จากที่การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) รัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีความประสงค์จะรับสมัครบุคคลเพื่อคัดเลือก และแต่งตั้งให้เข้าดำรงตำแหน่งผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2543 (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2550 (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2550 (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2558 และพระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 นับตั้งแต่วันที่ 7 มีนาคม ถึงวันที่ 26 มีนาคม 2568
นายเพิก เลิศวังพง ประธานกรรมการการยางแห่งประเทศไทย (ประธานบอร์ด กยท.) เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ระหว่างการปฎิบัติภารกิจ ณ สาธารณรัฐโปแลนด์ ถึงผลการรับสมัครผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ล่าสุด ว่า ปัจจุบันมีผู้มาสมัครจำนวน 4 คน เข้ารับการคัดเลือกตำแหน่งผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย ดังนี้
1.นายศรัณย์พงศ์ ฟุ้งเกียรติ
ประสบการณ์การทำงาน
-รองเลขาธิการสภาเกษตรกรแห่งชาติ
-อดีตที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม
-อดีตผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการคดีพิเศษจังหวัดชายแดนภาคใต้
2. นายกวิน พันธุ์ศิริ
ประสบการณ์การทำงาน
ผู้บริหารโรงงานเอกชน ในอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล
3. นายปรีดา ยังสุขสถาพร
-ผู้อำนวยการองค์การสะพานปลา
-ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ
-ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมการใช้ประโยชน์ สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร
-รองผู้อำนวยการสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย
4. นายวัชรวิชญ์ กีรติดุสิตโรจน์
-รองผู้อำนวยการองค์การสะพานปลา
-เจ้าหน้าที่โครงการพิเศษ บริษัท น้ำตาลวังขนาย จำกัด
-ผู้บริหารระดับฝ่าย บริษัท ชีพีออล จำกัด (มหาชน)\
-ประธานกรรมการ กลุ่มบริษัท บีเอสคิวเอ็มกรุ๊ป จำกัด
-.ประธานกรรมการ บริษัท Harvard Asia Consulting จำกัด
-ประธานกรรมการ บริษัท Digital Asia จำกัด
โดยผู้สมัครทั้ง 4 คน จะนำเข้าสู่คณะกรรมการตรวจสอบคุณสมบัติเบื้องต้น ได้แก่ ด้านความรู้ความสามารถ ต้องมีความรู้และความเชี่ยวชาญทางด้านการเกษตร วิทยาศาสตร์ อุตสาหกรรม หรือ การบริหาร โดยจะต้องมีประสบการณ์ในการบริหารองค์กรขนาดใหญ่ ไม่ต่ำกกว่าระดับรองผู้บริหารระดับสูงสุดของหน่วยงานที่มีรายได้ไม่ต่ำกว่า 5,000 ล้านบาทต่อปี โดยมีหนังสือรับรองการดำรงตำแหน่ง งบการเงินและโครงสร้างองค์กรหรือรายงานประจำปี ในขณะที่ดำรงตำแหน่งมาแสดงด้วย
ส่วนกรณีที่เป็นหรือเคยเป็นผู้บริหารส่วนราชการหรือหน่วยงานอื่นของรัฐ ต้องดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่ารองอธิบดี หรือรองหัวหน้าหน่วยงานของรัฐ หรือเทียบเท่า โดยมีหนังสือรับรองการดำรงตำแหน่งจากต้นสังกัดมาแสดงด้วยหรือในกรณีที่เป็นหรือเคยเป็นผู้บริหารรัฐวิสาทกิจ ต้องดำรงตำแหน่งบริหารไมต่ำกว่าระดับรองผู้บริหารสูงสุดของรัฐวิสาหกิจนั้น โดยมีหนังสือรับรองการดำรงตำแหน่งจากต้นสังกัดมาแสดงด้วยทั้งนี้ การดำรงตำแหน่ง จะต้องมีระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี นับถึงวันยื่นใบสมัคร
นายเพิก กล่าวว่า ไทม์ไลน์ จากวันนี้ จนถึงวันที่ วันที่ 8 เมษายน 2568 จะประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิแสดงวิสัยทัศน์และสัมภาษณ์ และในวันที่ 22 เมษายน 2568 ผู้สมัครเข้ารับการสัมภาษณ์และแสดงวิสัยทัศน์ และวันที่ 25 เมษายน 2568 จะประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือกเข้าดำรงตำแหน่งผู้ว่า กยท. คนที่ 9 หรือถ้าไม่ได้ก็ต้องมอบหมายหน้าที่ให้ นายสุขทัศน์ ต่างวิริยกุล รองผู้ว่าการด้านปฏิบัติการ เป็นรักษาการแทนต่อไป เพื่อเข้ามาบริหารยางทั้งในประเทศและส่งออกโดยอุตสาหกรรมยางพาราในภาพรวมคาดมีมูลค่าไม่ต่ำกว่า 4 แสนล้านบาท
อนึ่ง การยางแห่งประเทศไทย (Rubber Authority of Thailand) เรียกโดยย่อว่า “กยท.” มีสถานะเป็น นิติบุคคล และเป็นรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติ การยางแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 โดยเกิดจากการควบรวม 3 หน่วยงานด้านยางพารา คือ สำนักงานกองทุน สงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.) องค์การสวนยาง (อ.ส.ย.) และ สถาบันวิจัยยาง (สวย.) กรมวิชาการเกษตร
ปัจจุบัน มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่เลขที่ 67/25 ถนนบางขุนนนท์แขวงบางขุนนนท์เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร 1
วิสัยทัศน์(Vision)
“บริหารยางพาราเพื่ออนาคตที่ยั่งยืน”
พันธกิจ (Mission)
บริหารจัดการยางพาราทั้งระบบอย่างยั่งยืน เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม ยกระดับคุณภาพชีวิต สร้างความเข้มแข็ง เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน มุ่งสู่การเป็นองค์กรชั้นนำด้านยางพาราระดับโลก โดยจำแนกพันธกิจเป็น 6 ด้าน ดังนี้
1.ประเทศ สนับสนุนให้ประเทศเป็นศูนย์กลางการผลิต การค้า นวัตกรรมยางอย่างยั่งยืน
2. ประชาชน และผู้บริโภค สร้างการรับรู้คุณค่าของการใช้ยางธรรมชาติต่อประชาชน และผู้บริโภค
3.เกษตรกรชาวสวนยาง ยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกร
4.สถาบันเกษตรกร สร้างความเข้มแข็ง และมีการบริหารจัดการธุรกิจอย่างมืออาชีพ
5. ผู้ประกอบกิจการยาง ส่งเสริมการค้า และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
6.องค์กร บริหารจัดการองค์กรให้มีความมั่นคงทางการเงินเพิ่มขึ้น เป็นองค์กรแห่งความรู้ และมีสมรรถนะสูง โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล นวัตกรรม และหลักธรรมาภิ