ธ.ก.ส.ปลื้ม ขายกรีนบอนด์เต็มวงเงิน 6,000 ล้านบาท

21 ส.ค. 2563 | 13:32 น.

ธ.ก.ส.ปลื้ม นักลงทุนตอบรับกรีนบอนด์อย่างดี ขายเต็มวงเงิน 6,000 ล้านบาท นำเงินไปใช้ในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและโครงการสินเชื่อที่ส่งเสริมการปลูกต้นไม้

ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์( ธ.ก.ส.) นับเป็นสถาบันการเงินเฉพาะกิจ(แบงก์รัฐ) รายแรกในประเทศไทยที่ระดมทุนด้วยการออกพันธบัตรเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม หรือ Green Bond (กรีนบอนด์) วงเงิน 6,000 ล้านบาท ให้กับนักลงทุนแบบเฉพาะเจาะจง หมดเกลี้ยงทั้ง 6,000 ล้านบาท  

นายอภิรมย์ สุขประเสริฐ ผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.)เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2563 ธ.ก.ส. ได้ระดมทุนผ่านการออกพันธบัตรเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม หรือ Green Bond ปีบัญชี 2563 วงเงิน 6,000 ล้านบาท ให้กับนักลงทุนแบบเฉพาะเจาะจง ซึ่งมีจำนวนไม่เกิน 10 ราย 3 คือ 1.พันธบัตรเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม รุ่นอายุ 5 ปี มูลค่า 4,500 ล้านบาท ครบกำหนดไถ่ถอน ปี 2568 และ 2.พันธบัตรฯ รุ่นอายุ 10 ปี มูลค่า 1,500 ล้านบาท ครบกำหนดไถ่ถอน ปี 2573

ธ.ก.ส.ปลื้ม ขายกรีนบอนด์เต็มวงเงิน 6,000 ล้านบาท

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เปิดรับฟังความคิดเห็น คุ้มครองผู้ลงทุน ”หุ้นกู้ชั่วนิรันดร์”

เปิดเงื่อนไขพันธบัตรออมทรัพย์รุ่น วอลเล็ต สบม. ครั้งที่2

คลังโต้ข่าว "รัฐบาลถังแตก"

ธ.ก.ส.ประเดิมออกกรีนบอนด์ 6 พันลบ. ดอกเบี้ย 1.76% และ 2.76%

ธ.ก.ส.นับเป็นสถาบันการเงินเฉพาะกิจรายแรกในประเทศไทยที่ระดมทุนด้วยการออก Green Bond  ซึ่งการออกครั้งนี้ 6,000 ล้านบาท จากเป้าหมายวงเงินรวม 20,000 ล้านบาทในปีบัญชี 2563 -2567 เพื่อนำเงินไปลงทุนในโครงการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ภายใต้การบูรณาการร่วมกับส่วนงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งด้านการป้องกันและควบคุมมลพิษ การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ในที่ดินอย่างยั่งยืน การจัดการน้ำเสียอย่างยั่งยืน และพลังงานทางเลือก

 

ทั้งนี้เงินที่ได้จากการขายพันธบัตร กรีนบอนด์ จะนําไปใช้เป็นเงินทุนในการส่งเสริมการปลูกต้นไม้ และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมใน 4 รูปแบบคือ การปลูกไม้เพื่อการออม รูปแบบวนผลิตภัณฑ์ รูปแบบวนเกษตร และการปลูกไม้เศรษฐกิจ ภายใต้การสนับสนุนสินเชื่อปลูกป่าสร้างรายได้ สินเชื่อรักษ์ป่าไม้ไทยยั่งยืน สินเชื่อ Green Credit ให้กับเกษตรกร ผู้ประกอบการภาคเกษตร

“พันธบัตรดังกล่าว ดําเนินการภายใต้มาตรฐานสากล ASEAN Green Bond Standards (ASEAN GBS) และมาตรฐาน International Capital Market Association Green Bond Principles (ICMA GBP) อีกทั้งยังได้รับการสนับสนุนจากสํานักงานบริหารหนี้สาธารณะ(สบน.) ในการคัดเลือกผู้จัดการจัดจําหน่าย และได้รับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการจัดจ้างผู้สอบทานจากภายนอก (External Reviewer) จากสถานเอกอัครราชทูตอังกฤษประจำประเทศไทย ภายใต้โครงการ ASEAN Low Carbon Energy Programme (ALCEP”