ส.ป.ก.เปิดโมเดลแก้ ภูเขาน่านหัวโล้น “สวมหมวกให้ภูเขา ใส่รองเท้าให้ตีนดอย"

29 มิ.ย. 2565 | 08:39 น.
อัปเดตล่าสุด :29 มิ.ย. 2565 | 15:43 น.

ส.ป.ก.เข้ารับการตรวจประเมินขั้นที่ 2 รางวัลเลิศรัฐ ประเภทสัมฤทธิ์ผลประชาชนมีส่วนร่วม แก้ภูเขาหัวโล้นจังหวัดน่าน “สวมหมวกให้ภูเขา ใส่รองเท้าให้ตีนดอย : เกษตรบนฐานธรรม” จ.น่าน

นายวุฒิพงศ์ เนียมหอม รองเลขาธิการสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) กล่าวว่า “ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ได้จัดให้มีการมอบรางวัลเลิศรัฐ ประจำปี พ.ศ. 2565 เพื่อเป็นการกระตุ้นและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารราชการให้เกิดผลในทางปฏิบัติ อย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน และเพื่อส่งเสริมการยกระดับประสิทธิภาพการให้บริการภาครัฐในการอำนวยความสะดวก และส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของประชาชน รวมทั้งเพื่อส่งเสริมให้หน่วยงานของรัฐยกระดับมาตรฐาน ให้เทียบเท่าสากลตามเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ และมุ่งเข้าสู่องค์การที่เป็นเลิศ”

 

สำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดน่าน (ส.ป.ก.น่าน) ได้มีการส่งผลงานเสนอประเมินรางวัลเลิศรัฐประจำปี พ.ศ. 2565 ในชื่อ “สวมหมวกให้ภูเขา ใส่รองเท้าให้ตีนดอย : เกษตรบนฐานธรรม” ของพื้นที่มูลนิธิส่งเสริมการเรียนรู้ชุมชน (วัดโป่งคำ) ตำบลดู่พงษ์ อำเภอสันติสุข จังหวัดน่าน ซึ่งดั้งเดิมเป็นพื้นที่ภูเขาหัวโล้น มีการทำลายป่าเพื่อทำเกษตรเชิงเดี่ยวและไร่เลื่อนลอย แต่หลังจากมีการส่งเสริมและพัฒนาให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนรูปแบบมาทำเกษตรแบบประณีตผสมผสาน การส่งเสริมการทำวนเกษตร ทำให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ของป่าต้นน้ำ ซึ่งครั้งนี้เป็นการเข้ารับการตรวจประเมินขั้นที่ 2 จาก ก.พ.ร.

ส.ป.ก.เปิดโมเดลแก้ ภูเขาน่านหัวโล้น “สวมหมวกให้ภูเขา ใส่รองเท้าให้ตีนดอย\"

ทั้งนี้ทางพื้นที่ได้จัดตั้งศูนย์รวบรวมสินค้าด้านการเกษตรชุมชนแห่งนี้ ดำเนินการภายใต้โครงการสวมหมวกให้ภูเขา ใส่รองเท้าให้ตีนดอย โดยมูลนิธิส่งเสริมการเรียนรู้ชุมชน (วัดโป่งคำ) ซึ่งมีเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพชีวิตเกษตรกร ให้สอดคล้องกับฐานทรัพยากรและวัฒนธรรมชุมชน นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นแนวทางการปฏิบัติ โดยหลักการทำงาน ใช้ธรรมเป็นฐาน งานเป็นทุน บุญคือเป้าหมาย พร้อมใช้หลักวัฒนธรรมชุมชนท้องถิ่นเป็นหลักในการพัฒนา  มีเกษตรกรเป็นเป้าหมายการพัฒนาแบบองค์รวม บูรณาการทำงานร่วมกับภาคีเครือข่ายอย่างมีส่วนร่วม 

ส.ป.ก.เปิดโมเดลแก้ ภูเขาน่านหัวโล้น “สวมหมวกให้ภูเขา ใส่รองเท้าให้ตีนดอย\"

 

รองเลขาธิการ ส.ป.ก. กล่าวเพิ่มเติมว่า “นอกจากนี้ทาง ส.ป.ก. ยังได้ดำเนินกิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาให้เกษตรกรกลุ่มเป้าหมายปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำเกษตรเชิงเดี่ยว เป็นเกษตรกรรมแบบประณีตผสมผสานตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง วางแผนพัฒนาแปลงเกษตรที่สามารถผลิตแบบต่อเนื่องและผลผลิตปลอดสารเคมี ส่งเสริมการจัดการด้านการตลาดสามารถเพิ่มรายได้อย่างพอเพียงไม่กระทบต่อสิ่งแวดล้อม ชุมชนสามารถพึ่งตนเองได้  

ส.ป.ก.เปิดโมเดลแก้ ภูเขาน่านหัวโล้น “สวมหมวกให้ภูเขา ใส่รองเท้าให้ตีนดอย\"

โดยผลการดำเนินโครงการดังกล่าว สามารถฟื้นฟูป่าได้ จำนวน 2,000 ไร่ ปรับพื้นที่แปลงเกษตรกร จำนวน 300 ไร่ จัดระบบน้ำแปลงเกษตรกร จำนวน 400 ไร่ จัดทำแปลงเกษตรประณีต จำนวนมากกว่า 50 แปลง มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ 1,200 คน 40 เครือข่าย มีผลผลิตเข้าสู่ตลาดภาคเอกชน ได้แก่ มูลนิธิโครงการหลวง ห้าง Tops market MaxValu  สร้างรายได้จากผลผลิตทางการเกษตรมูลค่ามากกว่า 3,500,000 บาทต่อปี

ส.ป.ก.เปิดโมเดลแก้ ภูเขาน่านหัวโล้น “สวมหมวกให้ภูเขา ใส่รองเท้าให้ตีนดอย\" ส.ป.ก.เปิดโมเดลแก้ ภูเขาน่านหัวโล้น “สวมหมวกให้ภูเขา ใส่รองเท้าให้ตีนดอย\"