เว็บไซต์ ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่พระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน เพื่อดำเนินโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูง เพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร – หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ - นครราชสีมา)
สำหรับพระราชกฤษฎีกา ฉบับนี้ กำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืนในพื้นที่บางส่วน ดังนี้
ตามพ.ร.ฎ.ฉบับนี้ ยังได้ระบุว่า ที่ดินที่จะเวนคืนตามพ.ร.ฎ.นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการสร้างทางรถไฟ เครื่องประกอบทางรถไฟ ทาง และสิ่งจำเป็นอื่นตามโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย และรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกทม. - หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกทม. - นครราชสีมา)
โดย พ.ร.ฎ.ฉบับนี้ กำหนดใช้บังคับ 4 ปี ซึ่งในพื้นที่ที่เวนคืนที่ดินในกทม. และ 4 จังหวัด นั้น กำหนดให้มีส่วนแคบที่สุด 100 เมตร และส่วนกว้างที่สุด 1,918 เมตร และให้เริ่มต้นเข้าสำรวจที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ภายในแนวเขตที่ดินที่จะเวนคืนภายใน 60 วันนับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ โดยให้การรถไฟแห่งประเทศไทยเป็นเจ้าหน้าที่ในการเวนคืน
สำหรับความคืบหน้าล่าสุดของโครงการรถไฟความเร็วสูง งานโยธา ในช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 253 กิโลเมตร ซึ่งเริ่มดำเนินการแล้วนั้น เป็นระยะทางที่ 1 ของโครงการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูง (สปีดเทรน) เพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพฯ - หนองคาย มีโครงสร้างเป็นทางยกระดับ 181.9 กม. ระดับพื้น 64 กม. และอุโมงค์ 6.4 กม.
มีสถานีทั้งหมด 6 สถานี ได้แก่ สถานีกลางบางซื่อ สถานีดอนเมือง สถานีอยุธยา สถานีสระบุรี สถานีปากช่อง และสถานีนครราชสีมา ใช้ความเร็วสูงสุด 250 กม.ต่อชม. ประเมินระยะเวลาเดินทางจากกรุงเทพฯ – นครราชสีมา ประมาณ 1.30 ชม. ขณะค่าโดยสารประมาณ 107-534 บาท คาดว่า จะเปิดให้บริการในปี 2569