รายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาล เปิดเผยว่า ขณะนี้วงเงินกู้ภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน เพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคมจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 กรอบวงเงิน 5 แสนล้านบาท ได้หมดลงเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
โดยเงินก้อนสุดท้ายได้ถูกอนุมัติในช่วงการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ครั้งล่าสุด ที่มี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี รักษาการนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2565 ซึ่งมีมติอนุมัติวงเงินให้กับกระทรวงสาธารณสุข ก้อนสุดท้าย วงเงินกว่า 3.7 หมื่นล้านบาท
สำหรับวงเงินก้อนสุดท้ายภายใต้ พ.ร.ก.กู้เงินฯ เพิ่มเติม 5 แสนล้านบาทนั้น ครม.ได้อนุมัติให้โครงการต่าง ๆ ดังนี้
1.โครงการค่าบริการสาธารณสุขภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปี 2565 รอบที่ 5 ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)
เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับหน่วยบริการ สถานพยาบาล ที่ให้บริการสาธารณสุขโรคติดเชื้อไวรัส โควิด19 สำหรับประชาชนทุกคนที่อาศัยในประเทศไทย ในช่วงเดือนกันยายน - พฤศจิกายน 2565 รวม 3 เดือน วงเงิน 27,562.56 ล้าน บาท โดยให้ใช้จ่ายจาก พ.ร.ก.กู้เงินฯ เพิ่มเติม วงเงิน 25,845.84 ล้านบาท
2.โครงการที่เกี่ยวกับค่าตอบแทนแก่บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข จำนวน 6 โครงการ
เกี่ยวกับการการดูแลโรคโควิด19 รวมวงเงิน 13,124.102 ล้านบาท ซึ่งแยกเป็นการจ่ายค่าตอบแทนแก่บุคลากรทางการแพทย์โดยตรง วงเงิน 12,123.109 ล้านบาท และ กลุ่มบุคลากรอื่น ๆ ที่ปฏิบัติงานด้านการสนับสนุน วงเงิน 2,167.354 ล้านบาท โดยให้ใช้จ่ายจาก พ.ร.ก.กู้เงินฯ เพิ่มเติม จำนวน 12,123.109 ล้านบาท
สำหรับ 6 โครงการดังกล่าว ประกอบด้วย
สำหรับ รายงานรายละเอียดของการใช้จ่ายเงินกู้ตาม พ.ร.ก.กู้เงินฯ เพิ่มเติม 5 แสนล้านบาท มีข้อมูลรายละเอียด ดังนี้
กรอบวงเงินกู้ตาม พ.ร.ก.กู้เงิน 5 แสนล้านบาท
ทั้งนี้ภายใต้ พ.ร.ก.กู้เงินฯ เพิ่มเติม 5 แสนล้านบาท แยกเป็นแผนงานด้านต่าง ๆ จำนวน 3 แผนงาน คือ
1. แผนงานหรือโครงการที่มีวัตถุประสงค์ทางการแพทย์และสาธารณสุข
2. แผนงานหรือโครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือ เยียวยา ชดเชยให้กับภาคประชาชน เกษตรกร และผู้ประกอบการ
3. แผนงานหรือโครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม