พักหลังๆจะเริ่มเห็นคนพูดถึงเงินเท่าเดิมแต่ซื้อของแพงขึ้น ซึ่งคิดต้องทำความเข้าใจว่าเงินเฟ้อ คือค่าดัชนีชี้วัด ค่าของเงินในกระเป๋าที่เรามีอยู่ว่ามีอำนาจในการจับจ่ายใช้สอยได้มากน้อยแค่ไหน ซึ่งถ้าค่าเงินเฟ้อเป็นบวกมากๆ ก็แสดงว่าเงินในกระเป๋ามีค่าน้อยลงตาม อำนาจจับจ่ายก็น้อยไปด้วย
กระทรวงพาณิชย์ได้มีการจัดทำดัชนีราคาผู้บริโภค หรือเงินเฟ้อทั่วไปเพื่อวัดอุณภูมิทางเศรษฐกิจโดยรวม เพราะยิ่งค่าเงินเฟ้อ สูงก็แสดงว่า กิจกรรมทางเศรษฐกิจมีมาก หมายความว่ารายได้อีกฝากนึงของกระเป๋าเงินก็เข้ามาได้มากและแน่นอนก็จ่ายมากตามไปด้วย ดังนั้น การดูแลเงินเฟ้อไม่ให้สูงไป หรือต่ำไป จนเป็นเงินฝืด คือ ค่าเงินเฟ้อติดลบเกิน 6 เดือนนั้น เป็นสิ่งจำเป็น
เดือนม.ค. เงินเฟ้อ เพิ่มขึ้น 1.13% เทียบกับเดือนม.ค.2564 เพิ่มขึ้น 3.23% สูงขึ้นจากเดือนธ.ค.2564 ที่ 2.17% โดยมีปัจจัยหลักมาจากสินค้ากลุ่มพลังงานที่ส่งผลกระทบทั้งทางตรง ทางอ้อมต่อเงินเฟ้อ โดยเพิ่มขึ้น 19.22% และมีผลต่อเงินเฟ้อถึง 2.25% ขณะที่สินค้ากลุ่มอาหาร แม้จะเพิ่มขึ้น แต่ยังไม่ถือว่าเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้อัตราเงินเฟ้อของไทยเพิ่มสูงขึ้น แต่มองว่า ราคาอาหารสดที่เพิ่มขึ้น เป็นเพียงจำเลย ที่ทำให้ค่าครองชีพประชาชนสูงขึ้น โดยค่าครองชีพที่สูงขึ้น มาจากราคาพลังงานเพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ
กระทรวงพาณิชย์ได้ประเมินค่าใช้จ่ายครัวเรือนเดือนม.ค.65 ไว้ว่า มีรายจ่ายรายเดือนที่ 17,321 บาท แบ่งเป็น
ทั้งนี้เงินเฟ้อเดือนม.ค.ที่สูงขึ้น 3.23% ยังไม่เป็นสัญญาณบ่งชี้ให้หน่วยงานรัฐใช้มาตรการสกัดเงินเฟ้อ หากจะใช้มาตรการต้องพิจารณาเงินเฟ้อที่ขยายตัวต่อเนื่องในหลาย ๆ เดือน ติดต่อกัน และเป็นการขยายตัวในอัตราที่เพิ่มขึ้นมากอย่างรวดเร็ว เช่น จาก 3% เป็น 5% 7% แต่ย้ำว่า เงินเฟ้อเดือนม.ค.2565 ยังเป็นเงินเฟ้อในระดับอ่อน ๆ มาจากปัจจัยหลัก คือ ราคาพลังงาน ซึ่งเป็นปัจจัยภายนอก ที่ไม่สามารถควบคุมได้
ส่วนแนวโน้มเงินเฟ้อในเดือนก.พ.2565 หากราคาพลังงานยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ก็จะส่งผลให้เงินเฟ้อของไทยสูงขึ้นอีกเล็กน้อย แต่ทั้งปี ยังคาดว่า จะอยู่ในกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อที่กระทรวงพาณิชย์ประเมินไว้ที่ 0.7-2.4% ค่ากลางอยู่ที่ 1.5% โดยยังมีปัจจัยที่ต้องจับตามอย่างใกล้ชิด ได้แก่ ราคาน้ำมัน ที่อาจสูงขึ้นได้อีก ค่าเงินบาท ที่หากอ่อนค่ามาก จะทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น จากราคาวัตถุดิบนำเข้าที่สูงขึ้น จึงต้องดูแลค่าเงินบาทให้เหมาะสมกับเงินเฟ้อ ,
มาตรการช่วยเหลือประชาชน ที่แม้ทำให้ประชาชนอยู่ดีกินดีขึ้นในช่วงโควิด-19 แต่หากเงินเข้าสู่ระบบไม่ได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ จะทำให้เงินเฟ้อเพิ่มขึ้นได้ เหมือนอย่างที่หลายประเทศใช้งบประมาณสูงในการช่วยเหลือประชาชน แต่ก็ก่อให้เกิดเงินเฟ้อ รวมถึงการเก็บภาษี เช่น ภาษีที่ดิน ที่อาจกระทบต่อต้นทุนของผู้ประกอบการ