ม.ธรรมศาสตร์สดุดี“ดร.สมคิด”สร้างคุณประโยชน์ให้กับประเทศด้านเศรษฐกิจ

27 มิ.ย. 2565 | 08:32 น.
อัปเดตล่าสุด :27 มิ.ย. 2565 | 15:42 น.

ม.ธรรมศาสตร์สดุดี“ดร.สมคิด”ในโอกาสรับมอบเข็มเกียรติยศประจำปี 2565 อุทิศตนช่วยเหลือภาครัฐ แก้ปัญหาและพัฒนาเศรษฐกิจในช่วงที่เศรษฐกิจของประเทศอยู่ในภาวะวิกฤติ ส่งผลให้เศรษฐกิจกลับมามีเสถียรภาพ มีผลงานเป็นที่ประจักษ์ สร้างคุณประโยชน์ให้กับประเทศชาติ

วันนี้ (27 มิ.ย.65) ที่หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ท่าพระจันทร์ ได้จัดงานเนื่องในวันคล้ายวันสถาปนามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ครบรอบ 88 ปี โดยมีพิธีมอบเข็มเกียรติยศประจำปี 2565 แด่ ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี ศิษย์เก่าคณะเศรษฐศาสตร์ โดย ดร.สมคิด รับมอบจากศาสตราจารย์พิเศษ นรนิติ เศรษฐบุตร นายกสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์     


สำหรับคํากล่าวสดุดีเกียรติคุณ ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ระบุว่า 


ศาสตราภิชาน ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ สําเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีสาขา เศรษฐศาสตร์การคลังและเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ จากคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารการเงินจากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ และ ปริญญาเอกดุษฎี บัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ การจัดการด้านการตลาด ที่ J.L.Kellogg Graduate School, Northwestern University ประเทศสหรัฐอเมริกา ตามลําดับ

ดร.สมคิด ได้เริ่มชีวิตการทํางานโดยเริ่มเป็นอาจารย์ที่คณะบริหารธุรกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริ หารศาสตร์ ในขณะเดียวกันท่านได้รับเชิญให้เป็นที่ปรึกษาและกรรมการในองค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน โดยได้นําความรู้ทางวิชาการทั้งสาขาเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนาองค์กรทั้ง ภาครัฐและเอกชนในวงกว้าง

                                    ม.ธรรมศาสตร์สดุดี“ดร.สมคิด”สร้างคุณประโยชน์ให้กับประเทศด้านเศรษฐกิจ

ในการทํางานระดับประเทศ ที่เป็นเศรษฐกิจมหภาค ดร.สมคิด ได้เริ่มต้นจากการเป็นเลขานุการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในสมัย ดร.ทนง พิทยะ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และก้าวสู่การดํารง ตําแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในปี พ.ศ. 2544 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ประเทศได้พบกับ ผลกระทบของวิกฤตต้มยํากุ้งและต้องแก้ปัญหา สถานการณ์ต่าง ๆ ทางเศรษฐกิจ ที่ตามมา

ในช่วงปี พ.ศ. 2544 - 2549 ดร.สมคิด ได้ดํารงตําแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์และรองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ ท่านได้นําองค์ความรู้ต่าง ๆ มาใช้เพื่อการสร้างความเติบโตทางเศรษฐกิจและรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศในเวลาเดียวกัน และใช้กลไกในทุกภาคส่วน โดยเฉพาะเศรษฐกิจฐานรากเป็นเครื่องมือสําคัญในการฟื้นตัวของประเทศ ซึ่งถือเป็นหัวใจหลักของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศในภาวะวิกฤติ และทําให้เศรษฐกิจกลับมาเติบโตได้อย่างมีเสถียรภาพ

                                    ม.ธรรมศาสตร์สดุดี“ดร.สมคิด”สร้างคุณประโยชน์ให้กับประเทศด้านเศรษฐกิจ
ภายหลังการแก้ปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจต้มยํากุ้งจน เศรษฐกิจภาพรวมฟื้นตัวแล้ว ดร.สมคิด ได้ยุติบทบาทในภาครัฐ และคืนสู่ภาคการศึกษาและภาคธุรกิจ โดยรับตําแหน่งนายกสภามหาวิทยาลัยกรุงเทพ ตําแหน่ง ประธานคณะกรรมการในเครือบริษัทสหพัฒน์ อีกทั้งได้รับการแต่งตั้งให้เป็นศาสตราภิชาน จากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์


ในปี พ.ศ. 2558 ดร.สมคิด ได้กลับมาร่วมบริหารเศรษฐกิจของประเทศอีกครั้งในฐานะ รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ โดยท่านได้มีการผลักดันนโยบายที่สําคัญของประเทศในหลายประการ เช่น Thailand 4.0, Eastern Economic Corridor หรือ EEC, การผลักดันนโยบายสวัสดิการประชารัฐ, การลงทุนใน Mega Project ต่าง ๆ ในด้านการคมนาคม, โครงการวิสาหกิจชุมชนและการท่องเที่ยวเมืองรองเพื่อลดความเหลื่อมล้ําและสร้างความ เข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจฐานราก เป็นต้น


ศาสตราภิชาน ดร. สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ได้รับการยกย่องให้เป็นศิษย์เก่าดีเด่นของ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ทําคุณประโยชน์ให้แก่สังคมและประเทศชาติ ทั้งในภาคการศึกษาในมหาวิทยาลัยต่างๆ การพัฒนาศักยภาพภาคธุรกิจเอกชน 


อีกทั้งได้อุทิศตนใช้ความรู้ความสามารถในการช่วยเหลือภาครัฐ และ ดํารงตําแหน่งที่สําคัญที่เป็นหัวใจในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาเศรษฐกิจในช่วงที่เศรษฐกิจของประเทศอยู่ในภาวะวิกฤติหลายๆ ครั้ง ส่งผลให้เศรษฐกิจกลับมามีเสถียรภาพ 

                               ศาสตราภิชาน ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์
นอกจากนี้ ดร.สมคิด ยังได้ให้ความรู้แก่ภาค ประชาชน ผ่านการปาฐกถา การสัมมนาในหัวข้อที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ การพัฒนาองค์กรธุรกิจ และได้ร่วมทําประโยชน์รับใช้ชุมชนชาวธรรมศาสตร์ โดยเคยดํารงตําแหน่งนายกสมาคมธรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นหัวเรือร่วมกับศิษย์เก่าในการระดมทุนเพื่อบูรณะที่ทําการของสมาคมฯ ที่ซอยงามดูพลีให้กลับมาสง่างามและใช้ทําประโยชน์ให้แก่สังคมในปัจจุบัน


ด้วยผลงานที่ประจักษ์ การปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ และสร้างคุณประโยชน์ให้กับประเทศ ตลอดจนจิตสํานึกของการรับใช้สังคม ตามหลักปรัชญาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2565 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จึงมีมติมอบเข็มเกียรติยศ ให้กับ ศาสตราภิชาน ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์