นายภูสิต รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) เปิดเผยว่า กรมฯได้สำรวจลู่ทางและโอกาสการส่งออกสินค้าไทยในประเทศต่าง ๆ ได้รับรายงานจากทูตพาณิชย์ ณ นครเซาเปาโล ถึงการใช้ประโยชน์จากช่องทางออนไลน์ ในการซื้อสินค้าหรือหาวัตถุดิบจากบราซิล หลังจากตลาดอีคอมเมิร์ซในบราซิลมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ผู้ผลิต ผู้ส่งออกบราซิลได้หันมาใช้ช่องทางออนไลน์ขายสินค้าและเป็นช่องทางส่งออกสินค้าไปตลาดต่างประเทศมากขึ้น
ทั้งนี้ ทูตพาณิชย์ได้รายงานว่าปัจจุบันแพลตฟอร์มออนไลน์ ได้สร้างโอกาสให้กับบริษัทผู้ส่งออกรายใหม่ของบราซิลเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยผลสำรวจในปี 2564 มีจำนวนผู้ส่งออกทั้งสิ้น 30,960 บริษัท แต่มีเพียงครึ่งเดียวเท่านั้นที่เป็นผู้ส่งออกประจำ
แต่หลังเกิดสถานการณ์โควิด-19 ทำให้ผู้ส่งออกเป็นจำนวนมากหันมาใช้ช่องทางออนไลน์ในการขายสินค้าเพิ่มขึ้น และมีจำนวนผู้ส่งออกเพิ่มจำนวนมากขึ้น โดยเฉพาะผู้ส่งออกรายย่อย จากเดิมที่การขายสินค้าออนไลน์เพื่อส่งออก จะเป็นผู้ส่งออกรายกลางและใหญ่
ขณะเดียวกัน มีข้อมูลที่สำรวจโดยนักเศรษฐกิจ และนักสถิติในบราซิล พบว่า ในปี 2564 ที่ผ่านมา มีบริษัทในบราซิล ที่เปิดตัวสินค้าในต่างประเทศสูงถึง 5,270 ราย เพิ่มขึ้น 26% และยังมีข้อมูลจากสมาคมการค้าต่างประเทศของบราซิล (AEB) ที่ยืนยันว่า มีบริษัทขนาดเล็ก ที่สามารถส่งออกสินค้าให้บริการเฉพาะกลุ่มที่เป็นบริษัทนำเข้าขนาดเล็กที่แสวงหาซัพพลายเออร์ขนาดเล็กเพิ่มมากขึ้นด้วย
สำหรับสินค้าที่มีการขายผ่านช่องทางออนไลน์ และมีการเติบโตสูง เช่น ของขวัญและดอกไม้ เพิ่ม 14.3% แฟชั่น เพิ่ม 12.6% เครื่องประดับและนาฬิกา เพิ่ม 11% เป็นต้น โดยเว็บไซต์ที่สำคัญของบราซิล ได้แก่ 1.Mercado Livre 2.Shopee 3.AmazonBrasil 4.Americanas 5.Magalu 6.AliExpress 7.iFood 8.Casas Bahia 9.Netshoes และ 10.Shein ซึ่งผู้ผลิต ผู้นำเข้าของไทย ควรที่จะศึกษาและใช้โอกาสนี้มองหาสินค้าหรือซื้อวัตถุดิบจาก