ทส.ลุยตรวจสอบข้อมูลเชื้ออีโคไล ในน้ำตกก่อนขึ้นดอยสุเทพ

15 ส.ค. 2565 | 11:10 น.
อัปเดตล่าสุด :16 ส.ค. 2565 | 06:54 น.

ทส.ลุยตรวจสอบข้อมูลเชื้ออีโคไล ในน้ำตกก่อนขึ้นดอยสุเทพ ไม่ได้มาจากผลการวิเคราะห์โดยตรง พร้อมระบุชื่อ”น้ำตกรับเสด็จ”เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของนักท่องเที่ยว เร่งทำความเข้าใจประชาชน

นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.)เปิดเผยว่า นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวง ทส. ได้ติดตามข่าวและมีความห่วงใยต่อกรณีเฟซบุ๊กของนักวิชาการ เตือนถึงน้ำตกแห่งหนึ่งก่อนขึ้นดอยสุเทพ ว่าเต็มไปด้วยเชื้ออีโคไล (E.Coli)

 

ทส.ลุยตรวจสอบข้อมูลเชื้ออีโคไล ในน้ำตกก่อนขึ้นดอยสุเทพ

 

หรือเชื้อที่มาจากอุจจาระปนเปื้อนสูง พร้อมระบุชื่อ”น้ำตกรับเสด็จ”เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของนักท่องเที่ยว นักวิ่ง นักปั่นที่ผ่านไป-มา อยู่ที่อำเภอดอยสุเทพ จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่ง ปลัดกระทรวง ทส.ได้สั่งการให้ทุกหน่วยงานใน ทส.เร่งตรวจสอบข้อเท็จจริงและแก้ไขปัญหา พร้อมทำความเข้าใจกับพี่น้องประชาชน

 

ทส.ลุยตรวจสอบข้อมูลเชื้ออีโคไล ในน้ำตกก่อนขึ้นดอยสุเทพ

การตรวจค่า E.coli เป็นพารามิเตอร์ที่กำหนดในมาตรฐานคุณภาพน้ำดื่มเพื่อการบริโภค ซึ่งมีวัตถุประสงค์ต่างจากการตรวจวิเคราะห์ปริมาณแบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์มทั้งหมด (Total Coliform Bacteria, TCB)

 

ทส.ลุยตรวจสอบข้อมูลเชื้ออีโคไล ในน้ำตกก่อนขึ้นดอยสุเทพ

 

และแบคทีเรียกลุ่มฟีคอลโคลิฟอร์ม (Fecal Coliform Bacteria, FCB) เพื่อบ่งชี้การปนเปื้อนจากของเสียที่ออกมาจากสิ่งขับถ่ายของสัตว์เลือดอุ่นหรือมนุษย์ ซึ่งอาจมีการระบายน้ำเสียจากชุมชนหรือครัวเรือนลงแหล่งน้ำ เพื่อนำไปสู่หาแนวทางการจัดการ

 

ในวันนี้(15สิงหาคม2565)  สคพ.1 ร่วมกับ ศูนย์อนามัยที่ 1 ได้ดำเนินการเก็บน้ำ จำนวน 3 จุด คือ น้ำตกปีนปักป้าย น้ำตกรับเสด็จ และสะพานวัดผาลาด โดยการตรวจวัดหาปริมาณ E.Coli ทางศูนย์อนามัยที่ 1 เป็นผู้ตรวจวิเคราะห์ โดยใช้เวลา 7 วัน และ สคพ.1 จะเป็นผู้ตรวจวิเคราะห์หาปริมาณ TCB และ FCB

 

อรรถพล กล่าวว่า หลังจากทราบเรื่องดังกล่าว คพ.โดยสำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 1(สคพ.1) ได้ประสานข้อมูลเพิ่มเติมเจ้าของโพสต์ ทราบข้อเท็จจริงว่า ข้อมูลที่นำเสนออ้างอิงจากผลการวิจัยของนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และไม่มีข้อมูลผลการตรวจสอบ E.coli

 

จากแหล่งอื่น จากข้อเท็จจริงข้างต้น หากการโพสต์มีการอ้างอิงเฉพาะรายงานการวิจัยชิ้นดังกล่าวที่ปรากฏเฉพาะข้อมูลผลตรวจแบคทีเรียกลุ่มฟีคอลโคลิฟอร์ม (Fecal Coliform Bacteria, FCB) แต่ไม่มีผลตรวจ E.coli โดยตรง การที่ผู้โพสต์สื่อให้สาธารณชนเข้าใจว่าเป็น E.coli จะทำให้สาธารณชนสับสน เข้าใจคลาดเคลื่อนและเกิดความตื่นตระหนก จึงมีความจำเป็นที่ต้องสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องให้ประชาชนรับทราบ

 

ทส.ลุยตรวจสอบข้อมูลเชื้ออีโคไล ในน้ำตกก่อนขึ้นดอยสุเทพ

โดยใช้เวลาประมาณ 7 วัน สำหรับพารามิเตอร์ปริมาณออกซิเจนละลาย (DO) ภาคสนาม มีค่า 7.24 มิลลิกรัมต่อลิตร (ค่าเป็นปกติ)  ทั้งนี้  สคพ.1 ได้ร่วมประชุมหน่วยงานเกี่ยวข้องเพื่อทำความเข้าใจกับพี่น้องประชาชน และหากผลการวิเคราะห์พบข้อมูลคุณภาพน้ำมีเชื้อ E.Coli จะแจ้งประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแก้ไขปัญหาโดยเร็วต่อไป นายอรรถพล กล่าว