พ.ร.บ.จราจรทางบก (ฉบับที่ 13) พ.ศ.2565 ได้เริ่มบังคับใช้เมื่อวันที่ 5 ก.ย.ที่ผ่านมาแล้วแต่เนื่องจากยังเป็นช่วงเริ่มต้นเพื่อให้ประชาชนได้ปรับตัวกับกฎหมายจราจรฉบับใหม่นี้ ล่าสุด พล.ต.อ.ปรีชา เจริญสหายานนท์ รองผู้อำนวยการศูนย์บริหารงานจราจร สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ศจร.ตร.) ระบุว่า ตร.ได้สั่งการให้ทุกหน่วยบังคับใช้กฎหมายจราจรฉบับใหม่ควบคู่กับการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบ
โดยเฉพาะประเด็นเรื่องโทษปรับที่กฎหมายใหม่เพิ่มอัตราโทษสูงขึ้น เพื่อบังคับใช้ให้เกิดความปลอดภัยกับผู้ใช้รถใช้ถนน บางความผิดมีโทษสูงสุดปรับไม่เกิน 4,000 บาท แต่ในช่วง 3 เดือนแรกนี้ ตร.จะยังใช้เกณฑ์ค่าปรับใบสั่งจราจรตามกฎหมายเดิมไปพลางก่อน (ตามประกาศสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เรื่องเกณฑ์ค่าปรับตามที่เปรียบเทียบ พ.ศ.2563) เพื่อให้เวลาประชาชนได้ปรับตัวและปฏิบัติตามกฎจราจรได้อย่างถูกต้อง
ตัวอย่างเช่น
ข้อหาขับรถเร็วเกินกำหนด ฝ่าฝืนสัญญาณไฟแดง
ทั้งนี้ ในระยะต่อไปจะปรับปรุงเกณฑ์ค่าปรับตามใบสั่งให้สอดคล้องกับกฎหมายจราจรฉบับใหม่
ข้อหาที่เป็นปัจจัยเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุ หรือปัจจัยเกิดความสูญเสียต่อผู้ขับขี่
ทั้งนี้ ใบสั่งทุกใบจะถูกกำกับโดยระบบฐานข้อมูลใบสั่งที่เรียกว่า PTM (Police Ticket Management) ซึ่งจะระบุจำนวนค่าปรับตามเกณฑ์ที่ สำนักงานตำรวจแห่งชาติกำหนดไว้ในใบสั่งทุกใบ ดังนั้น ค่าปรับจึงเป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศ
นอกจากนี้กรณีการเพิ่มโทษผู้กระทำผิดซ้ำข้อหาขับรถในขณะเมาสุรา ตร.ได้พิจารณาตามหลักกฎหมายแล้ว จะไม่นำประวัติการกระทำผิดที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ 5 กันยายน 2565 มาประกอบการพิจารณาเพิ่มโทษ แต่จะเริ่มบันทึกประวัติการทำผิดครั้งแรกตั้งแต่วันที่ 5 ก.ย.2565 เป็นต้นไป
สำหรับการตั้งจุดตรวจวัดแอลกอฮอล์ ได้สั่งการให้ทุกหน่วยถือปฏิบัติตามมาตรฐาน SOP การตั้งจุดตรวจงานจราจร ตามที่ ตร. ได้กำหนดไว้แล้วอย่างเคร่งครัด
สำหรับกฎหมายฉบับใหม่ได้เพิ่มอัตราโทษปรับที่เป็นปัจจัยต่อการเกิดอุบัติเหตุ เป็นปัจจัยเสี่ยงในการสูญเสียของผู้ขับขี่และผู้ใช้ทางไว้ ดังนี้
ขับรถเร็วเกินกำหนด
ขับรถฝ่าฝืนสัญญาณไฟแดง
ไม่หยุดรถให้คนข้ามทางม้าลาย
ขับรถย้อนศร
ไม่สวมหมวกนิรภัย
ไม่รัดเข็มขัดนิรภัย
เพิ่มโทษผู้ขับขี่ที่ขับรถโดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยในชีวิตหรือร่างกายของผู้อื่น
เมาแล้วขับ
การรัดเข็มขัดนิรภัย
รถที่ติดตั้งเข็มขัดนิรภัยได้
รถกระบะ
หากฝ่าฝืนไม่รัดเข็มขัดดังกล่าวข้างต้นต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท
การนั่งบริเวณแคป หรือนั่งท้ายกระบะ