หลังจากที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.) ครั้งแรกของปี 2568 เมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2568 เซอร์ไพรส์ตลาดด้วยมติ 6 ต่อ 1 เสียง ให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายปรับลดลงจาก 2.25% เป็น 2.00%ต่อปี โดยให้มีผลทันที
ท่ามกลางการคาดการณ์ว่า กนง.น่าจะคงดอกเบี้ยไว้ที่ 2.25% เพื่อเก็บกระสุนรองรับในช่วงที่เศรษฐกิจกำลังเผชิญกับความท้าทายร้อบด้าน
อย่างไรก็ตาม เดือนตุลาคมปีที่ผ่านมา กนง.เซอร์ไพรส์ตลาดด้วยมติ 5 ต่อ 2 เสียง ให้ลดดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% เพื่อช่วยลูกหนี้ ภาคธุรกิจ ช่วยค่าเงินบาทให้อ่อนค่า กระตุ้นการส่งออก ดึงดูดการท่องเที่ยว และการลดภาระทางการจะเพิ่มแรงจูงใจให้ธนาคารพาณิชย์ปล่อยกู้ด้วย
ทั้งนี้กรรมการ 1 เสียง เห็นควรให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในครั้งนี้ เนื่องจากให้น้ำหนักมากกว่ากับการรักษาขีดความสามารถของนโยบายการเงินเพื่อรองรับความไม่แน่นอนที่สูงขึ้นในระยะข้างหน้า
สำหรับคณะกรรมการนโยบายการเงิน(Monetary Policy Committee) หรือ กนง. เป็นหนึ่งในคณะกรรมการหลักของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ซึ่งรับผิดชอบด้านการกำหนดทิศทางของนโยบายการเงิน โดยทำงานร่วมกับเจ้าหน้าที่ของ ธปท. อย่างใกล้ชิดในการติดตามภาวะเศรษฐกิจในประเทศและต่างประเทศ
การกำหนดทิศทางนโยบายการเงินของ กนง. จะพิจารณาจากข้อมูลต่าง ๆ ที่ ธปท. นำเสนอให้ทราบ จากนั้นจะนำข้อมูลดังกล่าวไปกลั่นกรองพิจารณาในที่ประชุม เพื่อกำหนดทิศทางของนโยบายการเงินต่อไป
คณะกรรมการนโยบายการเงินที่คณะกรรมการ ธปท. แต่งตั้งขึ้นภายใต้ พ.ร.บ. ธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2485 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ. ธนาคารแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 ประกอบด้วยผู้บริหารระดับสูงของ ธปท. 3 คน และ ผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอก 4 คน ได้แก่
โดยมีนายสักกะภพ พันธ์ยานุกูล เลขานุการ
แหล่งข่าวจากแวดวงการเงินหลายคนวิเคราะห์ตรงกันว่า 1 ในกนง. เสียงข้างน้อย น่าจะเป็น 1 ใน 3 คนของกรรมการที่เป็นตัวแทนฝั่งธปท. หรือไม่ก็เป็น นายไพบูลย์ กิตติศรีกังวาน