เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2565 ที่ประชุมมสภาผู้แทนราษฎรได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว ซึ่งเป็นการพิจารณาต่อการประชุมครั้งที่ผ่านมา มีสมาชิกขอสงวนความเห็นเกี่ยวกับบทบัญญัติในมาตรา 2/1 ผลพลอยได้หมายถึงกากอ้อย กากน้ำตาล และผลพลอยได้อื่นที่รวมถึงอ้อยน้ำตาลทราย เพื่อนำไปคำนวณในระบบแบ่งปันผลประโยชน์ ได้ผ่านร่าง พ.ร.บ.มีมติเห็นชอบวาระที่ 3 ด้วยคะแนนเสียง 290 เสียง ไม่เห็นด้วยไม่มี จากนี้จะดำเนินการส่งไปยังวุฒิสภาพิจารณาต่อไป
จากมติดังกล่าวนี้ ส่งผลให้กลุ่มโรงงานน้ำตาลทั่วประเทศรวม 57 โรง ที่รับอ้อยเข้าหีบในโรงงานฤดูการผลิตปี 2564/2565 ในปริมาณ 92 ล้านตัน ผลิตน้ำตาลทรายได้ 9.9 ล้านตันแสดงความไม่พอใจ โดยในการประชุมกลุ่มสมาชิกทั้งหมด เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2565 ได้มีมติร่วมกันว่า จะทำหนังสือลาออกจากคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทั้ง 5 คณะนั้น ล่าสุดมีความคืบหน้าตามลำดับ
นายธีระชัย แสนแก้ว ประธานชมรมสถาบันชาวไร่อ้อยภาคอีสาน เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ในวันที่ 27 มิถุนายนนี้ ทางวุฒิสภา จะมีการแต่งตั้งกรรมาธิการเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ... ต้องติดตามว่าใครจะเข้าไปกลั่นกรอง ส่วนในเรื่องที่ผ่านมามีปัญหาจากความไม่พอใจของฝ่ายโรงงานน้ำตาล ที่ไม่ได้มีโอกาสเข้าไปนำเสนอเป็นกรรมาธิการด้วย เป็นการมัดมือชก มีแต่ชาวไร่อ้อย และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) เท่านั้น
“ ในส่วนของเราเกษตรกรชาวไร่อ้อยมองว่าเป็นเรื่องของสภาได้มีการพิจารณาไปแล้ว ผ่านวาระ 3 ไปแล้ว มาแก้ไขไม่ได้ ถ้าจะแก้ไขก็ในขั้นตอนวุฒิสภา ก็ให้ไปชี้แจงในวุฒิสภาเอา ส่วนจะเห็นชอบหรือไม่ก็ต้องกลับมาที่สภาผู้แทนอีก ให้ว่าไปตามขั้นตอนจะเป็นแบบนี้ มองว่าเป็นเรื่องศักดิ์ศรีมากกว่า”
นายธีระชัย กล่าวว่า ส่วนของกากอ้อย คิดเป็น 2 อย่าง ในตอนแรกกากอ้อย ไม่มีประโยชน์ เป็นของเสีย แต่ภายหลังสามารถนำไปทำกากไฟฟ้าได้ มีผลพลอยได้ในรูปผลิตภัณฑ์อื่นๆด้วย ในเมื่อมีโอกาสได้แก้กฎหมายก็คิดว่าหากบริษัทนำกากอ้อย เป็นรายได้ เมื่อคิดค่าใช้จ่ายแล้วก็นำมาแบ่งปันผลประโยชน์ด้วย ไม่ดีกว่าหรือ
ทางโรงงานก็บอกว่ามีต้นทุน กากอ้อยไปทำโรงงานไฟฟ้า แล ะกากอ้อยราคาไม่แน่นอน บางทีที่ได้นำไปใช้ไฟฟ้า ก็นำไปผลิตเป็นน้ำตาลมาแบ่งปันผลประโยชน์ ไม่ต้องเสียต้นทุนค่าใช้จ่ายจากไฟฟ้าข้างนอก มองว่าก็มีเหตุผลของสองฝ่าย แต่ทั้งนี้ก็สู้กันไปมาในคณะกรรมาธิการ จนถอนวาระออกไปก่อน พอเข้าวาระ 2 ก็นำเรื่องนี้เข้ามาพิจารณาใหม่ สุดท้ายก็ผ่าน วาระ 2 และ 3 ทำให้โรงงานน้ำตาลถูกมัดมือชก ทำให้คณะกรรมการขอลาออก
“แต่ในฐานะที่เราเป็นผู้นำชาวไร่อ้อย คิดว่าเป็นเรื่องของสภา จะต้องแก้ไขในชั้นวุฒิสภา โดยในชั้นนี้คณะวุฒิสภาจะต้องแต่งตั้งโรงงานน้ำตาลให้ไปชี้แจง แก้ไขได้หรือไม่ ขั้นตอนถึงจุดนี้แล้ว ขึ้นอยู่กับการบริหารการบังคับใช้กฎหมายยังไม่ได้คลอดออกมา ลาออก ก็เดินไม่ได้ ขึ้นอยู่กับการบริหารแล้วรัฐมนตรี-ปลัด ก็ต้องลงมาคุย หาทางออก เลขาสำนักอ้อยและชาวไร่ ต้องเรียกมาคุยทางออกจะเอาอย่างไร ต้องมีทางออก ไม่สามารถล้มระบบแบ่งปันได้ เพราะรัฐบาลต้องเอาคนส่วนใหญ่ไว้
ด้านนายสรวุฒิ เนื่องจำนงค์ ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย (ฉบับที่ ..) พ.ศ..... กล่าวว่า รู้สึกไม่หนักใจ เพราะกระบวนการพิจารณาในสภาโดยคณะกรรมาธิการเสร็จสิ้นไปแล้ว ผ่านวาระ 1 2 และ 3 ไปแล้ว หลักการจะส่งไปให้วุฒิสภาภายใน 30 วัน เพราะเป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเงิน แล้วถ้าวุฒิสภาพิจารณาไม่แล้วเสร็จภายใน 30 วัน สามารถต่อระยะเวลาได้อีกครั้งหนึ่งไม่เกิน 30 วัน หากไม่มีการแก้ไข หรือวุฒิสภาเห็นด้วยก็ผ่าน หรือวุฒิสภา แต่ถ้าไม่เห็นด้วย ก็ต้องมาสู่คณะกรรมาธิการร่วมกันระหว่างสองสภา โดยหลักการเป็นอย่างนี้
โดยส่วนตัวก็เป็นสิทธิ์ เพราะโดยระบบบแบ่งปันผลประโยชน์ก็มีความคิดหลายหลาก ระบบบแบ่งปันผลประโยชน์ก็เห็นใจทางฝั่งโรงงาน แต่ชาวไร่ก็เรียกร้องในส่วนนี้ ผมเป็นประธาน กมธ. ก็มีการพูดคุยทั้งใน กมธ. หนทางที่ดีที่สุดหากไม่สามารถตกลงกันได้ระหว่างฝ่ายโรงงานกับชาวไร่การบรรจุวาระเข้าไปก่อนก็คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์ในระยะยาวทุกฝ่าย แต่ว่าอย่างไรก็ตาม ทางฝ่ายโรงงานและชาวไร่ และสอน. จะต้องมาพูดคุยกัน เพราะเหมือนคนในครอบครัวเดียวกัน ในนามกรรมาธิการขั้นตอนต่อไปจะต้องส่งให้ สว.พิจารณา
นายสรวุฒิ กล่าวว่า กฎหมายนี้คิดว่าจะเป็นประโยชน์ที่สุดให้ทั้งสองฝ่ายไม่อยากให้เทน้ำหนักไปข้างใดข้างหนึ่งอยากให้เข้าใจทั้งสองฝ่ายตกลงกันบนพื้นฐานความเข้าใจจะดีที่สุด พยายามทำกฎหมายให้ดีที่สุดในขณะนั้นก็มีการพูดคุย เรื่องค่าใช้จ่ายที่คิดจากระบบเช่น การอุดหนุนส่งออก การแปรสภาพน้ำตาลทราย ค่าขนส่งน้ำตาลจากโรงงานไปท่าเรือ เป็นสิ่งที่ทางโรงงานก็รับฟัง และทางชาวไร่ก็เห็นด้วย แต่การเจรจาด้วยข้อจำกัดต่างๆไม่สามารถยุติได้ในเวลาอันสั้น เพราะฉะนั้นในขั้นตอนการทำกฎหมายให้ผ่านสภาชุดนี้จำเป็นที่จะต้องทำงานให้เสร็จตามกรอบเวลาด้วย
“ผมคิดว่าเป็นธรรมเบื้องต้น แต่จะเป็นประโยชน์หรือเปล่าไม่กล้าตอบ ต้องขึ้นอยู่กับฟังเหตุผลทั้งสองฝ่าย ความแตกต่างของตัวโรงงานในอุตสาหกรรมนี้ ใน 57 โรง เป็นการร่วมกัน 3 สมาคม 3 สมาพันธ์ ความแตกต่างของโรงงาน และฐานะศักยภาพ เรื่องการลงทุน เช่น บางกลุ่ม บางบริษัทก็สามารถไปทำโรงไฟฟ้าได้ บางกลุ่มก็ไปทำชีวภาพได้ บางกลุ่มก็นำประโยชน์ของชานอ้อยทำผลิตภัณฑ์ต่างๆมากมาย ในขณะเดียวกันการประกอบธุรกิจดังกล่าวนี้ก็มีต้นทุน “
นายสรวุฒิ กล่าวว่า ในสภาก็มีการพูดคุยกันรุนแรงมากหาว่าไปรับเงินมาจากโรงงาน ผมคิดว่าเป็นเรื่องไร้สาระสิ้นดี ในเรื่องนี้ไม่มีใครเสียเปรียบ ยกตัวอย่างอ้อยเวลาหีบอ้อย สิ่งที่เป็นโปรดักส์ต้องการก็คือน้ำอ้อย จะไปแปรสภาพเป็นน้ำตาลทราย ในน้ำตาลทรายจะ มีน้ำตาลทรายดิบ นำไปแปรรูปเป็นน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ จะเป็นว่าทุกกระบวนมีค่าใช้จ่าย ระบบการแบ่งปันผลประโยชน์จำเป็นที่จะต้องมีการชาร์จค่าใช้จ่ายตรงนี้ไปนำมาคำนวณในสัดส่วนรายได้ 70: 30 ช้อแรก พักไว้เรื่องกากากน้ำตาล ในอดีตใช้ประโยชน์ไม่ได้ แต่ต่อมาสามารถหมักเป็นแอลกอฮอล์ได้ ปั่นไฟฟ้า ทำเชื้อเพลิงได้ เริ่มมีการเรียกร้องให้มาคำนาณ จึงมีการนำเอากากน้ำตาลมาคำนวณ ประมาณกว่า 700 บาท
หีบอ้อยลำหนึ่งมีน้ำเชื่อม มีกากน้ำตาล กากอ้อยและกากตะกอนกรอง ซึ่ง 3 ตัวนี้ ใครมองก็ทราบว่าเป็นผลพลอยได้โดยตรง แต่บางคนก็เลยเถิดไปว่าจะเอาแอลกอฮอล์ด้วย จะเอาไฟฟ้าด้วย ตรงนี้มองว่าเลยเถิดไป ไม่ถูกต้อง แต่ถ้าชาวไร่กับโรงงานไม่เข้าใจกันก็จะไม่เป็นประโยชน์ ส่วนเป็นธรรมหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับผลประโยชน์ก็มีการด่าทอว่ากรรมาธิการโง่หรือเปล่า กากอ้อยเป็นผลพลอยได้โดยตรง
"ทุกคนเข้าใจอยู่แล้ว แต่การใส่เข้าไปทำให้เกิดความขัดแย้ง แต่สุดท้ายก็ต้องจบแบบนี้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่ว่าฝ่ายค้านฝ่ายรัฐบาลเรียกร้องให้ใส่กากอ้อยเข้าไปตามความต้องการของเกษตรกร ซึ่งผมก็ตอบในที่ประชุมไปหมดแล้วว่าทุกอย่างทุกปัจจัยใส่ไปแล้วไม่มีประโยชน์ทำให้ทะเลาะกันเราก็ต้องพิจารณาสิ่งเหล่านี้ด้วย แต่ในเมื่อผมก็เป็นแค่เสียงเดียว ผมเองก็ยอมรับความคิดเห็นเสียงส่วนใหญ่ในสภาคิดแบบนี้ จึงเป็นที่มาของโรงงานถอนตัวเราก็ต้องยอมรับ"
เพจเฟซบุ๊ค โรงงานน้ำตาลแห่งประเทศไทย โพสต์ ความคืบหน้า สอน. อยู่ระหว่างดำเนินการ เงินช่วยค่าตัดอ้อยสด ลดฝุ่น pm2.5 ที่อัตรา 120 บาทต่อตัน สำหรับเอกสารจำนวนอ้อยสดของชาวไร่อ้อยแต่ละราย สำเนาบัตรประชาชน สำเนาบัตรชาวไร่อ้อย สำเนาเลขที่บัญชี ธกส. ของชาวไร่อ้อย แต่ละโรงงานน้ำตาล ได้ทยอยส่งให้ เจ้าหน้าที่ สบน.ประจำโรงงาน
หากคำนวณเวลาที่มีการเดินเรื่องตามลำดับขั้นตอน ยังต้องเสนอผ่านบอร์ด กอน. ครม. ธกส. เพื่อลงมติเห็นชอบหรือให้การรับรอง คาดว่าการโอนเงินช่วยค่าตัดอ้อยสด 120 บาทต่อตัน จาก ธกส. ถึงบัญชีชาวไร่อ้อย จะทำได้เร็วสุดประมาณกลางเดือนสิงหาคม หรือต้นเดือนกันยายน 2565
สำหรับรายได้ค่าอ้อย ปีการผลิต 64/65 พี่น้องชาวไร่อ้อยยังมีเพิ่มเติมอีก ประกอบด้วย เงินช่วยค่าตัดอ้อยสด โดยหลายเขตจะมีเงินค่าอ้อยขั้นสุดท้ายและค่าความหวานขั้นสุดท้าย คำนวณเมื่อปิดรอบปี 64/65 ในเดือนกันยายน และผลตอบแทนค่าอ้อยและการผลิตน้ำตาล จะสรุปประมาณเดือนตุลาคม 65