“ไม้ยืนต้น”หรือ ไม้มีค่า นับว่าเป็นทรัพย์สินที่ใช้เป็นหลักประกันได้ ซึ่งปัจจุบัน มีทรัพย์สินหลายประเภทที่สามารถนำมาเป็นหลักประกันทางธุรกิจได้ ล่าสุดได้มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2561 กำหนดให้ “ไม้ยืนต้น” เป็นทรัพย์สินที่ใช้เป็นหลักประกันทางธุรกิจ
ซึ่งก่อนหน้านี้ ไม้ยืนต้นที่ปลูกในที่ดินกรรมสิทธิ์จะไม่ได้รับการประเมินในการให้สินเชื่อ จะประเมินเฉพาะส่วนที่เป็นที่ดินเท่านั้น แต่หลังจากที่กฎกระทรวงดังกล่าวมีผลบังคับใช้ทำให้สถาบันการเงินและผู้รับหลักประกันอื่นสามารถเพิ่มประเภททรัพย์สินในการให้สินเชื่อมากขึ้น ส่งผลดีทั้งต่อสถาบันการเงิน ภาคธุรกิจ เกษตรกร และประชาชนที่ต้องการใช้ไม้ยืนต้นเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันในการขอสินเชื่อโดยมีกฎหมายรองรับอย่างชัดเจน ปัจจุบันมีต้นไม้ที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจที่น่าสนใจมากมาย อาทิ ต้นกฤษณา ต้นสัก และต้นยาง เป็นต้น
ทั้งนี้พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ติดตามความคืบหน้าการขับเคลื่อนนโยบายปลูกไม้มีค่าเพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียว และสามารถใช้เป็นหลักประกันกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงิน พบว่าสถิติการจดทะเบียนการนำต้นไม้มาเป็นหลักประกัน มีจำนวน 1.46 แสนต้น เป็นเงินค้ำประกันกว่า 137 ล้านบาท แบ่งเป็น
นอกจากนี้ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ได้เดินหน้าให้ความความรู้แก่ผู้นำและผู้บริหารกลุ่มวิสาหกิจชุมชน เพื่อสร้างความรับรู้เกี่ยวกับไม้ยืนต้นมีค่า เช่น สัก พะยูง มะค่า ตะเคียนทอง กฤษณา เหลืองปรีดี กัลปพฤกษ์ นางพญาเสือโคร่ง จำปีสิรินธร เป็นต้น สำหรับใช้ประโยชน์จากกฎหมายหลักประกันทางธุรกิจ
ข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ณ วันที่ 20 พฤษภาคม 2565 มีผู้รับหลักประกันจำนวน 361 ราย และสถิติการจดทะเบียนสัญญาหลักประกันทางธุรกิจ มีผู้มาขอจดทะเบียนสัญญาหลักประกันทางธุรกิจแล้ว จำนวน 685,568 คำขอ จำนวนเงินที่ใช้ทรัพย์สินเป็นหลักประกัน รวมทั้งสิ้น 12,993,562 ล้านบาท โดยสิทธิเรียกร้องยังคงเป็นทรัพย์สินที่ใช้เป็นหลักประกันมากที่สุด ร้อยละ 77.93 (มูลค่า 10,125,750 ล้านบาท)
รองลงมา สังหาริมทรัพย์ที่ใช้ในการประกอบธุรกิจ ได้แก่ สินค้าคงคลัง วัตถุดิบ เครื่องจักร รถยนต์ เรือ เครื่องบิน สัตว์พาหนะ ร้อยละ 22.04 (มูลค่า 2,863,999 ล้านบาท) ทรัพย์สินทางปัญญา ร้อยละ 0.02 (มูลค่า 1,991 ล้านบาท) กิจการ ร้อยละ 0.01 (มูลค่า 1,287 ล้านบาท) อสังหาริมทรัพย์ที่ใช้ในการประกอบธุรกิจ ร้อยละ 0.003 (มูลค่า 398 ล้านบาท) และ ไม้ยืนต้น ร้อยละ 0.001 (มูลค่า 137 ล้านบาท)