ถอดหน้ากาก สิ่งไหน "ทำได้-ทำไม่ได้" หลัง กทม.ประกาศปลดล็อก 

27 มิ.ย. 2565 | 09:45 น.
อัปเดตล่าสุด :27 มิ.ย. 2565 | 17:02 น.

ถอดหน้ากาก เช็คเงื่อนไขสิ่งไหน "ทำได้-ไม่ได้" หลัง ผู้ว่าฯ กทม. ประกาศปลดล็อกมาตราการเฝ้าระวังและควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อโควิด-19

หลังจากที่สถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ของไทยปัจจุบันได้คลี่คลายและมีแนวโน้มดีขึ้น จำนวนผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตจากโรคลดลงเป็นลำดับ ล่าสุด ประกาศราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศ ให้ประชาชนสวมหน้ากากโดยความสมัครใจนั้น สอดรับกับนโยบายการเปิดประเทศเพื่อรับนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกซึ่งในส่วนของ กทม. นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าฯ กทม.ได้ลงนามในประกาศกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 24 มิ.ย.65 เรื่อง มาตรการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) 

 

สำหรับการสวมหน้ากากอนามัย หรือ หน้ากากผ้านั้น ให้เป็นการปฏิบัติโดยความสมัครใจโดยขอให้ประชาชนพิจารณาประโยชน์ ในการสวมหน้ากากอย่างถูกวิธี ซึ่งเป็นประโยชน์ด้านสุขอนามัยในการป้องกันการแพร่เชื้อและการรับเชื้อทั้งเชื้อโรคโควิดและโรคติดเชื้อทางระบบทางเดินหายใจอื่น ๆ รวมทั้งยังสามารถลดความเสี่ยงอื่นที่อาจมีผลกระทบต่อสุขภาพ 

เงื่อนไข การสวมหน้ากาก ตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุข

 

1.ประชาชนทั่วไป 

  • เมื่ออยู่ร่วมกับบุคคลอื่นในสถานที่หรือในพื้นที่แออัด 
  • มีการรวมกลุ่มคนจำนวนมาก 
  • ไม่สามารถเว้นระยะห่างได้ 
  • อากาศระบายถ่ายเทไม่ดี

2.กลุ่มเสี่ยง 

  • ผู้เข้าข่ายเสี่ยงที่เมื่อติดเชื้อโควิด-19 จะมีอาการรุนแรงหรือความเสี่ยงสูงต่อการเสียชีวิต (กลุ่ม 608) 
  • ผู้ที่มีโรคประจำตัวเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ 


คำแนะนำ: ควรสวมหน้ากากอนามัยอย่างถูกวิธีตลอดเวลาเมื่อต้องอยู่ร่วมกับบุคคลอื่นเพื่อลดความเสี่ยงในการรับเชื้อ

 

 

  • ผู้ติดเชื้อโควิด – 19
  • ผู้สัมผัสสี่ยงสูงจากเชื้อโควิด – 19


คำแนะนำ: จำเป็นต้องสวมหน้ากากอนามัยอย่างถูกวิธีตลอดเวลาเมื่ออยู่ร่วมกับบุคคลอื่นเพื่อลดความเสี่ยงและป้องกันการแพร่โรค