นางนวอร เดชสุวรรณ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ระบุว่ า ธปท. ได้ปรับเกณฑ์คุณสมบัติตราสารทางการเงินที่นับเป็นเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์ เพื่อเสริมสร้างระดับเงินกองทุนให้สูงขึ้นในการรองรับความไม่แน่นอนที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ถึงแม้ว่าระดับเงินกองทุนของระบบธนาคารพาณิชย์ยังอยู่ในระดับสูง โดย ณ กันยายน 2563 อัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (BIS Ratio) เฉลี่ยของระบบธนาคารพาณิชย์ไทยอยู่ที่19.43%
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
"แบงก์ชาติ" แจงแอปแบงก์พร้อมใจล่ม เหตุทำธุรกรรมสูง
ธปท.เผยเศรษฐกิจไทยยังเสี่ยงจับตาสถานการณ์"แรงงาน-น้ำแล้ง-โควิดรอบใหม่"
หวั่นธปท. เพิ่มมาตรการสกัดเก็งกำไรบาท
ธปท.ออกมาตรการคุมเงินบาทเพิ่มเติม 9 ธ.ค.นี้
หลักเกณฑ์คุณสมบัติที่ปรับใหม่ให้กลับมาเทียบเท่ากับหลักเกณฑ์สากล ได้แก่ ตราสารทางการเงินที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 1 หรือ Additional Tier 1 (AT1) ซึ่งเป็นตราสารทางการเงินที่ไม่มีกำหนดเวลาการชำระคืน ธปท. ให้ธนาคารพาณิชย์สามารถจ่ายผลตอบแทนได้โดยไม่ต้องขออนุญาตหากระดับเงินกองทุน (BIS Ratio) ของธนาคารพาณิชย์สูงกว่าที่ ธปท. กำหนด ตราสารทางการเงินที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 หรือ Tier 2 (T2) ซึ่งเป็นตราสารหนี้ด้อยสิทธิที่มีกำหนดเวลาการชำระคืนอย่างน้อย 5 ปี ธปท. ยกเลิกข้อกำหนดสิทธิให้ธนาคารพาณิชย์เลื่อนเวลาการชำระดอกเบี้ยได้
ทั้งนี้ ประโยชน์ของการปรับหลักเกณฑ์ดังกล่าวจะช่วยสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนเกี่ยวกับผลตอบแทน ส่งผลให้ธนาคารพาณิชย์ไทยสามารถระดมทุนได้ง่ายขึ้น และทำให้ระดับเงินกองทุนและสภาพคล่องสูงขึ้น ช่วยเอื้อต่อการปล่อยสินเชื่อให้กับภาคธุรกิจและประชาชน พร้อมเป็นกลไกสำคัญในการสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในระยะต่อไป