เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2565 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุน
โดยการดึงดูดชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูงสู่ประเทศไทย พ.ศ. 2565
โดยที่การดึงดูดชาวต่างชาติที่มีฐานะทางเศรษฐกิจสูงหรือมีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านต่าง ๆ ให้เข้ามาสู่ประเทศไทยในรูปแบบผู้พํานักระยะยาว (long-tem resident) เป็นมาตรการสําคัญที่จะมีผล เป็นการกระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจในวงกว้างและทุกระดับ
แต่การที่ชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูง จะเข้ามาพํานักในประเทศไทยได้นั้น จะต้องมีการติดต่อและขออนุญาตตามกฎหมายต่าง ๆ จากหน่วยงาน ของรัฐจํานวนมาก ดังนั้น เพื่อให้การติดต่อและขออนุญาตเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จําเป็นต้องมี กลไกอํานวยการและขับเคลื่อนการดําเนินการดังกล่าว
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๑๑ (๘) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี จึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการกระตุ้นเศรษฐกิจและ การลงทุนโดยการดึงดูดชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูงสู่ประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๖๕”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ในระเบียบนี้
“ชาวต่างชาติ” หมายความว่า คนต่างด้าวที่ประสงค์จะขอรับการตรวจลงตราประเภท คนอยู่ชั่วคราวเป็นกรณีพิเศษ ประเภทผู้พํานักระยะยาว (long-term resident visa : LTR Visa) ตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนโดยการดึงดูดชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูงสู่ประเทศไทย
“หน่วยงานของรัฐ” หมายความว่า ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน หรือหน่วยงานอื่นของรัฐในฝ่ายบริหาร
“ตัวแทนที่ได้รับการรับรอง” หมายความว่า ผู้ให้บริการที่ได้รับการรับรองจาก คสดช. เพื่อให้บริการเป็นตัวแทนชาวต่างชาติที่ยื่นขอรับการตรวจลงตราหรือได้รับการตรวจลงตราประเภท คนอยู่ชั่วคราวเป็นกรณีพิเศษ ประเภทผู้พํานักระยะยาว ในการติดต่อประสานงานกับหน่วยงานของรัฐ เพื่อขออนุญาตหรือดําเนินการอื่นใดตามที่กฎหมายกําหนด หรือดําเนินการตามที่ คสดช. กําหนด
ข้อ ๔ ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่ง เรียกว่า คณะกรรมการสนับสนุนมาตรการกระตุ้น เศรษฐกิจและการลงทุนโดยการดึงดูดชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูงสู่ประเทศไทย เรียกโดยย่อว่า “คสดช.” ประกอบด้วย
(๑) รองนายกรัฐมนตรีซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมายคนหนึ่ง เป็นประธานกรรมการ
(๒) กรรมการโดยตําแหน่ง ได้แก่ ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงแรงงาน เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ผู้บัญชาการสํานักงานตรวจคนเข้าเมือง และผู้ว่าการการท่องเที่ยว แห่งประเทศไทย
(๓) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านความมั่นคง เศรษฐกิจ กฎหมาย การลงทุน การท่องเที่ยว หรือเทคโนโลยี จํานวนไม่เกินสี่คน
ให้เจ้าหน้าที่สํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนซึ่งได้รับมอบหมายจากเลขาธิการ คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน เป็นกรรมการและเลขานุการ และให้เจ้าหน้าที่สํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนคนหนึ่งซึ่งได้รับมอบหมายจากเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน และเจ้าหน้าที่ สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการคนหนึ่งซึ่งได้รับมอบหมายจากเลขาธิการคณะกรรมการ พัฒนาระบบราชการ เป็นผู้ช่วยเลขานุการ
ข้อ ๕ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระการดํารงตําแหน่งคราวละสามปี
ในกรณีที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตําแหน่งก่อนครบวาระ หรือในกรณีที่นายกรัฐมนตรี แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพิ่มขึ้นในระหว่างที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งแต่งตั้งไว้แล้วยังมีวาระ อยู่ในตําแหน่ง ให้ผู้ได้รับแต่งตั้งแทนตําแหน่งที่ว่างหรือเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพิ่มขึ้นอยู่ในตําแหน่ง เท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้ว
เมื่อครบกําหนดตามวาระตามวรรคหนึ่ง หากยังมิได้มีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิขึ้นใหม่ ให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งพ้นจากตําแหน่งตามวาระนั้นอยู่ในตําแหน่งเพื่อดําเนินการต่อไปจนกว่าจะมี การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิขึ้นใหม่
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งพ้นจากตําแหน่งตามวาระอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้
การประชุม คสดช. ให้เป็นไปตามที่ คสดช. กําหนด ข้อ ๖ นอกจากการพ้นจากตําแหน่งตามวาระ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตําแหน่งเมื่อ (๑) ตาย (๒) ลาออก (๓) นายกรัฐมนตรีให้ออก (๔) เป็นบุคคลล้มละลาย (๕) เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ (๖) ได้รับโทษจําคุกโดยคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุก เว้นแต่เป็นโทษสําหรับความผิด ที่ได้กระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
ข้อ ๓ ให้ คสดช. มีหน้าที่และอํานาจ ดังต่อไปนี้
(๑) กําหนดแนวทาง ยุทธศาสตร์ และผลักดันนโยบายและมาตรการการดึงดูดชาวต่างชาติ ที่มีศักยภาพสูงให้เข้ามาอยู่ในประเทศไทยในลักษณะผู้พํานักระยะยาว (long-term resident)
(๒) กําหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรับรองตัวแทน รวมทั้งให้การรับรองตัวแทน
(๓) จัดทําความตกลงกับหน่วยงานของรัฐเพื่อกําหนดกระบวนงาน วิธีการ มาตรฐาน รวมทั้งกรอบระยะเวลาในการดําเนินการในกรณีที่ชาวต่างชาติหรือตัวแทนที่ได้รับการรับรองติดต่อ หรือยื่นขออนุญาตแทนชาวต่างชาติกับหน่วยงานของรัฐให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว ไม่ซ้ำซ้อน และไม่เป็นภาระเกินสมควร
(๔) พิจารณาและกําหนดแนวทางในการแก้ไขปัญหาของหน่วยงานของรัฐ ตัวแทนที่ได้รับการรับรอง และชาวต่างชาติในการดําเนินการตามระเบียบนี้
(๕) รายงานความคืบหน้าในการดําเนินการ ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับ การผลักดันนโยบายและมาตรการการดึงดูดชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูงสู่ประเทศไทยต่อคณะรัฐมนตรี อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
(๖) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ เพื่อช่วยเหลือการปฏิบัติหน้าที่ของ คสดช. ได้ ตามความจําเป็น
(๗) เสนอแนะให้มี ยกเลิก หรือแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมาย กฎ ระเบียบ หรือข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง เพื่อประโยชน์ในการดึงดูดชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูงสู่ประเทศไทย
(๘) ปฏิบัติการอื่นใดเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของระเบียบนี้หรือตามที่คณะรัฐมนตรี หรือนายกรัฐมนตรีมอบหมาย
ข้อ ๔ ให้สํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนทําหน้าที่เป็นสํานักงานเลขานุการ ของ คสดช. สําหรับการเบิกจ่ายเบี้ยประชุมให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ ส่วนค่าใช้จ่ายอื่น ที่จําเป็นซึ่งเกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการให้เป็นไปตามระเบียบของทางราชการ โดยให้เบิกจ่ายจาก งบประมาณของสํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
ข้อ ๔ ในวาระเริ่มแรก ให้ คสดช. ประกอบด้วยกรรมการตามข้อ ๔ (๑) และข้อ ๔ (๒) และให้เจ้าหน้าที่สํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนซึ่งได้รับมอบหมายจากเลขาธิการคณะกรรมการ ส่งเสริมการลงทุน เป็นกรรมการและเลขานุการ ปฏิบัติหน้าที่ คสดช. ตามระเบียบนี้ไปพลางก่อน
ข้อ ๑๐ ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามระเบียบนี้
ประกาศ ณ วันที่ ๓๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๑๕
พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ
รองนายกรัฐมนตรี รักษาราชการแทน
นายกรัฐมนตรี