นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เปิดเผยในการกล่าวปาฐกถาพิเศษ ในหัวข้อ “ภาครัฐ ประสาน ภาคเอกชน ขับเคลื่อนไทย สู่สังคมคาร์บอนต่ำอย่างยั่งยืน” ว่า ขณะนี้ ทส. อยู่ระหว่างการจัดทำเป้าหมายการมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 2 (The 2nd updated NDC) ที่ 40% ในปี พ.ศ. 2573 ประเทศสามารถดำเนินการได้เอง 30% และการดำเนินงานที่ต้องได้รับการสนับสนุนเพิ่มเติมจากต่างประเทศอีก 10%
สำหรับแนวทางและมาตรการลดก๊าซเรือนกระจกที่สำคัญ ได้แก่
ผ่านการขับเคลื่อนการดำเนินงาน 6 ด้าน ได้แก่
นายวราวุธ กล่าวอีกว่า ประเด็นผลกระทบที่ทั่วโลกต้องเผชิญภัยพิบัติทางธรรมชาติรุนแรง เช่น น้ำท่วม น้ำแล้ง ดินโคลนถล่ม น้ำท่วมใหญ่ในเกาหลีใต้ และปากีสถาน โดยที่ประเทศไทยนั้นปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นลำดับที่ 21 ของโลก (ประมาณ 0.8% ของโลก) และเป็น 1 ใน 10 ประเทศที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศรุนแรงที่สุด
จากถ้อยแถลงของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่ว่า “ประเทศไทยจะยกระดับการแก้ไขปัญหาภูมิอากาศอย่างเต็มที่และด้วยทุกวิถีทาง เพื่อให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน ภายในปี พ.ศ.2593 และบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ภายในปี พ.ศ. 2608”
ทำให้ประเทศไทยต้องปรับปรุง “ยุทธศาสตร์ระยะยาวในการพัฒนาแบบปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำของประเทศไทย” หรือ LT-LEDS ซึ่งจำเป็นที่ทุกภาคส่วนจะต้องร่วมมือกันขับเคลื่อนเพื่อการบรรลุเป้าหมายดังกล่าว
ศูนย์ซื้อขายคาร์บอนเครดิตของประเทศไทย ที่ดำเนินการโดยสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) มีบทบาทสำคัญ ในฐานะที่เป็นระบบฐานข้อมูลการซื้อขายคาร์บอนเครดิตของประเทศ สามารถติดตามและวิเคราะห์สถานการณ์การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG) ของประเทศที่ภาครัฐสามารถนำมาเชื่อมโยงกับเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศได้
ตลอดจนมีการลงทุนในเทคโนโลยีที่สามารถลด GHG ดังนั้น แพลตฟอร์มการซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนคาร์บอนเครดิต จึงถือเป็นส่วนสำคัญในการสร้างระบบนิเวศสำหรับการใช้กลไกราคาคาร์บอนเพื่อขับเคลื่อนให้เกิดการแลกเปลี่ยนคุณค่าของคาร์บอนเครดิตซึ่งกันและกัน สร้างความโปร่งใส ยุติธรรม และน่าเชื่อถือในระดับสากลของตลาดคาร์บอน รวมทั้งสามารถสร้างความเชื่อมั่นในศักยภาพของคนไทย “Together Possible” ทุกอย่างเป็นจริงได้เสมอ