ตามที่ที่ประชุมคณะกรรมการธนาคารกสิกรไทยมีมติแต่งตั้ง นายบัณฑูร ล่ำซำ เป็น ประธานกิตติคุณ ธนาคารกสิกรไทย พร้อมแต่งตั้งนางกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร เป็นรักษาการประธานกรรมการ แทน และแต่งตั้ง นางสาวขัตติยา อินทรวิชัย เป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ซึ่งมีผล ตั้งแต่วันที่ 3 เมษายน 2563 ซึ่ง2ผู้บริหารหญิงแกร่ง แห่งค่ายกสิกรไทย ได้เปิดใจผ่าน FB Live; K x Press เมื่อวันที่ 7 เมษายนที่ผ่านมา
"นางกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร"รักษาการประธานกรรมการ ธนาคารกสิกรไทยกล่าวว่า บทบาทในฐานะคณะกรรมการนั้นมีหน้าที่ในการกำหนดนโยบายและกำกับดูแล ทำให้ธนาคารสามารถดำเนินงานสอดคล้องกับหลักการ กำกับดูแลกิจการที่ดี และบริหารความเสี่ยงในความพอเหมาะ สิ่งสำคัญ คือ การดูแลความสัมพันธ์ระหว่างคณะกรรมการธนาคาร(บอร์ด)กับ ฝ่ายจัดการ ซึ่งจะต้องมีอิสระต่อกัน แต่ทำงานร่วมกัน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการ มีความรับผิดชอบต่อบอร์ด ในการที่จะต้องดำเนินธุรกิจประจำวัน ของธนาคาร ที่เกี่ยวข้องกับการวางแผน การปฏิบัติ การตัดสินใจ ส่วนบอร์ด มีหน้าที่แสดงความคิดเห็น แผน และกลยุทธ์ รวมทั้งติดตามการปฏิบัติงานตามแผนที่นำเสนอ พร้อมทั้งดูแลให้การดำเนินธุรกิจสามารถต่อเนื่องในระยะยาว รวมถึงแผนพัฒนาบุคลากรและแผนสืบทอดตำแหน่งของผู้บริหาร
นอกจากนี้กสิกรไทยยังให้ความสำคัญกับการสรรหา บุคคลชั้นนำที่มีการพัฒนาทักษะมีความรู้ความสามารถ ประสบการณ์หลากหลาย เพื่อให้คณะกรรมการ มีส่วนผสม ครอบคลุมในทุกมิติโดยปัจจุบันคณะกรรมการกสิกรไทยมีสัดส่วนผู้หญิงมากถึง 41%มีผู้หญิง 7 คน จากทั้งหมด 17 คน)โดยมีกรรมการอิสระ 9 คน ซึ่งมากกว่าครึ่งของบอร์ด
ส่วนทิศทางของธนาคารกสิกรไทยนั้น จะเร่ง ให้การช่วยเหลือลูกค้า ได้หลากหลาย ทั้งมาตรการสนับสนันจากภาครัฐ เพื่อลดทอนผลกระทบทางเศรษฐกิจในประเทศ ซึ่งธนาคารเป็นตัวจักรสำคัญในการพลิกฟื้นเศรษฐกิจ ของประเทศ นอกจากฝาวิกฤต ไวรัสแล้วกสิกรไทยจะต้องยืนหยัด เป็นสถาบันการเงินแห่งภูมิภาคซึ่งได้ขยายการลงทุนในหลายประเทศแล้วและเพื่อที่จะรองรับความท้าทายใหม่ๆที่จะเกิดขึ้น ในอนาคต
สำหรับมุมมองเศรษฐกิจไทยนั้น ถ้าสามารถ ผลักดัน ในมิติของภาคการท่องเที่ยว ให้กลับมาฟื้นตัวโดยเร็ว ก็จะมีโอกาส เห็นเศรษฐกิจฟื้นตัว ในลักษณะ V Shape เพราะการท่องเที่ยวน่าจะนำมาซึ่งการกระจายรายได้ เร็วที่สุด ซึ่งนอกเหนือจากมาตรการภาครัฐช่วยเหลือผู้ประกอบการทันที จะต้องเตรียมความพร้อมในการ สร้างภาพลักษณ์ การท่องเที่ยวในรูปแบบใหม่ โดยเฉพาะมิติด้านสุขภาพ เพื่อรองรับคนรุ่นใหม่
"นางสาวขัตติยา อินทรวิชัย" ประธานเจ้าหน้าที่บริหารธนาคารกสิกรไทยกล่าวว่า โจทย์เร่งด่วนของธนาคาร ภายใต้ความท้าทายหลากปัจจัยทั้งภัยแล้ง ภาวะเศรษฐกิจถดถอย ดิสรับชั่นเทคโนโลยี และการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ซึ่งธนาคารมีหลายบทบาท โดยโจทย์แรก กสิกรไทย ให้น้ำหนักในการ ดำเนินธุรกิจเพื่อรักษาผลประกอบการ ที่ดี ขณะเดียวกันต้องตอบโจทย์ลูกค้าให้ได้มากที่สุด
"ในรอบนี้เป็นความท้าทายที่หนักทีเดียว ถ้าเปรียบเทียบสถานการณ์ช่วงต้มยำกุ้ง โดยรอบนี้เมืองไทยใช้อัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว ภาระหนี้ต่างประเทศไม่สูง ไม่มีการเก็งกำไรในหุ้นหรือในเรียลเอสเตทมากเหมือนช่วงต้มยำกุ้งครั้งก่อน ประกอบกับมาตรการช่วยเหลือจากภาครัฐที่ออกมาเร็ว"
อย่างไรก็ตามในรอบนี้เศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลกโดยในส่วนของเศรษฐกิจไทย ไม่เติบโตมาในระยะหนึ่งแล้ว หนี้ครัวเรือนยังอยู่ในระดับค่อนข้างสูง และมาเจอปัจจัยไวรัสอีก ดังนั้น เหตุการณ์ครั้งนี้ เป็นโจทย์ของทุกประเทศทั่วโลก และทุกบริษัท โดยในส่วนของระบบการเงินของประเทศไทย ยังคงมีเงินกองทุนที่แข็งแกร่ง ทุกธนาคารและกสิกรไทย เองมีเงินกองทุนขั้นที่ 1 มากกว่า 16% โดยที่บอร์ดบริหารและฝ่ายจัดการมีการติดตามความเพียงพอของเงินกองทุนอย่างใกล้ชิด สม่ำเสมอ ขณะเดียวกันด้านเอ็นพีแอลได้ คาดการณ์ล่วงหน้าภายใต้ภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันโดยประเมินเอ็นพีแอล มีโอกาสที่จะเพิ่มขึ้นแต่อยู่ภายใต้การบริหารจัดการได้ และธนาคารกสิกรไทยไม่มีนโยบายลดพนักงานโดยช่วงนี้เน้นการดูแลสุขภาพพนักงานให้ความปลอดภัยต่อและสามารถการให้บริการลูกค้าความมั่นใจ
สำหรับการรักษาความเป็นผู้นำดิจิทัลแบงก์กิ้งนั้น นอกจากธนาคารจะต้องเข้าใจความต้องการของลูกค้า ในเชิงลึกและพยายามตอบโจทย์ให้ลูกค้า โดยมี K PLUSเป็นศูนย์กลางในการให้ ลูกค้าใช้ติดต่อกับธนาคาร แต่จะเพิ่มช่องทางให้หลากหลาย โดยแต่ละช่องทางจะเพิ่มศักยภาพ ในการที่จะตอบโจทย์ลูกค้ามากขึ้น เช่น การให้คำปรึกษาหรือช่องทาง banking agent หรือ ATM สำหรับแอพพลิเคชั่น K PLUS ปีนี้ตั้งเป้ายอดดาวน์โหลดไว้ 15 ล้าน(จากเดิม 12ล้าน)โดยคิดเป็นอัตราเติบโต 24% และ มียอดธุรกรรม จำนวน11,600ล้านรายการเติบโต 37% ซึ่งธนาคารยังคงความสามารถ ของK PLUS ในการเสิร์ฟลูกค้า ต่อไปเรื่อยๆ และยังคงต้องพัฒนาในเรื่องอื่นๆโดยไม่หยุดยั้ง
"นางสาวขัตติยา"กล่าวเพิ่มเติมว่า เมื่อผ่านวิกฤตไวรัสโควิด-19ไปแล้ว กสิกรไทยจะเป็นธนาคารที่มีขนาดใหญ่ซึ่งมีความคล่องตัว และสามารถดักทางตอบสนองความต้องการของลูกค้าในอนาคตได้ ซึ่งกสิกรไทยต้องการจะตอบโจทย์ผู้ถือหุ้นทั้งหมด เพื่อการเป็นธนาคารแห่งความยั่งยืน แม้ว่าจะมีคู่แข่งในระบบ ทำให้บางจังหวะ ธนาคาร ต้องเป็น ฝ่ายนำและบางจังหวะที่เป็นผู้ตาม แต่เนื่องจากเกมไม่มีวันจบ ( Infinite Game)
ทั้งนี้ ภายใต้เป้าหมาย "ให้อำนาจ เพิ่มอำนาจให้กับทุกชีวิต และธุรกิจของลูกค้า" โดยกสิกรไทยแบ่งทีมงานเป็น 2 ทีม โดยทีม 1 ดูแลโจทย์ปัจจุบันและอีกทีมบริหารโจทย์ในอนาคต เพราะฉะนั้นเมื่อผ่านวิกฤตหรือหายไข้ไปแล้วกสิกรไทยก็พร้อมที่จะวิ่ง กับ 8 เส้นทางที่กสิกรไทยตั้งใจจะอยู่ในทุกช่วงชีวิตของลูกค้า โดยผสมผสานช่องทางการให้บริการ เพื่อที่จะตอบโจทย์ลูกค้า รวมถึงทำงานร่วมกับพันธมิตร ปล่อยสินเชื่อให้กับกลุ่มลูกค้าใหม่ที่ไม่เคยใช้บริการธนาคารมาก่อนด้วยการบริหารความเสี่ยงที่ดี เและการเป็นธนาคารแห่งภูมิภาค เป็นยุทธศาสตร์ของธนาคารกสิกรไทย โดยเห็นได้จากกสิกรไทยใช้กลยุทธดิจิทัลในการขยายการตลาดหรือลงทุนในภูมิภาคเช่น ลงทุนในแมสเปี้ยนแบงก์ซึ่งเป็นธนาคารในอินโดนีเซีย สปป.ลาว หรือ กัมพูชา และจีน ซึ่งใช้กลยุทธ์ดิจิทัลมีรายได้ 80%จากสัดส่วนรายได้จากสาขาต่างประเทศที่ยังเติบโตไม่มากเพียงตัวเลขหลักเดียวแต่ธนาคารยังพยายาม จะขยายบริการออกไปเพื่อ ให้เติบโตมากยิ่งขึ้น