางกับผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งจากบริษัท เอช แอนด์เอช เมดิคอล ซับพลาย จำกัด ประเทศฮ่องกง พร้อมทีมงานทนายความใด้เดินทางไปยังศูนย์แจ้งความกองปัญชาการตำรวจสอบสวนกลางเพื่อเจรจาประณีประนอมกันระหว่าง 2 บริษัท แจ้งความคดีในข้อหาร่วมกันฉ้อโกงประชาชน และความผิดเกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์ เนื่องจากมีการนำความอันเป็นเท็จเข้าสู่คอมพิวเตอร์
สำหรับ คดีที่ 1 มีพฤติการณ์การร่วมกันฉ้อโกง กล่าวคือ กลุ่มนายหน้าและบริษัท ผู้ถูกกล่าวหาโชว์สินค้า และโรงงานโฆษณาผ่านสื่อออนไลน์ทางคอมพิวเตอร์ว่า มีถุงมือยางไนไตรพร้อมส่งออกส่งออกได้ภายใน 7 - 14 วัน บริษัทเอช แอนด์เอชฯ หลงเชื่อจึงได้ทำสัญญาสั่งซื้อจำนวน 1 ล้านกล่อง เป็นเงิน 205,000,000 บาท และได้โอนมัดจำ 30% เป็นเงิน 61 ล้านกว่าบาท บริษัท ผู้ถูกกล่าวหาตกลงจะส่งสิ้นค้าให้ภายใน 7 - 14 วัน
หลังจากตรวจสอบคุณภาพสินค้าผ่าน (SGS) แต่เมื่อถึงกำหนดตรวจสอบคุณภาพสินค้า ปรากฎว่าบริษัทผู้ถูกกล่าวหามีสินค้าให้ตรวจสอบเพียง 1,410 หล่อง และเป็นสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐานไม่ผ่านการทดสอบ เมื่อบริษัทผู้เสียหายติดตาม ก็ได้มีการส่งสินค้าให้เพียงบางส่วนจำนวนประมาณ 40,000 กล่อง ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ และมีนาคม 2564 ซึ่งตรวจสอบหลักฐานเอกสารการส่งออกพบว่าไม่ตรงกับบริษัทส่งออกแต่เป็นหลักฐานเอกสารการส่งออกของประเทศเวียดนาม ทำให้บริษัทผู้เสียหายไม่อาจส่งสินค้าเพื่อขายให้กับลูกค้าต่อได้ ขณะนี้สินค้ายังคงค้างอยู่ในสต๊อกไม่สามารถนำออกไปขายได้
คดีที่ 2 มีพฤติการณ์การร่วมกันฉ้อโกง กล่าวคือ กลุ่มนายหน้าและบริษัท ผู้ถูกกล่าวหาโชว์สินค้า และโรงงานโฆษณาผ่านสื่อออนไลน์ทางคอมพิวเตอร์ว่า มีถุงมือยางไนไตรพร้อมส่งออกจำนวน 70,000 กล่อง ส่งออกได้ภายใน 7 - 14 วัน หลังจากทำคำสั่งซื้อและโอนเงินระหว่างประเทศชำระค่าสินค้า 100% บริษัทเอช แอนด์เอชฯ หลงเชื่อจึงได้ทำคำสั่งซื้อจำนวน 70,000 กล่อง และโอนเงินชำระค่าสินค้าจำนวน 7 ล้านกว่าบาท
แต่เมื่อถึงกำหนดส่งสินค้าบริษัท ผู้ถูกกล่าวหากลับอ้างว่าสินค้ามีปัญหาในเรื่องการตรวจสอบคุณภาพสินค้า (SGS) ทำให้การส่งสินค้าล่าช้า หลังจากนั้นทางกลุ่มนายหน้าและบริษัทผู้ถูกกล่าวหาได้โชว์สินค้าและกล่าวอ้างว่ามีสินค้าอีกประมาณ 500,000 กล่อง ซึ่งเป็นของลูกค้าชาวเกาหลีหากบริษัทผู้เสียหายสนใจจะเอามาขายให้กับบริษัทผู้เสียหายก่อน แต่จะต้องโอนเงินมัดจำ 50% บริษัท ผู้ถูกกล่าวหาตกลงจะส่งสินค้าให้ภายใน 7 - 14 วัน บริษัทผู้เสียหายหลงเชื่อจึงได้สั่งซื้อไปอีก 538,000 กล่อง เป็นเงิน 110,000,000 บาท และได้โอนมัดจำ 50% เป็นเงิน 55 ล้านกว่าบาท เมื่อถึงกำหนดจัดส่งสินค้าปรากฎว่าบริษัทผู้ถูกกล่าวหาไม่มีสินค้าให้กับบริษัทผู้เสียหาย ผัดผ่อนบายเบี่ยงเรื่อยมา
นายอุทัย กล่าวว่า สาเหตุที่จะต้องเข้ามาทำในเรื่องนี้บริษัทฮ่องกง เพราะต้องการทำเพื่อประเทศชาติ ชื่อเสียงทำให้นักลงทุนไว้วางใจ เชื่อมั่นประเทศไทยในการลงทุน 2 บริษัทมีพฤติกรรมไม่ชอบมาพากล เปลี่ยนชื่อบ่อย ลองคิดเล่น เป็นอย่างไร บอกได้แค่นี้
ด้านนางเฮเล็น เชิงยูลิง ประธานบริษัท บริษัท เอช แอนด์เอช เมดิคอล ซับพลาย จำกัด จาก ฮ่องกง เผยว่า รู้สึกขาดความเชื่อมั่นในการทำธุรกิจกับประเทศไทย เดิมตั้งแต่ใจจะเข้ามาลงทุนในพื้นที่อีอีซี เพราะว่าไทยเป็นดินแดนที่มีน้ำยางมีคุณภาพในการผลิตถุงมือยางที่มีคุณภาพ ดังนั้น เมื่อปี 2563 บริษัทจากสหรัฐฯ ได้ติดต่อเพื่อให้สั่งซื้อถุงมือยางก็มองมาที่ประเทศไทยเป็นอันดับแรก จนได้ทำสัญญาสั่งซื้อสินค้าจากบริษัทในไทยมูลค่า 80 ล้านบาท จำนวนสินค้า 2 ล้านกล่อง และได้ชำระค่ามัดจำสินค้าล่วงหน้าไป จำนวน 62 ล้านบาท แต่ปรากฏว่าเมื่อถึงกำหนดส่งมอบกลับได้สินค้าเพียง 4 หมื่นกล่อง และสินค้าไม่ได้มาตรฐาน นอกจากนั้นยังพบว่า สินค้าใช้ใบรับรองมาตรฐานปลอม ทำให้ถูกเก็บไว้กักไว้ที่สหรัฐ
“ ขณะที่ติดต่อสั่งซื้อได้ตรวจสอบทั้งสินค้าและโรงงานโดยบริษัทได้โชว์เอกสารหลักฐานทุกอย่างแต่เมื่อส่งสินค้าส่วนหนึ่ง นอกจากไม่ได้มาตรฐานแล้วยังไม่สามารถส่งสินค้าได้ตามข้อตกลงสัญญาที่ตกลงกันไว้
นางเฮเล็น กล่าวอีก เรื่องที่เกิดขึ้นทำให้นักลงทุนต่างชาติเกิดความกังวลเรื่องความเชื่อถือมั่นที่จะเข้ามาลงทุนในประเทศไทย และส่งผลต่อภาพ ลักษณ์ประเทศไทย เพราะจริงๆแล้วต่างชาติหลายรายสนใจจะเข้ามาลงทุนในไทย โดยเฉพาะบริษัทของตนที่มีเครือข่ายทั้งในยุโรปและสหรัฐ หากรัฐบาลไทยยังไม่สามารถใช้กฎหมายดำเนินการกับกลุ่มบริษัทเหล่านี้ได้อย่างจริงจังเพื่อนักลงทุนต่างประเทศก็จะต้องหันไปลงทุนประเทศอื่นแทน
ด้านนายยงฉาง แช่เป้า ในฐานะตัวแทนบริษัท เอช แอนด์เอช เมดิคอล ซับพลาย จำกัด กล่าวว่า ที่ผ่านมา บริษัทของคุณเฮเลน สนใจจะเข้ามาลงทุนในไทย เพราะเคยเข้ามาท่องเที่ยวในไทยมากกว่า 15 ครั้ง และแม้จะเกิดเรื่องขึ้นก็ยังตั้งใจจะนำเงินเข้ามาลงทุนในหลายธุรกิจ อาทิ อุปกรณ์ทางการแพทย์ ที่นอน หมอนยางพารา เป็นต้น เพียงแต่อยากให้รัฐบาลตรวจสอบเรื่องการโฆษณาหลอกลวงของกลุ่มบริษัทดังกล่าวนี้ เพื่อการันตีว่าประเทศไทยมีกฎหมายเอาผิดกับกลุ่มบริษัทหลอกลวงหรือ บริษัทนายหน้าที่โฆษณาเกินจริง เพราะก่อนที่จะสั่งซื้อสินค้า บริษัทเหล่านั้นมีการโฆษณาโรงงานผลิตสินค้า เครื่องจักร ทั้งภาพนิ่งและวิดีโอพรีเซ็นต์ที่น่าเชื่อถือ
“ผมคิดว่าเมืองไทยเป็นเมืองพุทธศาสนา คงจะไม่มีทางหลอกหลวงกัน ไม่คิดว่าจะเกิดคดีแบบนี้กับบริษัท ซึ่งผมเองยังเชื่อมั่นว่า บุคคลที่เป็นนายหน้าเหล่านี้ เป็นเพียงส่วนเล็กๆเท่านั้น หากรัฐบาลไทยสามารถดำเนินคดีเอาผิดกับคนเหล่านี้ ก็จะสร้างความเชื่อมั่นกลับมาให้นักลงทุนเข้ามาลงทุนได้”
ขณะที่ นางสาว พิยดา วุฒิ กรรมการผู้จัดการ บริษัทฮับ พาราโกลฟส์ โปรเจ็ค จำกัด ในฐานะตัวแทนเครือข่าย 25 บริษัทถุงมือยางประเภทบรรจุภัณฑ์ กล่าวว่า อยากให้คดีของนักลงทุนชาวฮองกงเป็นตัวอย่างที่ประเทศไทยออกมาแสดงความรับผิดชอบโดยการเข้ามาช่วยเหลือ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้วงการอุตสาหกรรมถึงมือยางประเทศไทยกลับมาอีกครั้ง เนื่องจากที่ผ่านมาหลังจากทีกรณีนี้เราได้รับผลกระทบโดยตรงถูกระงับการส่งออก อาทิ “CNN” ตีข่าวส่งออก “ถุงมือยาง” ใช้แล้วเข้าสหรัฐฯ เป็นต้น