นายณกรณ์ ตรรกวิรพัท ผู้ว่าการ การยางแห่งประเทศไทย(กยท.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าในการดำเนินโครงการส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกรชาวสวนยาง สถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง และผู้ประกอบกิจการยางไปสู่การเป็น Startup ด้านยางพารา ประจําปี2565 (Natural Rubber Startup Acceleration Program: Batch 2 by RAOT and PSU) ว่า ขณะนี้ได้ทําการคัดเลือกผู้สมัครเข้าร่วมโครงการ ที่มีคุณสมบัติถูกต้องเสร็จสิ้นแล้ว ซึ่งมีผู้ที่ผ่านการคัดเลือกทั้งหมด 43 ทีม แบ่งเป็น 4 ประเภทดังนี้
ประเภทที่1 Idea to design (I2D) เป็นการคัดเลือกผู้ที่มีแนวคิด เบื้องต้น ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยนํานวัตกรรมวัสดุจากยางธรรมชาติเทอร์โมพลาสติก แต่ยังไม่มีผลิตภัณฑ์ต้นแบบ กยท. จะส่งเสริมความรู้ ที่เกี่ยวข้อง และ สนับสนุนให้มีการจัดทํา ผลิตภัณฑ์ต้นแบบให้สําเร็จ มีผู้ผ่านการคัดเลือก 16 ทีม
สำหรับประเภทที่ 2 Idea to Prototypes (I2P) เป็นการคัดเลือกผู้ที่มี แนวคิดเบื้องต้น ในการ พัฒนาผลิตภัณฑ์ แต่ยังไม่มีผลิตภัณฑ์ต้นแบบ กยท.จะส่งเสริมความรู้ที่เกี่ยวข้องและสนับสนุนให้มีการจัดทําผลิตภัณฑ์ต้นแบบที่ได้ มาตรฐานผ่านการรับรองให้สําเร็จ มีผู้ผ่านการคัดเลือก 19 ทีม
ส่วนประเภทที่ 3 Prototype/Products to Market (P2M) เป็นการคัดเลือกผู้ที่มีผลิตภัณฑ์ยางพารา และต้องการยกระดับ เพื่อเป็นสินค้าเชิงพานิชย์ กยท.จะส่งเสริมความรู้ที่เกี่ยวข้อง และสนับสนุนให้มีการจัดทําผลิตภัณฑ์ต้นแบบที่ได้มาตรฐานผ่านการรับรอง มีผู้ผ่านการคัดเลือก5 ทีม
และประเภทที่ 4 Prototype/Products to Global Market (P2GM) เป็นการคัดเลือกผู้ที่มี ผลิตภัณฑ์ย างพารา และจําหน่ายอยู่ในตลาดภายในประเทศ และต้องการยกระดับ เพื่อเป็นสินค้าเชิงพาณิชย์ในระดับนานาชาติ กยท.จะส่งเสริมความรู้ที่ เกี่ยวข้อง และสนับสนุนช่องทางการ จัดจําหน่าย และการนําเสนอผลงานในงานแสดงสินค้า และเวทีประชุมยางพารา นานาชาติ
กยท.ได้จัดอบรมและส่งเสริมความให้รู้ที่เกี่ยวข้องแก่ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกในแต่ละประเภทเรียบร้อยแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนพัฒนายางพารามาตรา49(3) แห่งพระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศ ไทย พ.ศ. 2558 ในการพัฒนาและทดสอบผลิตภัณฑ์
ซึ่ง กยท.ได้ตั้งงบไว้ประมาณ 2.87 ล้านบาท หลังจากนั้นจะนำผลงานทั้งหมดที่เกิดจากการบ่มเพาะความรู้ความสามารถและพัฒนาดังกล่าว ไปจัดแสดงนิทรรศการ พร้อมตัดสินผลการประกวดทั้ง 4 ประเภท แต่ละประเภทจะแบ่งเป็นรางวัลชนะเลิศอันดับ 1 ชนะเลิศอันดับ 2 และชนะเลิศอันดับ 3
ส่วนประเภท1 จะมีรางวัลชมเชยด้วย พร้อมทั้งจะมีการจับคู่เจรจาธุรกิจ เพื่อต่อยอดขยายผลให้ใช้ประโยชน์ได้จริง ทั้งในระดับภูมิภาค ระดับประเทศ และระดับโลก โดยจะจัดขึ้นในวันที่ 9 สิงหาคม 2565 ณ อุทยานวิทยา ศาสตร์ภาคใต้ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา" นายณกรณ์ กล่าว
ผู้ว่าการ กยท.กล่าวในตอนท้ายว่า โครงการ Natural Rubber Startup Acceleration Program: Batch 2 by RAOT and PSU ดังกล่าวเป็นการดำเนินโครงการต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 เพื่อส่งเสริมพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมด้านยางพาราก้าวสู่ภาคธุรกิจยางพารา ตลอดจนผลักดันให้เกษตรกรชาวสวนยาง สถาบันเกษตรกรชาวสวนยางและ ผู้ประกอบกิจการยาง ไปสู่การเป็น Startup ด้านยางพารา และเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในตลาดโลก
ซึ่งจะส่งผลให้เกิดประโยชน์กับทุกห่วงโซ่ในอุตสาหกรรมยางพาราตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ รวมทั้งนี้ยังจะเป็นการเพิ่มปริมาณการใช้ยางในประเทศและสร้างมูลค่าเพิ่มให้ยางพาราอีกด้วย สอดคล้องกับแผนวิสาหกิจและโมเดลเศรษฐกิจใหม่(BCG Model)ของ กยท. และสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลที่ให้ความสำคัญและส่งเสริมธุุรกิจStartup