ค่าการตลาดน้ำมันเบนซิน2565 อยู่ที่เท่าไหร่ เป็นคำถามที่กำลังได้รับความสนใจเป็นอย่างมากสำหรับประชาชน
หลังจากที่ล่าสุดนายกรณ์ จาติกวณิช หัวหน้าพรรคกล้า เรียกร้องให้นายกรัฐมนตรี กำชับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน (สุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาวน์) ปฏิบัติหน้าที่อย่างเคร่งครัดในช่วงนี้ หลังมีความหละหลวมในการดูแลประชาชนอย่างมาก
และได้มีประเด็นเรื่องของค่าการตลาด ซึ่งหัวหน้าพรรคกล้าระบุว่า ช่วง 3-4 วันที่ผ่านมานี้ ได้มีการปล่อยให้ผู้ขายนํ้ามันเพิ่มค่าการตลาด (รายได้ของผู้ค้าน้ำมัน) ในกรณีของเบนซินขึ้นมาสูงเกินมาตรฐานปกติอย่างมาก
โดยให้ข้อมูลว่า วันที่ 5 ก.ค. ค่าการตลาด Gasohol95 E10 สูงถึง 3.42 บาทต่อลิตร ส่วน Gasohol 91 อยู่ที่ 3.62 บาทต่อลิตร ค่าการตลาดปกติไม่ควรเกิน 2 บาท
และที่น่าสนใจคือ หากเทียบกับวันที่ พรรคกล้า ได้ออกมาพูดถึงเรื่องค่าการกลั่นน้ำมันเมื่อวันที่ 10 มิ.ย. จะเห็นว่า ราคานํ้ามันที่รับจากโรงกลั่นน้ำมันถูกลง แต่ราคาหน้าปั้มยังอยู่ในระดับเดิม
แทนที่คนไทยเรา จะได้ประโยชน์จากราคาน้ำมันที่ถูกลง กลับกลายเป็นผู้ค้าเอาไปเป็นรายได้ของตนเอง ซึ่งผู้ค้าใหญ่สุดก็คือ ปตท. นั่นเอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ปล่อยให้เป็นอย่างนี้ได้อย่างไร
อย่างไรก็ดี กระทรวงพลังงาน โดยโฆษกกระทรวง นายสมภพ พัฒนอริยางกูล ให้ความเห็นต่อเรื่องดังกล่าวว่า จากแนวทางการพิจารณา "ค่าการตลาด" อ้างอิงของสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน ในการพิจารณาค่าการตลาดควรดูในภาพรวมของทุกชนิดน้ำมัน เพราะสถานีบริการไม่ได้จำหน่ายน้ำมันเพียงชนิดเดียว
และไม่ควรเปรียบเทียบค่าการตลาดเป็นรายวัน เนื่องจากราคาเนื้อน้ำมันมีการเปลี่ยนแปลงขึ้นลงทุกวันตามราคาตลาดโลก โดยหากพิจารณาในปีนี้ค่าเฉลี่ยของค่าการตลาดในแต่ละเดือนก็อยู่ในกรอบที่ภาครัฐติดตามดูแล
หากพิจารณาค่าการตลาดโดยรวมของสถานีบริการ (เฉลี่ยของทุกชนิดน้ำมันทั้งเบนซินและดีเซล) ตั้งแต่วันที่ 1 - 6 กรกฎาคม 2565 อยู่ที่ 2.17 บาทต่อลิตร ซึ่งใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยของปี 2564 ทั้งปี (2.14 บาทต่อลิตร) และอยู่ในกรอบที่ภาครัฐติดตามดูแล (2.00 +/- 0.40 บาทต่อลิตร)
นายสมภพ กล่าวต่อไปว่า หากจะพิจารณาค่าการตลาดน้ำมัน ควรจะดูในภาพรวมของผลิตภัณฑ์ที่มีการจำหน่าย ทั้งน้ำมันเบนซินและดีเซล โดยทางภาครัฐได้มีการศึกษากรอบค่าการตลาดซึ่งควรอยู่ที่ 2 บาท และ +/- ได้ 0.40 บาทต่อลิตร
ซึ่งหากพิจารณาค่าการตลาดตั้งแต่วันที่ 1 – 6 กรกฎาคม 2565 ค่าการตลาดน้ำมันเฉลี่ยทุกประเภท ทั้งน้ำมันเบนซินและดีเซลจะอยู่ที่ 2.17 บาทต่อลิตร ซึ่งก็อยู่ในกรอบที่ภาครัฐกำหนด
สำหรับค่าการตลาด คือ รายได้ของผู้ประกอบการสถานีบริการน้ำมันที่ยังไม่ได้หักค่าดำเนินการ ค่าขนส่งน้ำมันจากคลังมาหน้าสถานีบริการ ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าพนักงาน รวมถึงค่าใช้จ่ายๆ อื่นๆ เช่น ค่าเช่าที่ดิน ค่าสาธารณูปโภคต่างๆ และค่าการตลาดของผู้ให้บริการแต่ละรายก็ไม่เท่ากัน ค่าการตลาดที่สำนักงานนโยบายและแผนพลังงานเผยแพร่เป็นค่าการตลาดอ้างอิงที่มาจากการคำนวณเพื่อใช้ในการติดตามดูแลกรอบค่าการตลาด
ทั้งนี้ จากการตรวจสอบค่าการตลาด (6 ก.ค.) ของ "ฐานเศรษฐกิจ" ผ่านเว็บไซด์สำนักงานนโยบายและแผนพลังงานกระทรวงพลังงาน คลิกที่นี่ พบว่า