นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ตั้งเป้าหมายที่จะผลิตโคเนื้อให้เพียงพอต่อความต้องการของตลาด โดยนำเทคโนโลยีชีวภาพด้านการผลิตปศุสัตว์ การย้ายฝากตัวอ่อนมาใช้ในการขับเคลื่อนการดำเนินงาน มุ่งเน้นการสร้างพ่อแม่พันธุ์แท้ชั้นเยี่ยมจากการย้ายฝากตัวอ่อน เพื่อเป็นการลดการนำเข้าพ่อแม่โคเนื้อพันธุ์แท้จากต่างประเทศ
โดยนำเข้าตัวอ่อนแช่แข็งพันธุ์แท้จากต่างประเทศ นำไปย้ายฝากตัวอ่อนในแม่ตัวรับของเกษตรกร ในส่วนของเกษตรกรสามารถนำลูกโคเพศเมียพันธุ์แท้ไปผลิตตัวอ่อนโคเนื้อที่มีคุณภาพ และลูกโคเพศผู้เกษตรกรสามารถนำลูกไปผลิตน้ำเชื้อเมื่อได้ลูกโคเพศผู้และเพศเมียพันธุ์แท้ เกษตรกรจะต้องส่งคืนลูกโคพันธุ์แท้ให้กรมปศุสัตว์ ร้อยละ 50 ซึ่งกรมปศุสัตว์สามารถนำลูกโคเพศเมียพันธุ์แท้ไปผลิตตัวอ่อนโคพันธุ์แท้ต่อไป และลูกโคเพศผู้สามารถคัดเลือกเป็นพ่อพันธุ์เพื่อผลิตน้ำเชื้อกระจายพันธุกรรมดี ผลิตน้ำเชื้อแข็งเพื่อการจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ รวมทั้งลดและยกเลิกการนำเข้าเนื้อโคและโคมีชีวิตและสามารถจะกระตุ้นการเพิ่มประชากรโคเนื้อได้อย่างกว้างขวางในประเทศต่อไป
นายสัตวแพทย์ประภาส ภิญโญชีพ รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ เข้าพื้นที่ตรวจเยี่ยมโครงการเพิ่มศักยภาพการผลิตโคเนื้อด้วยเทคโนโลยีชีวภาพ ในพื้นที่จังหวัดมุกดาหาร เผยว่า เป็นโครงการที่กรมปศุสัตว์ตั้งเป้าหมายในการกระจายโคเนื้อพันธุ์แท้ไปยังพี่น้องเกษตรกร โดยใช้เทคโนโลยีการย้ายฝากตัวอ่อน โคเนื้อพันธุ์แท้ (พันธุ์แองกัส /บีฟมาสเตอร์/ วากิว/ บราห์มันแดง) นำไปย้ายฝากให้กับแม่โคของเกษตรกรที่ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการ รายละ 6 ตัว
เมื่อมีลูกเกิดจากการย้ายฝากตัวอ่อนซึ่งเป็นโคเนื้อพันธุ์แท้ จะเป็นของเกษตรกร 50% ส่วนอีก 50% ต้องส่งคืนให้กรมปศุสัตว์ โดยกรมปศุสัตว์จะนำไปคัดเลือกเป็นพ่อแม่พันธุ์ เพื่อผลิตตัวอ่อน และผลิตน้ำเชื้อแช่แข็ง ต่อยอดการขยายสัตว์พันธุ์ดีให้กับพี่น้องเกษตรกรต่อไป
ทั้งนี้ ในการดำเนินโครงการฯ ดังกล่าว กรมปศุสัตว์ได้รับงบประมาณจากการกู้ยืมเพื่อแก้ไขปัญหาเยียวยาและฟื้นฟูทางเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค โควิด-19 ปี 2563 โดยได้รับงบประมาณจาก โครงการเพิ่มศักยภาพการผลิตโคเนื้อด้วยเทคโนโลยีชีวภาพ กว่า 75,621,800 ล้านบาท ดำเนินการจัดซื้อตัวอ่อนโคเนื้อพันธุ์แท้จากต่างประเทศจำนวน 4 สายพันธุ์ ดังนี้ 1) ตัวอ่อนพันธุ์อเมริกันบราห์มันแดง 2) ตัวอ่อนพันธุ์บีฟมาสเตอร์ 3) ตัวอ่อนพันธุ์วากิว 4) ตัวอ่อนพันธุ์แองกัส จำนวนทั้งสิ้น 2,100 ตัวอ่อน กรมปศุสัตว์ โดยสำนักเทคโนโลยีชีวภาพการผลิตปศุสัตว์ ได้ดำเนินการฝากตัวอ่อนให้แก่เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการตั้งแต่เดือน ธันวาคม 2564 และได้ลูกโคที่เกิดจากการฝากตัวอ่อนตัวแรกของโครงการฯ จากฟาร์มเกษตรกร ดังนี้
ลูกโคเนื้อพันธุ์แท้ที่ได้จากการย้ายฝากตัวอ่อน 2 ตัวแรก ของโครงการฯ ที่ฟาร์มนายอวิรุทธ์ แสนหัวห้าว ที่บ้านหมู่11 บ้านนาตะแบง ตำบลคำป่าหลาย อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร โดยในฟาร์มมีแม่โคเนื้อมากกว่า 100 ตัว มีแม่โคเนื้อที่ผ่านคัดเลือก 10 ตัว เข้าร่วมในโครงการเพิ่มศักยภาพการผลิตโคเนื้อด้วยเทคโนโลยีชีวภาพ และสามารถคัดเลือกแม่ตัวรับที่พร้อมในการรับฝากตัวอ่อนมี 6 ตัว ดังนี้ 1.) เบอร์704 พันธุ์ CHA50 AB50 ฝากพันธุ์แองกัส เมื่อวันที่ 9/12/64 คลอด 3/9/65 เพศเมีย
2.)เบอร์805 พันธุ์ CHA50 AB50 ฝากพันธุ์แองกัส เมื่อวันที่ 9/12/64 กำหนดคลอด 9/9/65 3.) เบอร์1/36 พันธุ์ AN50 NA50ฝากแองกัส เมื่อวันที่9/12/64กลับสัด ไม่ทัอง 4.) เบอร์319 พันธุ์ CHA50 AB50 ฝากบีฟมาสเตอร์ เมื่อวันที่ 9/12/64 กลับสัดไม่ท้อง 5.) เบอร์ A พันธุ์ CHA50 AB50ฝากบีฟมาสเตอร์ เมื่อวันที่20/3/65 กลับสัด ไม่ท้อง 6.) เบอร์118 พันธุ์ วากิว 50 NA50 ฝากบีฟมาสเตอร์ เมื่อวันที่27/3/65 ไม่ท้อง กลับสัด สรุปผลในดำเนินการย้ายฝากตัวอ่อนตามโครงการฯ ฝากตัวอ่อนแองกัส 3 ตัว ท้อง 2 ตัว ฝากตัวอ่อนบีฟมาสเตอร์ 3 ตัว ไม่ท้อง