ค่ำวันนี้ (23 มิ.ย.65) นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ อดีตรองนายกรัฐมนตรี ในฐานะนายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา เป็นประธานงานเลี้ยงต้อนรับผู้ประเมินจีโอพาร์คโลก Welcome Reception Party “Khorat The Aspiring UNESCO Global Geopart” โดยมี ผศ.ดร.อดิศร เนาวนนท์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา นายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา นายประเสริฐ บุญชัยสุขนายกเทศมนตรีนครนครราชสีมา พร้อมแขกผู้มีเกียรติให้การต้อนรับผู้ประเมินจากองค์การยูเนสโก้ ที่เรือนโคราช เฉลิมวัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
ทั้งนี้ องค์การยูเนสโก้ได้มอบหมายให้ผู้ประเมินอุทยานธรณีโคราช Dr.Marie Louise Frey ผู้อาวุโสจากสหพันธ์รัฐเยอรมนีและ Ms.Sarah Gamble ผู้ประเมินจากประเทศแคนาดา เป็นผู้ประเมินอุทยานธรณีในประเทศไทย เพื่อขึ้นทะเบียนเป็นอุทยานธรณีโลกของยูเนสโก โดยกำหนดการประเมินอุทยานธรณีโคราชระหว่างวันที่ 22-26 มิถุนายน 2565 นี้
นายสุวัจน์ กล่าวว่า “โคราช จีโอพาร์ค” เป็นเรื่องที่ดี ในขณะนี้มีผู้แทนจากยูเนสโก เดินทางมาที่จังหวัดนครราชสีมา เพื่อที่จะมาทำการประเมิน ว่าจะได้รับการพิจารณาโกลบอล จีโอพาร์ค หรือไม่
“ยิ่งถ้าเราได้รับพิจารณาให้จังหวัดนครราชสีมา มีความพร้อม องค์กรหลัก คือ มหาลัยราชภัฏนครราชสีมา ซึ่งมีการจัดตั้งไม้กลายเป็นหิน ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้ของมหาวิทยาลัยราชภัฏฯ ได้ทำเกี่ยวกับจีโอพาร์ค มาตลอดมีการขุดใต้ดินในชั้นดินต่างๆ ในธรณีวิทยา ในเขต 5 อำเภอเมืองอ.สูงเนิน อ.ขามทะเลสอ อ.สีคิ้ว อ.เฉลิมพระเกียรติ ก็จะพบซากบรรพชีวินวิทยาและซากดึกดำบรรพ์ พวกฟอสซิว อาทิซากไดโนเสาร์ ซากช้างดึกดำบรรพ์ และไม้กลายเป็นหิน ซึ่งมีการร่วมกันอยู่เป็นจำนวนมาก จึงมีการผสมผสานระหว่างซากดึกดำบรรพ์กับธรณีวิทยา กับภูมิศาสตร์ วัฒนธรรมการใช้ชีวิตในชุมชนต่างๆ”
นายสุวัจน์ กล่าวว่า ได้มีการจัดตั้ง “โคราช จีโอพาร์ค” ตั้งแต่ปี 2558 และหลังจากนั้น มีการพัฒนาต่อมาในพื้นที่ใน 5 อำเภอ 17 ชุมชน และ 39 แหล่งของจีโอทัวร์ริซึม เราจะจัดและพัฒนาเป็น “อุทยานธรณีโลก” เหมือนที่จังหวัดสตูล
โดยสถาบันไม้กลายเป็นหิน เป็นผู้ดำเนินการในเรื่อง”โคราชจีโอพาร์ค” ได้ประสานกับจังหวัดและส่วนราชการ จนคณะรัฐมนตรีได้ให้นำเสนอไปสู่ ยูเนสโก เพื่อยกฐานะเป็น“โกลบอล จีโอพาร์ค”หรือที่เรียกว่า “อุทยานธรณีโลก” ได้หรือไม่ ซึ่งมีความพยายามทำตรงนั้นตั้งแต่ปี 2558 จนกระทั่งวันนี้ เป็นเวลา 7 ปีเต็มๆ ที่มหาวิทยาลัยและชาวโคราชรอคอย
“วันนี้เป็นจุดเริ่มต้น เพราะมีคณะได้เดินทางมา 2 ท่านมาประเมิน ใช้เวลาประเมิน 3 วัน เมื่อประเมินเสร็จก็จะนำผลการประเมินไปสู่ที่ประชุมของกรรมการสภาอทุยาธรณียโลก ซึ่งจะจัดเดือนเดือนกันยายน ที่ยูเนสโกของโลก เพราะที่ผ่านมาในระดับจังหวัดและมหาวิทยาลัย และชุมชน ต่างได้มีความร่วมมือในการดูแลท้องถิ่น ในการผสมผสานวัฒนธรรม กับธรณีวิทยา ภูมิศาสตร์ ไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต ให้เข้ากับซากดึกดำบรรพ์”
ทั้งนี้ หลักของยูเนสโกต้องการที่จะก่อให้เกิดการอนุรักษ์บรรพชีวิตและธรณีวิทยาให้ยั่งยืน โดยชุมชนต้องมีส่วนเกี่ยวข้อง เข้ามาดูแล และต่อไปจะได้พัฒนาและได้ประโยชน์ในด้านเศรษฐกิจ การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน มีการท่องเที่ยวในเชิงธรณีวิทยา เที่ยวในเชิงวัฒนธรรม ผสมผสานการนำ Soft Power มาบวกกับธรณีวิทยาและมีการจ้างงาน มีอาชีพ และมีรายได้ ลดความเหลื่อมล้ำ นำการกระจายรายได้สู่ท้องถิ่น ซึ่งมั่นใจว่าเรามีความพร้อมในทุกๆ ด้าน
นายสุวัจน์ กล่าวด้วยว่า โคราชได้มรดกโลกมาแล้ว 2 มงกุฎ คือ 1.อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ 2.ป่าสงวนชีวมณฑล สะแกราช อ.ปักธงชัย และ 3.อุทยานธรณีโลก หรือ โคราชจีโอพาร์ค ซึ่งอยู่ระหว่างการประเมินของยูเนสโก
“ถ้าโคราชได้ขึ้นทะเบียนเป็นอุทยานธรณีโลก นั่นหมายความว่า จังหวัดนครราชสีมา ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกถึง 3 มงกุฎ ต่อไปโคราชจะเป็นเมืองท่องเที่ยวระดับโลก เพราะวันนี้คนชอบไปเที่ยวเชิงวัฒนธรรม โดยเฉพาะเมื่อมีโควิด นักท่องเที่ยวก็ชอบไปเที่ยวเมืองปลอดภัย เมืองมรดกโลก เมืองที่อากาศดี และมีวัฒนธรรมเยอะๆ จะทำให้ภาคอีสานเป็นภาคแห่งการท่องเที่ยว และจังหวัดนครราชสีมาเป็นจังหวัดท่องเที่ยวอย่างสมบูรณ์”
ดังนั้น หลังจากนี้ลุ้นกันให้ดีเลย ถ้ายูเนสโกประกาศ “โคราชเป็นอุทยานธรณีโลก” เราจะเป็นอะไรที่ยิ่งใหญ่มากสำหรับจังหวัดนครราชสีมา เพราะในโลกจะมีเพียง 3 ประเทศคือ 1.ประเทศอิตาลี 2.ประเทศเกาหลี และ 3. จังหวัดนครราชสีมา ในประเทศไทย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายสุวัจน์ พร้อมคณะได้นำผู้ประเมิน กราบสักการะท้าวสุรนารี ณ อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี พร้อมรับฟังกิจกรรมเล่าเรื่องเมืองโคราช ชมศูนย์สารสนเทศจีโอพาร์คความร่วมมือของเทศบาลนครนครราชสีมา ชมประตูชุมพล ความเชื่อมโยงระหว่างประตูชุมพลกับทรัพยากรธรณีและจีโอพาร์ค
จากนั้น ผู้ประเมินนั่งสามล้อจากประตูชุมพล มายังบริเวณเรือโคราช-เฉลิมวัฒนา หนึ่งในอันลักษณ์สำคัญของโคราช เข้าสู่งานเลี้ยงต้อนรับผู้ประเมินจีโอพาร์ค ชมวิถีชีวิตชาวโคราชและเรื่องราวของกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในโคราช
รับชมวีดิทัศน์ “มหาวิทยาลัยราชภัฏกับการเป็นหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนโคราชจีโอพาร์ค” ชมการแสดงต้อนรับ “โคราชมหานครแห่งบรรพชีวิน” ชมการแสดงเพลงโคราช”โคราชจีโอพาร์ค” โดยศิลปินแห่งชาติ”กำปั่น บ้านแท่น” รับประทานอาหาร “โต๊ะโคราช” ตามเอกลักษณ์ของโคราช ทั้งอาหาร การแสดง ภาษา สะท้อนวิถีชาวโคราช