“คนไทย” จ่ายเงินไปกับอะไรมากที่สุดบ้างในแต่ละเดือน

11 ก.ค. 2565 | 03:51 น.
อัปเดตล่าสุด :11 ก.ค. 2565 | 15:21 น.

 “คนไทย” จ่ายเงินไปกับอะไรมากที่สุดบ้างในแต่ละเดือน ค่าโดยสารสาธารณะ ซื้อรถยนต์ ค่าน้ำมัน และค่าโทรศัพท์ นำโด่ง สะท้อนถึงกำลังซื้อของผู้บริโภคเริ่มกลับมาแต่มีค่าใช้จ่ายสูงสวนทางรายได้ที่ยังเท่าเดิม

พักหลังๆจะเริ่มเห็นคนพูดถึงเงินเท่าเดิมแต่ซื้อของแพงขึ้น ทั้งนี้ เงินเฟ้อ คือ ค่าดัชนีชี้วัด ค่าของเงินในกระเป๋าที่เรามีอยู่ว่ามีอำนาจในการจับจ่ายใช้สอยได้มากน้อยแค่ไหน ซึ่งถ้าค่าเงินเฟ้อเป็นบวกมากๆ ก็แสดงว่าเงินในกระเป๋ามีค่าน้อยลงตาม อำนาจจับจ่ายก็น้อยไปด้วย

“คนไทย” จ่ายเงินไปกับอะไรมากที่สุดบ้างในแต่ละเดือน

กระทรวงพาณิชย์ได้มีการจัดทำดัชนีราคาผู้บริโภค หรือเงินเฟ้อทั่วไปเพื่อวัดอุณภูมิทางเศรษฐกิจโดยรวม เพราะยิ่งค่าเงินเฟ้อสูงก็แสดงว่า กิจกรรมทางเศรษฐกิจมีมาก หมายความว่ารายได้อีกฝากนึงของกระเป๋าเงินก็เข้ามาได้มากและแน่นอนก็จ่ายมากตามไปด้วย ดังนั้น การดูแลเงินเฟ้อไม่ให้สูงไป หรือต่ำไป จนเป็นเงินฝืด คือ ค่าเงินเฟ้อติดลบเกิน 6 เดือนนั้น เป็นสิ่งจำเป็น 

 

“คนไทย” จ่ายเงินไปกับอะไรมากที่สุดบ้างในแต่ละเดือน

ดัชนีราคาผู้บริโภค (เงินเฟ้อทั่วไป) เดือนมิ.ย.2565 ที่เพิ่มขึ้น 7.66% เป็นอัตราการเพิ่มขึ้นที่สูงที่สุดในรอบปีนี้ นับตั้งแต่ทำสถิติสูงสุดในรอบ 13 ปี มาตั้งแต่เดือนก.พ.2565 ที่เพิ่มขึ้น 5.28% มี.ค.2565 เพิ่ม 5.73% เม.ย.2565 ชะลอตัวลง แต่ยังเพิ่ม 4.65% และ พ.ค.2565 เพิ่ม 7.1% 

ส่วนเงินเฟ้อรวม 6 เดือนปี 2565 (ม.ค.-มิ.ย.) เพิ่มขึ้น 5.61% และเงินเฟ้อพื้นฐาน ที่หักอาหารสดและพลังงานที่มีความผันผวนด้านราคาออก ดัชนีอยู่ที่ 102.99 เพิ่มขึ้น 0.24% เมื่อเทียบกับเดือนพ.ค.2565 และเพิ่มขึ้น 2.51% เมื่อเทียบกับเดือนมิ.ย.2564 และเฉลี่ย 6 เดือนเพิ่มขึ้น 1.85%

“คนไทย” จ่ายเงินไปกับอะไรมากที่สุดบ้างในแต่ละเดือน

สาเหตุที่ทำให้เงินเฟ้อสูงขึ้น ยังคงเป็นสินค้ากลุ่มพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้น 39.97% โดยน้ำมันเชื้อเพลิง เพิ่มสูงถึง 39.45% ค่าไฟฟ้า เพิ่ม 45.41% ก๊าซหุงต้ม เพิ่ม 12.63% ส่วนกลุ่มอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ เพิ่ม 6.42% โดยสินค้าที่เพิ่มขึ้น เช่น เนื้อสุกร ไก่สด ไข่ไก่ และเครื่องประกอบอาหาร ที่ได้รับผลกระทบจากพลังงานที่เป็นต้นทุนแฝงในกระบวนการผลิต โลจิสติกส์

“คนไทย” จ่ายเงินไปกับอะไรมากที่สุดบ้างในแต่ละเดือน

และราคาวัตถุดิบที่สูงขึ้น ส่วนสินค้าอื่น ๆ ที่เพิ่มขึ้น เช่น น้ำยาล้างจาน น้ำยาปรับผ้านุ่ม สบู่ ยาสีฟัน บุหรี่ เบียร์ สุรา และค่าโดยสารสาธารณะ แต่ทั้งนี้มีสินค้าสำคัญหลายรายการลดลง เช่น กลุ่มข้าวแป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง ผลไม้สด เช่น เงาะ มังคุด ลองกอง กลุ่มสื่อสาร เช่น ค่าส่งพัสดุไปรษณีย์ และค่าเครื่องรับโทรศัพท์มือถือ เป็นต้น

“คนไทย” จ่ายเงินไปกับอะไรมากที่สุดบ้างในแต่ละเดือน

เรามาดูกันว่า ในเดือนมิ.ย.2565 มีสินค้าที่ราคาสูงขึ้น 213 รายการ เช่น ค่ากระแสไฟฟ้า น้ำมันเชื้อเพลิง เนื้อสุกร กับข้าวสำเร็จรูป อาหารกลางวัน (ข้าวราดแกง) ไข่ไก่ อาหารเช้า ค่าน้ำประปา ไก่สด เป็นต้น สินค้าไม่เปลี่ยนแปลง 137 รายการ เช่น ค่าโดยสารรถไฟลอยฟ้า ค่าใบอนุญาตขับขี่ ค่าภาษีรถยนต์ประจำปี และราคาลดลง 80 รายการ เช่น ข้าวสารเหนียว ข้าวสารเจ้า ขิง กล้วยหอม ต้นหอม มะเขือเทศ ค่าเช่าบ้าน ผักกาดขาว และถั่วฝักยาว เป็นต้น

“คนไทย” จ่ายเงินไปกับอะไรมากที่สุดบ้างในแต่ละเดือน


  กระทรวงพาณิชย์ได้ประเมินค่าใช้จ่ายครัวเรือนเดือนมิถุนายน 2565  โดยประชนมีรายจ่ายที่เป็นรายเดือนที่เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนถึง 18,088 บาทซึ่งรายจ่ายเพิ่มขึ้นทุกรายการ แบ่งเป็น 

  • ค่าโดยสารสาธารณะ ค่าซื้อยานพาหนะ น้ำมันเชื้อเพลิง ค่าบริการโทรศัทย์มือถือ 4,447 บาท
  • ค่าเช่าบ้าน ค่าวัสดุก่อสร้าง ค่าไฟฟ้า ค่าก๊าชหุงต้ม ค่าใช้ในบ้าน 3,955 บาท
  • เนื้อสัตว์ เป็ดไก่และสัตว์น้ำ 1,752 บาท
  • อาหารบริโภคในบ้าน(เดลิเวอลรี่) 1,585บาท
  • อาหารบริโภคในบ้าน(ข้าวราดแกง) อาหารตามสั่ง(เคเอฟซี พิซซ่า)1,214บาท
  • ค่าแพทย์ ค่ายา และค่าบริการส่วนบุคคล  967 บาท
  • ผักและผลไม้  918 บาท
  • ค่าหนังสือ ค่าสันทนาการ ค่าเล่าเรียน ค่าการกุศลต่างๆ 758 บาท
  • ข้าว แป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง  655 บาท
  • เครื่องปรุงอาหาร 438 บาท
  •  เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ 386 บาท
  •  ค่าเสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่มและรองเท้า  375บาท
  • ไข่และผลิตภัณฑ์นม 370บาท
  • ค่าบุหรี่ ค่าเหล้า ค่าเบียร์ 239 บาท

“คนไทย” จ่ายเงินไปกับอะไรมากที่สุดบ้างในแต่ละเดือน

ทั้งนี้ถ้าดูสัดส่วนการบริโภคต่อครัวเรือน พบว่า สินค้าที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ 59.55%  โดย ค่าโดยสารรถสาธารณะ ค่าซื้อยานพาหนะ ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง ค่าบริการโทรศัพท์ สูงถึง 24.75% รองลงมาเป็นค่าเช่าบ้าน วัสดุก่อสร้าง ค่าไฟฟ้า ก๊าชหุงต้ม เครื่องใช้ไฟฟ้า 21.87%   ส่วนสินค้าอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ 40.45%   โดย เนื้อสัตว์ เป็ดไก่และสัตว์น้ำ สูงถึง9.68% รองลงมาเป็นอาหารบริโภคในบ้าน 8.76% และอาหารบริโภคนอกบ้าน 6.71% เป็นต้น

“คนไทย” จ่ายเงินไปกับอะไรมากที่สุดบ้างในแต่ละเดือน

ทั้งนี้ แนวโน้มเงินเฟ้อในไตรมาส 3 ยังมีแนวโน้มขยายตัวในระดับที่ใกล้เคียงกับไตรมาสที่ผ่านมา แต่จะเป็นอัตราเท่าใด ยังประเมินไม่ได้ เพราะเหตุการณ์ยังไม่เกิดขึ้น และยังมีหลายปัจจัยที่จะกระทบเงินเฟ้อ ทั้งการขึ้นดอกเบี้ยของเฟด ราคาน้ำมัน ผลกระทบจากโควิด-19 ที่ยังมีอยู่ ความขัดแย้งระหว่างประเทศ และยังมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล การส่งออกที่ขยายตัว การท่องเที่ยวฟื้นตัว ที่มีผลต่อกำลังซื้อ ค่าเงินบาทอ่อนก็มีผล ทำให้คาดการณ์ได้ลำบาก ส่วนเป้าหมายเงินเฟ้อทั้งปี ยังคาดการณ์เหมือนเดิมอยู่ที่ 4-5% มีค่ากลาง 4.5% ส่วนจะปรับหรือไม่ ขอรอดูสถานการณ์ให้ชัดเจนก่อน