ข้อมูลจากสำนักงานประกันสังคม จำนวนผู้ประกันตน ล่าสุดเดือนพ.ค.65 มีทั้งสิ้น 23,947,417 คน อย่างไรก็ดีเชื่อว่า ผู้ประกันตนหลายคนอาจยังไม่รู้ว่า เงินที่ถูกหักสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมทุกเดือน เราได้สิทธิประโยชน์อะไรบ้าง ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล รวบรวมสิทธิประโยชน์จากประกันสังคม ทั้ง 7 กรณี ได้แก่ กรณีเจ็บป่วย คลอดบุตร สงเคราะห์บุตร ทุพลภาพ เสียชีวิต ชราภาพ และ ว่างงาน มาดูกันว่า ผู้ประกันตนแต่ละมาตรา ( มาตรา 33, 39 และ 40 ) จะได้รับสิทธิประโยชน์เหมือน หรือแตกต่างกันอย่างไร
เงินประกันสังคมคืออะไร?
เงินประกันสังคม หรือ “เงินสมทบกองทุนประกันสังคม” เป็นเงินที่นายจ้างและลูกจ้างต้องส่งเข้ากองทุนประกันสังคมทุกเดือน โดยรูปแบบการส่งเงินสมทบประกันสังคมในปัจจุบันสามารถแบ่งได้เป็น 3 รูปแบบหลักๆ คือ
ผู้ประกันตนตามมาตรา 33
คือ ลูกจ้างที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์ แต่ไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์ และทำงานอยู่ในสถานประกอบการที่มีลูกจ้าง ตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป
การคำนวณเงินประกันสังคม คำนวณจากค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับในแต่ละเดือน ขั้นต่ำสุดอยู่ที่ 1,650 บาท และสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท หรือหากคิดเป็นเงินสมทบรายเดือนจะมีขั้นต่ำที่ต้องจ่ายเดือนละ 83 บาท และสูงสุดเดือนละ 750 บาท
ผู้ประกันตนตามมาตรา 39
คือ ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ที่จ่ายเงินสมทบแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน และออกจากงานไม่เกิน 6 เดือน นับตั้งแต่วันที่ออกจากงาน รวมถึงต้องไม่เป็นผู้รับประโยชน์ทดแทนกรณีทุพพลภาพจากกองทุนประกันสังคม
สำหรับผู้ประกันตนตามมาตรา 39 จะต้องนำส่งเงินกองทุนเดือนละ 432 บาท โดยต้องส่งเงินสมทบให้ครบทุกเดือนต่อเนื่องกัน ซึ่งหากไม่ส่งเงินสมทบ 3 เดือนติดต่อกัน หรือส่งเงินสมทบไม่ครบ 9 เดือน ภายในระยะเวลา 12 เดือน ก็จะถือว่าสิ้นสุดสภาพผู้ประกันตนตามมาตรานี้
ผู้ประกันตนตามมาตรา 40
คือ บุคคลทั่วไปที่ประกอบอาชีพอิสระหรือแรงงานนอกระบบ โดยไม่เป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 หรือผู้ประกันตนมาตรา 39
สำหรับผู้ประกันตนตามมาตรา 40 การนำส่งเงินกองทุนมีด้วยกัน 3 ทางเลือก คือ จ่ายเงินสมทบเดือนละ 70 บาท, เดือนละ 100 บาท หรือเดือนละ 300 บาท โดยสิทธิประโยชน์ที่ได้จะแตกต่างกันไป
จ่ายเงินประกันสังคมแล้วได้อะไรบ้าง?
สิทธิประโยชน์ที่ได้รับจากการจ่ายเงินสมทบกองทุนประกันสังคมแบ่งได้เป็น 7 กรณี คือ
1.สิทธิประโยชน์กรณีเจ็บป่วยหรือประสบอันตราย
เงื่อนไข : ผู้ประกันตนต้องนำส่งเงินสมทบมาแล้ว ไม่น้อยกว่า 3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนวันรับบริการทางการแพทย์
- ได้รับการรักษาพยาบาลโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ เมื่อเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิ หรือเครือข่ายของสถานพยาบาลนั้น
- ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ร้อยละ 50 ของค่าจ้างจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท โดยได้รับครั้งละไม่เกิน 90 วันและปีละไม่เกิน 180 วัน เว้นแต่ป่วยด้วยโรคเรื้อรังจะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ไม่เกิน 365 วัน
กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยฉุกเฉิน
- เข้ารับการรักษาพยาบาลที่ใกล้เคียงได้ทุกแห่ง โดยไม่ต้องสำรองค่าใช้จ่าย ภายในระยะเวลา 72 ชั่วโมง ทั้งนี้ นับรวมวันหยุดราชการและวันหยุดนักขัตฤกษ์
- สถานพยาบาลของรัฐ
การเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลของเอกชน
ผู้ป่วยนอก
ผู้ป่วยใน
งานทันตกรรม
2.สิทธิประโยชน์กรณีคลอดบุตร
เงื่อนไข : ผู้ประกันตนต้องนำส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนวันคลอดบุตร
ผู้ประกันตนหญิง
ผู้ประกันตนชาย
ค่าฝากครรภ์
3.สิทธิประโยชน์กรณีสงเคราะห์บุตร
เงื่อนไข : ผู้ประกันตนต้องนำส่งสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน ภายในระยะเวลา 36 เดือน ก่อนเดือนที่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน
4.สิทธิประโยชน์กรณีทุพลภาพ (ไม่เนื่องจากการทำงาน)
เงื่อนไข : ผู้ประกันต้องนำส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนทุพพลภาพอันมิใช่เนื่องจากการทำงาน
- กรณีทุพพลภาพระดับความสูญเสียไม่รุนแรง (ประเมินการสูญเสียตั้งแต่ร้อยละ 35 ขึ้นไป แต่ไม่ถึงร้อยละ 50)
- กรณีทุพลภาพระดับความสูญเสียรุนแรง (ประเมินการสูญเสีย ตั้งแต่ร้อยละ 50 ขึ้นไป )
5.สิทธิประโยชน์กรณีชราภาพ
- เงินบำนาญชราภาพ (จ่ายเงินสมทบครบ 180 เดือน )
- เงินบำเหน็จชราภาพ (จ่ายเงินสมทบไม่ถึง 180 เดือน)
- กรณีผู้รับเงินบำนาญชราภาพถึงแก่ความตาย หากผู้รับเงินฯ เสียชีวิตภายใน 60 เดือน นับแต่เดือนที่มีสิทธิได้รับเงินบำนาญชราภาพ
6.สิทธิประโยชน์กรณีเสียชีวิต
เงื่อนไข : ผู้ประกันตนต้องนำส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 เดือน ภายในระยะเวลา 6 เดือน ก่อนถึงแก่ความตาย
- ได้รับค่าทำศพ 50,000 บาท และได้รับเงินสงเคราะห์กรณีเสียชีวิต ดังนี้
7.สิทธิประโยชน์กรณีว่างงาน
เงื่อนไข : ผู้ประกันตนต้องนำส่งเงินสมทบมาแล้ว ไม่น้อยกว่า 6 เดือนภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนการว่างงาน
- กรณีถูกเลิกจ้าง
- กรณีลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาจ้าง
หมายเหตุ : โดยหากใน 1 ปีปฏิทินมีการยื่นขอรับเงินทดแทนในระหว่างการว่างงาน ทั้ง 2 กรณี ให้นับระยะเวลาการรับเงินทดแทนในระหว่างการว่างงานรวมกันไม่เกิน 180 วัน
ผู้ประกันตนต้องขึ้นทะเบียนและรายงานตัวกรณีว่างงาน ผ่านระบบ http://e-service.doe.go.th ภายใน 2 ปี นับแต่วันที่ถูกเลิกจ้างหรือลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาจ้างและรายงานตัวตามกำหนดนัดเพื่อมิให้เสียสิทธิในการับเงินทดแทน
หมายเหตุ : ตามที่กล่าวข้างบน ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 จะได้รับสิทธิทั้งหมด ผู้ประกันตนมาตรา 39 จะได้รับสิทธิทั้งหมดยกเว้นสิทธิกรณีว่างงาน
ส่วนผู้ประกันตนตามมาตรา 40 จะได้รับสิทธิประโยชน์ ดังนี้
จ่ายเงินสมทบ 70 บาท/เดือน
จ่ายเงินสมทบ 100 บาท/เดือน
จ่ายเงินสมทบ 300 บาท/เดือน
เงินประกันสังคม ลดหย่อนภาษีได้
ประโยชน์อีกอย่างของเงินสมทบกองทุนประกันสังคมก็คือ เงินสมทบทุนส่วนนี้สามารถนำไปหักลดหย่อนภาษีได้ ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 มาตรา 39 หรือมาตรา 40 โดยสามารถหักลดหย่อนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกินจำนวนสูงสุดที่กำหนดไว้
อ้างอิงข้อมูล :