ในรอบปี 2563 มีหลายเหตุการณ์ที่ถือว่าอยู่เหนือความคาดหมาย โดยเฉพาะการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19 )ที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนและเศรษฐกิจทั่วโลก ทำให้ประเทศต่างๆต้องออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจบรรเทาความเดือดร้อน และยังส่งผลให้สินทรัพย์การลงทุนทั่วโลกเกิดเปลี่ยนแปลงทั้งเป็นโอกาสและความเสี่ยง มาดูกันว่า 10 ที่สุดเรื่องลงทุนแห่งปี 2020 คาดส่งผลต่อการลงทุนในปี 2021" เป็นเรืื่องอะไรบ้าง....
อันดับ 1 “Catherine Wood” สุดยอดผู้บริหารกองทุน ที่เขย่าวงการลงทุนด้วย “หุ้นนวัตกรรม”
สำหรับอันดับ 1 ของเหตุการณ์การลงทุนในปี 2020 ต้องยกให้ Catherine Wood, CEO ARK Invest ที่ปรึกษาด้านการลงทุนใน ธุรกิจนวัตกรรม ซึ่งหาก Warren Buffett ได้รับสมญานามเป็น King of VI (Value Investor) ในส่วนของ Catherine Wood คงต้องได้รับสมญานามให้เป็น Queen of II (Innovation Investor )
ซึ่งในปี 2020 นั้น หุ้นเทคฯปรับตัวขึ้นอย่างร้อนแรงไม่สนใจ COVID-19 แต่เหตุผลที่ปรับตัวขึ้นได้ร้อนแรงกว่า คือ หุ้นที่ลงทุนในบริษัทที่มีนวัตกรรมล้ำอนาคตจะมา Disrupt ธุรกิจและอุตสาหกรรมเดิม และจะกลายเป็นกระแส จาก Value Investor (VI) สู่ Innovation Investor (II) ซึ่งในช่วง 5 ปีที่ผ่านมานั้น ผลการดำเนินงานของ Ark Invest ได้ทำผลตอบแทนได้อย่างโดดเด่น
ในปี 2020 นั้น กองทุนรวมที่เน้นการลงทุนในบริษัทนวัตกรรมภายใต้การบริหารกองทุนของ Ark Invest นั้น ต่างทำผลตอบแทนได้โดดเด่น ซึ่งทั้งหมดติด TOP Performance (ประเภท Thematic) ประกอบไปด้วย 5 นวัตกรรมล้ำอนาคตที่น่าสนใจ ได้แก่
DNA sequencing - ถอดรหัสและแก้ไขพันธุกรรมเพื่อป้องกันและรักษาโรคร้าย Robotics – การใช้หุ่นยนต์เพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตและลดต้นทุนแรงงาน Energy Storage – แหล่งเก็บพลังงานเพื่อสร้ำงสรรค์นวัตกรรม ใหม่ๆ เช่น รถยนต์ไฟฟ้า และโดรน Artificial Intelligence – ปัญญาประดิษฐ์ที่สร้างความฉลาดให้กับคอมพิวเตอร์ในการทำความเข้าใจและแก้ปัญหาต่างๆ Blockchain Technology – เทคโนโลยีบล็อกเชน ทำให้สามารถโอนเงินได้ง่าย ต้นทุนต่่ำและถูก มีการแทรกแซงจากภาครัฐได้น้อย
ซึ่งทั้ง 5 นวัตกรรมหลักเหล่านี้ มีแนวโน้มที่จะขยายไปสู่เทคโนโลยีใหม่ๆ ที่จะเข้าไปแทนที่ธุรกิจแบบเดิม ๆได้ โดยเป็น Disruptor หรือผู้ชนะในระยะยาว ซึ่งในปี 2021 ถึงแม้แรงกดดัน COVID-19 อาจจะเริ่มส่งผลกระทบลดลง แต่นวัตกรรมยังคงเป็นสิ่งที่ตอบโจทย์ผู้คนในยุคนี้ ที่เน้นความสะดวกสบาย ง่ายแต่มีประสิทธิภาพ และเป็น Megatrend แห่งอนาคต
ตัวอย่างหุ้นที่ลงทุนตั้งแต่เฟสที่ธุรกิจเติบโตสูง แต่กำไรอาจจะยังอยู่ในช่วงที่ยังไม่มากกว่าค่าใช้จ่าย Teladoc เป็นหุ้นในธุรกิจ Healthcare อิงการเติบโตจากเทรนด์ Digital Health โดยสถานการณ์การระบาดของ Covid-19 ยิ่งเป็นการเร่งเทรนด์การเติบโตในธุรกิจดังกล่าว โดยมีการเร่งลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานฯ และความต้องการใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์ ซึ่งรายได้เติบโตในอัตราก้าวหน้าตลอดช่วง 5 ปีนี้ ในขณะที่คาดการณ์กำไรมีแนวโน้มที่ดีขึ้นในปี 2021 ซึ่งถ้าอ้างอิงจากการขยายฐานลูกค้าและฐานรายได้ และการพัฒนาจนต้นทุนการผลิตมีแนวโน้มลดลงจะทำให้ในอนาคตมีโอกาสที่กำไรจะเติบโตได้สูงมาก ซึ่งจะเห็นได้ว่า ปรัชญาการลงทุน ของ Ark Invest ไม่ได้มองแค่กำไรสุทธิ แต่ประเมินถึงแนวโน้มการเติบโตของบริษัทที่จะ Disrupt ธุรกิจที่มีอยู่เดิม
อันดับ 2 จับตา ‘โจ ไบเดน’ ปธน.สหรัฐฯคนใหม่ ผู้พลิกโฉมหน้าอเมริกาครั้งใหม่ และโลกจะเปลี่ยนไปอย่างไร เมื่อเอเชียและพลังงานสะอาดอาจเป็น Sunrise Asset ในปี 2021
ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯปี 2020 เป็นการเลือกตั้งที่มีดราม่ามากที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติการณ์ และได้สร้างสถิติใหม่หลายอย่าง เช่น การเลือกตั้งครั้งนี้มีการเลือกตั้งทางไปรษณีย์เกือบ 90 ล้านใบ ซึ่งมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ และมีผู้ลงคะแนนโหวตเกิน 140 ล้านคนเป็นครั้งแรกในรอบ 120 ปี ประธานาธิบดีสหรัฐฯที่มีอายุมากที่สุดในประวัติศาสตร์ด้วยอายุ 78 ปี และ “โดนัลด์ ทรัมป์” ผู้แพ้การเลือกตั้งที่ได้รับคะแนนโหวตกว่า 74 ล้านคะแนนมากกว่าผู้ที่ได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีที่เคยมีมาทุกสมัย
ผลการเลือกตั้งได้เปลี่ยนโฉมหน้าสหรัฐฯ จากสมัย “โดนัลด์ ทรัมป์” ที่เป็นลักษณะ De-Globalization กลับมาเป็น International Co-Operation และนโยบายของ “โจ ไบเดน” ที่สนับสนุนโครงการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นพลังงานสะอาด (Green Recovery) ด้วยวงเงิน 2 ล้านล้านดอลลาร์ ซึ่งจะเป็นตัวจุดประกายให้ภาคเอกชนเข้ามาลงทุนในพลังงานสะอาดมากขึ้น และคาดว่าจะมีเม็ดเงินประมาณ 20 – 25 ล้านล้านเหรียญไหลเข้าสู่การลงทุนในกลุ่มนี้ภายในปี 2050
รวมถึงอีกนโยบายที่โดดเด่น คือ โจ ไบเดนอาจจะนำสหรัฐฯ กลับมาเข้าร่วมโครงการ CPTPP หลังจากจีนได้ชิงปักหมุด การค้าในเอเชียด้วยการลงนามใน RCEP ทำให้โจ ไบเดน อาจต้องนำพาสหรัฐฯ กลับสู่ความยิ่งใหญ่ในเวทีโลกอีกครั้ง และถ้าหากไบ เดนนำสหรัฐฯเข้าสู่ CPTPP ได้สำเร็จเชื่อว่า น่าจะมีประเทศต่างๆที่เคยแสดงความสนใจในช่วงก่อนหน้านี้สนใจเข้าร่วมกลุ่มความร่วมมือ ทางการค้านี้และส่งผลให้ CPTPP อาจเป็นกลุ่มความร่วมมือทางการค้าที่มีขนาด GDP ของประเทศสมาชิกรวมกัน ส่งผลให้การลงทุนปี 2021 ในภูมิภาคเอเชียอาจเป็นที่น่าจับตามองของการลงทุนอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะกลุ่มของ Emerging Asia เช่น จีน เกาหลีใต้ ไต้หวัน ซึ่งเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมที่เป็น New Economy
อันดับ 3 จีนไม่กำหนดเป้า GDP เป็นครั้งแรกในรอบ 30 ปี
การประชุมสภาประชาชนจีนปีนี้มีประเด็นที่ทั่วโลกต่างให้ความสนใจ คือ นโยบายเศรษฐกิจของจีน รวมถึงท่าทีด้านการค้า ระหว่างประเทศกับสหรัฐฯ ซึ่งการประชุมในครั้งนี้ จีนสร้างเซอร์ไพรส์ โดยการไม่ตั้งเป้าหมายการเติบโตทางเศรษฐกิจหรือ GDP ปี 2020 ซึ่งเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 1990 ซึ่งหากย้อนไปดูข้อมูลในอดีตที่มีการประมาณการเศรษฐกิจของจีนกับตัวเลขจริงที่ออกมา ถือว่าแทบจะไม่ต่ำกว่ากรอบล่างที่ประเมินไว้ และใกล้เคียงกับตัวเลขที่ประมาณการเอาไว้
ช่วงเดือนพฤศจิกายนปี 2020 ทางด้าน Ant Group ว่าที่หุ้น IPO ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ด้วยมูลค่าตลาดประมาณ 34.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ใหญ่กว่า Alibaba ที่ออกหุ้น IPO เกือบ 1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งมี Alibaba เป็นผู้ถือหุ้นอยู่ 33% ได้ถูกยุติการ IPO ก่อนเข้าซื้อขายในตลาดเพียงไม่กี่วัน ด้วยเหตุผลที่ว่า Ant Financial ไม่ได้ทำตามกฎหมาย Online Lender แลต่อมาเดือนธันวาคม Alibaba ก็ถูกรัฐบาลจีนเข้าตรวจสอบด้วยข้อหาว่า Alibaba ผูกขาดตลาด ส่งผลให้หุ้นของ Alibaba ตกจากราคาสูงสุดที่ 317เหรียญ สู่จุดต่่ำสุดที่ 222 เหรียญ นับเป็นการปรับตัวลดลงสูงถึง 30% ในระยะเวลาเพียง 2 เดือน
ประเด็นที่ Alibaba และ Ant Financial ถูกโจมตีมีอยู่ 2 ประเด็นหลักด้วยกันคือ
1. ประเด็นเรื่องการผูกขาดตลาด
2. การให้บริการทางการเงิน โดยเฉพาะธุรกิจสินเชื่อที่ไม่ได้ปฏิบัติติตรงตามหลักกฎหมายของทางการ
และมีการพาดหัวข่าวในกลางเดือนธันวาคมว่าทางการจีนแนะนำให้ Ant Group กลับไปดำเนินธุรกิจ Payment Gateway เพียงอย่างเดียว ซึ่งตรงนี้เองหากเป็น Worst Case Scenario และส่งผลให้ Ant Group ต้องเหลือเพียงธุรกิจที่รับชำระเงิน จะส่งผลกระทบถึงรายได้หลัก ซึ่งมีสัดส่วนมากกว่า 50% และเป็นธุรกิจที่มีอัตราการเติบโตของรายได้ในระดับสูง ส่งผลทำให้ปัจจัยพื้นฐานของ Ant Group อาจเปลี่ยนไปได้ รวมถึงอาจจะกระทบราคาของ Alibaba
อย่างไรก็ตาม อาจจะเร็วเกินไปหากจะบอกว่าเหตุการณ์นี้จะจบอย่างไร แต่เชื่อว่าเหตุการณ์นี้หากเป็นกรณีร้ายแรงสุด อาจจะทำให้ Ant Group ต้องปรับตัวเพื่อให้ธุรกิจหลักยังคงสามารถดำเนินกิจการต่อไปได้โดย Spin Off บริษัทออกมาเพื่อป้องกันการผูกขาด และการตั้งสำรองและทำตามกฎระเบียบจากทางการ ซึ่งในระยาวแล้วจะเป็นประโยชน์ต่อ Ant Group และเสถียรภาพของอุตสาหกรรมการเงินของจีนในระยะยาว สิ่งที่น่าสนใจคือ ทางการจีนเองยังต้องการบริษัทที่เป็น National Winner ของแต่ละอุตสาหกรรมเพื่อเป็นตัวแทนจีนแข่งขันกับสหรัฐฯและระดับนานาชาติ
อันดับ 4 สว.ผู้แทนสหรัฐฯ ไฟเขียวร่างกฎหมาย ควบคุมบริษัทจีนในตลาดหุ้น
สหรัฐฯ ออกกฎหมายที่มีชื่อว่า Holding Foreign Companies Accountable Act ซึ่งจุดเริ่มต้นคือ บริษัทจีนถูกพูดถึงเรื่อง ปัญหาบรรษัทภิบาลและมาตรฐานบัญชีในจีนเองก็ยังไม่ได้มาตรฐานสากล โดยในร่างกฎหมายดังกล่าวระบุไว้ว่า
1. บริษัทต่างชาติที่จะเข้าจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหุ้นสหรัฐฯ จะต้องเปิดเผยผู้ถือหุ้นที่แท้จริงหรือว่าบริษัทที่จะเข้าจดทะเบียนนั้นถือหุ้นโดยรัฐบาลต่างชาติ
2.งบการเงินบริษัทจะต้องผ่านการตรวจสอบของ PCAOB เป็นเวลา 3 ปีติดต่อกัน ผลที่เกิดขึ้นอาจทำให้บริษัทสัญชาติจีนที่จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหุ้นสหรัฐฯมีสิทธิ์ถูกถอดออกจากตลาดได้ทันที ซึ่งปัจจุบัน บริษัทจีนชื่อดังซื้อขายในตลาดหุ้นสหรัฐ เช่น Alibaba, JD.com และ NetEast
ซึ่งบริษัทจีนหลายๆ แห่งได้กลับไปจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์จีนหรือฮ่องกง และปัจจุบันเริ่มมีบริษัทจีนที่จดทะเบียนในสหรัฐฯเริ่มเข้าสู่กระบวนการถอดถอนแล้ว ปัจจุบันมีบริษัทสัญชาติจีนที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์สหรัฐฯ (รวม OTC) ประมาณ 304 บริษัท และมีบริษัทที่เข้าสู่กระบวนการเพิกถอนแล้ว 3 บริษัท ได้แก่ China Mobile, China Telecom, China Unicom (Hong Kong) Limited ซึ่งส่วนใหญ่ที่ถูกเพิกถอนเข้าข่ายข้อที่ 1 คือ
การมีส่วนเกี่ยวข้องกับรัฐบาลต่างชาติ แต่เหตุผลที่แท้จริงในการเพิกถอนหุ้นจีนจากตลาดหุ้นสหรัฐฯ จะเป็นเพราะเรื่องธรรมาภิบาลและความโปร่งใสของงบการเงินดังเช่น เหตุผลนั้น หรือเพื่อเป็นการหยุดความร้อนแรงของบริษัทจีนที่ต้องการระดมทุนในสหรัฐฯก็ตาม แต่เชื่อได้ว่าในปี 2021 จำนวนบริษัทจีนที่อาจถูกเพิกถอนจะมีจำนวนเพิ่มขึ้น โดยภาพรวมแล้วอาจกระทบแค่บรรยากาศการลงทุน อย่างไรก็ตามภาพรวมบริษัทจีนที่เป็น Tech Company , Internet Company และ Innovation Company ยังคงมีความน่าสนใจและมีแนวโน้มในการเติบโตที่ดี
อันดับ 5 ตลาดหุ้นหลักสหรัฐฯ ทะยานทำ All Time High ราคาทองคำพุ่งสูงสุดและราคาน้ำมันดิ่งต่ำสุดในรอบ 20 ปี
สำหรับตลาดหุ้นสหรัฐฯถือว่าเป็น Good News on Bad News เนื่องจากดัชนีหลักไม่ว่าจะเป็น Nasdaq, S&P500 และ Dow Jones ต่างทำสถิติจุดสูงสุดใหม่ในช่วงปลายปีสิ้นปี 2020 จาก 3 ดัชนียังยืนอยู่จุดสูงสุดได้ ท่ามกลางมาตรการทางด้านการเงินและการคลัง รวมถึงความคาดหวังจากการกระตุ้นเศรษฐกิจ และอีกประเด็นคือ การที่ตลาดหุ้นสหรัฐฯมีบริษัทที่เป็นเศรษฐกิจใหม่และเทคโนโลยี ในสัดส่วนที่สูงส่งผลให้ดัชนีปรับตัวสูงขึ้น
สำหรับตลาดหุ้นสหรัฐฯยังคงเป็นตลาดที่น่าสนใจในปี 2021 แต่อาจจะต้องระวังเรื่องความผันผวน เนื่องจากมีประเด็นที่ต้องจับตาทั้งเรื่องนโยบายใหม่ของว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯคนใหม่ และจำนวนตัวเลขผู้ติดเชื้อ COVID-19 ขณะที่ทองคำอาจน่าสนใจในแง่ของสินทรัพย์ที่เอาไว้กระจายความเสี่ยงจากการลงทุน ส่วนน้่ำมันดิบอาจเป็นปีที่ราคาผันผวนอีกปี เนื่องจากความไม่แน่นอนจากการ Partially Lockdown และ Green Recovery นโยบายของประธานาธิบดีสหรัฐฯคนใหม่ “โจ ไบเดน” ที่มุ่งเน้นพลังงานสะอาด
ในส่วนของทองคำได้ทำสถิติจุดสูงสุดใหม่ในช่วงเดือนสิงหาคมปี 2020 ขานรับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ และการทำ QE ซึ่งทำให้ผู้ลงทุนคาดการณ์ถึงเงินเฟ้อในอนาคต ซึ่งทองคำเป็นสินทรัพย์ที่ป้องกันเงินเฟ้อได้เป็นอย่างดี ขณะที่น้่ำมันดิบทำสถิติต่่ำสุดในรอบเกือบ 20 ปี เป็นผลมาจากมาตรการล็อกดาวน์ ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจลดลง ส่งผลต่อความต้องการในการใช้น้่ำมันดิบที่ลดลง ในส่วนของน้่ำมันดิบ WTI ราคาติดลบทางเทคนิค เนื่องจากมีลักษณะพิเศษ คือ เป็นการส่งมอบทางกายภาพ และผู้ลงทุนที่ต้องรีบปิดสัญญา เพื่อไม่ต้องแบกรับภาระในการส่งมอบ จึงส่งผลให้ราคาติดลบ (ทำให้ผู้ซื้อได้ทั้งน้่ำมันแถมเงิน แต่ต้องรับภาระในการส่งมอบและเก็บเอง)
อันดับ 6 “FED” จัดหนัก! ทำ QE ไม่จำกัดวงเงิน คงดอกเบี้ยต่ำอย่างน้อย 3 ปี
อีกหนึ่งนโยบายจากผู้กำหนดนโยบาย (Policy Maker) แต่ละประเทศคิดไว้ ก็คือ นโยบายการเงิน ซึ่งต้องถือว่าการตอบสนองนโยบายทางการเงินรอบนี้เร็วกว่าครั้งอื่นๆที่เคยมีมา ซึ่งช่วยลดผลกระทบได้ค่อนข้างดี จะสังเกตได้จากการที่ธนาคารกลางหลายประเทศมีการประชุมฉุกเฉินเพื่อลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายโดยไม่ต้องรอประเมินตัวเลขเศรษฐกิจที่ออกมาดังเช่นการประชุมในทุกๆครั้ง รวมถึงประเทศไทยด้วย หรือแม้กระทั่งสหรัฐฯเอง เมื่อการทำ QE ที่มีการประกาศใช้ในรอบแรกยังไม่สามารถเรียกความเชื่อมั่นได้ ต่อมาจึงได้มีการประกาศ QE แบบไม่จำกัดวงเงิน และหากไปดูขนาดสินทรัพย์ที่ทางธนาคารกลางสหรัฐฯใช้อยู่ ณ ปัจจุบันถือได้ว่าสูงเป็นประวัติการณ์ทั้งด้านมูลค่าสินทรัพย์ เมื่อเทียบเป็นเปอร์เซ็นต์ต่อ GDP และในปี 2021 ขึ้นชื่อได้ว่าปีหน้าเราก็จะยังเห็นการเข้าซื้อสินทรัพย์ของ FED เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องอีกปี
ขณะที่การดำเนินนโยบายทางการเงินในอนาคตนั้น FED ได้ส่งสัญญาณชัดเจนว่าจะยังคงอัตราดอกเบี้ยฯระดับต่่ำไปอีกสักระยะ เมื่อเปรียบเทียบ Dot Plot เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ที่ทาง FED ส่งสัญญาณตรึงอัตราดอกเบี้ยฯถึงแค่ปี 2022 แต่ Dot Plot ล่าสุดได้มีการแสดงแนวโน้มตรึงอัตราดอกเบี้ยไปถึงปี 2023 และมีการส่งสัญญาณ (Forward Guide dance) ว่าไม่ต้องกังวลเรื่องอัตราเงินเฟ้อ เนื่องจากต่อจากนี้ FED จะใช้อัตราดอกเบี้ยนโยบายแบบเฉลี่ย ซึ่งจะแตกต่างจากเดิมคือ หากเงินเฟ้อเข้าใกล้กรอบเป้าหมายที่ 2% ทาง FED จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อ ซึ่งรอบนี้หาก FED ใช้นโยบายแบบเดิม การปรับขึ้นดอกเบี้ยอาจจะเร็วเกินไป ซึ่งอาจส่งผลให้เศรษฐกิจที่กำลังฟื้นตัวหยุดชะงักได้ จึงหันมาใช้อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ย ซึ่งจะใช้ระยะเวลานานขึ้นกว่าที่เงินเฟ้อเฉลี่ยจะถึงเป้าหมายที่จะปรับขึ้นดอกเบี้ย
อันดับ 7 The Shortest Bear Market ตลาดหมีที่สั้นที่สุดในประวัติศาสตร์ พร้อมงบประมาณขาดดุลเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจสูงเป็นประวัติการณ์
หากเราใช้เกณฑ์ของการปรับตัวลงของตลาดหุ้นโลกเป็นตัวบ่งชี้ว่าภาวการณ์ลงทุนนั้นเป็นแค่การปรับฐาน หรือเป็นภาวะตลาดหมี โดยใช้เกณฑ์ที่ติดลบ -20% ซึ่งหากตลาดปรับตัวลงน้อยกว่า 20% เป็นแค่การปรับฐาน (correction) และหากติดลบมากกว่า 20% เป็นภาวะตลาดหมี(Bear Market) จะพบว่า การเกิดเศรษฐกิจถดถอยส่งผลต่อภาวการณ์ลงทุนอย่างมาก และจากในอดีตไม่ว่าจะเป็น ช่วงของปี 2000 อย่าง บับเบิ้ลดอทคอม หรือวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ปี 2008 หากนับจากจุดต่่ำสุดของตลาดหุ้นกว่าที่ดัชนีจะกลับมายังจุดเดิมก่อนเกิดวิกฤติแต่ละรอบนั้นใช้ระยะเวลาแต่ละครั้งค่อนข้างนานตั้งแต่ 2-6 ปี แต่สำหรับเหตุการณ์การระบาด COVID-19 ในปี 2020 นั้น ดัชนีหุ้นโลกใช้ระยะเวลาเพียง 7เดือนในการกลับมายังจุดเดิมก่อนเกิดวิกฤติ
สาเหตุที่เป็นตลาดหมีที่สั้นที่สุด เนื่องจากการตอบสนองจาก Policy Maker และการใช้นโยบายการคลังเพื่อเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการระบาดของ COVID-19 และใช้ในการกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นการใช้งบประมาณการคลังสูงเป็นประวัติการณ์เช่นเดียวกัน ปี 2021 การกระตุ้นเศรษฐกิจจากทางภาครัฐของแต่ละประเทศ แม้ว่าอาจจะน้อยกว่าปี 2020 แต่ก็ยังถือว่าอยู่ในระดับสูงกว่าปกติ เนื่องจากเศรษฐกิจยังต้องการปัจจัยสนับสนุนจากทั้งทางด้านนโยบายการเงินและนโยบายการคลัง ส่งผลให้สินทรัพย์เสี่ยงยังคงน่าสนใจ โดยมีโอกาสที่จะเติบโตต่อเนื่องจากความคาดหวังต่อมาตรการสนับสนุนของแต่ละประเทศ
อันดับ 8 หุ้นไทยผันผวนหนัก งัดใช้ Circuit Breaker
ในปี 2020 ถือได้ว่าเป็นปีที่ผันผวนมากที่สุดของ SET Index เลยก็ว่าได้ ซึ่งช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมา หุ้นไทยถูกประกาศใช้ Circuit Breaker ถึง 3 ครั้ง ใน 3 สัปดาห์ และเป็นครั้งแรกหลังจากมีการปรับเกณฑ์ใหม่ จาก 10% เหลือ 8% ซึ่งปีนี้ถือได้ว่าเป็นปีที่ผันผวนมากที่สุด และปลายปี SET Index ปรับตัวสูงขึ้นจากการเคลื่อนไหวของหุ้นไม่กี่ตัว
ในช่วงสองเดือนสุดท้ายของปี 2020 ผลตอบแทนของ SET Index ปรับตัวขึ้นได้ค่อนข้างดี แต่ที่น่าสนใจคือเป็นการปรับตัวขึ้น สวนทางการปรับประมาณกำไรต่อหุ้นที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งตรงจุดนี้เองอาจต้องมีการวิเคราะห์ของการเคลื่อนไหวของหุ้นที่อยู่ในดัชนี
ซึ่งช่วง2เดือนสุดท้ายของปี หุ้นบางตัวอย่างเช่น Delta ปรับตัวขึ้นค่อนข้างจนทำให้มูลค่าตลาด (Market Cap) ในปี2020 เบียด ขึ้นมาเป็นอันดับ 3 ของ SET Index และการปรับตัวขึ้น/ลงของ Delta ส่งผลต่อการเคลื่อนไหวของดัชนี
ในปี 2021 นั้นการลงทุนในไทยโดยเฉพาะกองทุนรวมอาจจะต้องประเมินหลายด้านมากขึ้นเนื่องจากหากพิจารณาการปรับ ประมาณการกำไรของนักวิเคราะห์ที่ผ่านมานั้นยังคงไม่ได้เป็นบวกมากนัก และดัชนีปรับตัวขึ้นหรือลงจากการปรับตัวขึ้นของหุ้นไม่กี่ตัว ดังนั้น สิ่งที่ผู้ลงทุนมักจะพูดติดปากกันคือ ดัชนีขึ้นแต่พอร์ตการลงทุนไม่ได้ขึ้น นั้นก็เป็นเพราะสาเหตุที่ได้กล่าวมา การลงทุนในกองทุนรวมที่เป็น Active Fund อาจจะต้องประเมินถึงบริษัทที่อยู่ในกองทุนนั้นๆว่าเป็นบริษัทที่มีแนวโน้มในการเติบโตและการทำกำไรที่ดีหรือไม่ และกองที่เป็น Passive Fund อาจจะต้องดูในเรื่องของ Tracking Error ของกองทุนนั้นประกอบการตัดสินใจอย่างหนึ่งในการลงทุน
อันดับ 9 สหราชอาณาจักร - อียู ปิดดีล ‘Brexit’ สำเร็จ จบมหากาพย์ยืดเยื้อ 4 ปี
นับตั้งแต่การลงประชามติในปี 2016 กระบวนการออกจากสมาชิกสหภาพยุโรป (EU) ของสหราชอาณาจักรหรือ Brexit ได้ ยืดเยื้อถึง 4 ปี โดยมีเส้นตายการทำข้อตกลงกับ EU ให้ได้ภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2020 มิฉะนั้น อังกฤษจะต้องออกจากการเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป (EU) โดยไร้ข้อตกลง ซึ่งทำให้ความกังวลต่อภาวการณ์ลงทุนในภูมิภาคนี้ลดความเสี่ยงลงในประเด็นนี้ได้บ้าง ซึ่งประเด็นหลักของข้อตกลงมีสาระ สำคัญที่น่าสนใจดังนี้
1. เขตปลอดภาษีทางการค้า (FTA) และไม่จำกัดโควตาการนำเข้า-ส่งออก
2. สิ้นสุดการเคลื่อนย้ายแรงงานเสรีระหว่างประชาชนในสหราชอาณาจักรกับสหภาพยุโรป ส่งผลให้ประชาชนชาวอังกฤษไม่สามารถทำงาน เรียนต่อ อยู่อาศัย หรือเริ่มต้นทำธุรกิจใน EU ได้โดยไม่มีวีซ่า
3. เริ่มการจัดตั้งจุดตรวจชายแดนระหว่าง EU กับอังกฤษ แต่อย่างไรก็ตามจะไม่มีการจัดตั้งด่านชายแดนถาวร (hard border) ระหว่างพื้นที่ไอร์แลนด์เหนือกับประเทศไอร์แลนด์ ซึ่งทำให้ความเสี่ยงเรื่องความเข้มงวดทางการขนส่งและระยะเวลาการจัดส่งสินค้าลดลง
4. น่านน้่ำการประมงของอังกฤษจะค่อยๆ ทยอยกลับคืนสู่อังกฤษ 100% ภายในเวลา 5 ปีครึ่ง โดยจะทยอยลดโควตาเรือประมงของ EU ที่เข้ามาจับปลาในน่านน้่ำได้ในแต่ละปี เริ่มปีแรกลดลง 15%
อย่างไรก็ตามสำหรับการลงทุนในปี 2021 การลงทุนในยุโรปอาจจะยังมีความเสี่ยงเรื่องของภาวะเศรษฐกิจที่อาจจะฟื้นตัวช้า เนื่องจากการระบาดในภูมิภาคนี้ยังคงมีต่อเนื่อง และเกิดการล็อกดาวน์รอบสอง ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนและมีการขยายการ ล็อกดาวน์ต่อเนื่องและในบางประเทศอย่างเช่น ฝรั่งเศสที่มีการประกาศใช้เคอร์ฟิวส์ตั้งแต่กลางเดือนธันวาคมปี 2020 ลากยาวข้ามปีจนถึงอย่างน้อย 20 ม.ค. 2021 ประกอบกับมาตรการทางด้านการคลังที่แตกต่างกัน ไม่เหมือนนโยบายทางการเงินที่มีธนาคารกลางยุโรปหรือ ECB เป็นผู้กำหนดนโยบาย
อันดับ 10 กนง.หั่นดอกเบี้ยเหลือ 0.5% ทำลายสถิติต่ำสุดเป็นประวัติการณ์
คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) แถลงผลการประชุมกนง. ในวันที่ 20 พฤษภาคม 2563 ให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ต่อปีจาก 0.75% เป็น 0.50% ต่อปี ซึ่งถือเป็น New Low Record หรือจุดต่่ำสุดใหม่ตั้งแต่ประเทศไทยมีการกำหนดอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้นมา กลุ่มกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งประเภทสินทรัพย์ที่ผู้ลงทุนยกให้เป็นสินทรัพย์ที่เป็นห่านทองคำ เนื่องจากในช่วง 3 - 5 ปีที่ผ่านมา สามารถจ่ายปันผลได้ในระดับ 4 - 6% ซึ่งถือว่าเป็นระดับที่น่าสนใจ และสร้างผลตอบแทนรวมในระดับ 2 หลัก ซึ่งในปี 2020 นั้น สินทรัพย์กลุ่มนี้ปรับตัวลงไปค่อนข้างมากจากผลกระทบการล็อกดาวน์
ส่วนหนึ่งของการวิเคราะห์สินทรัพย์ประเภท Property Fund / REITs นอกจากปัจจัยพื้นฐาน เช่น พวกอัตราการเช่า การปรับขึ้นค่าเช่า ระยะเวลาสัญญาการเช่า ที่จะส่งผลต่อรายรับความมั่นคงของสินทรัพย์และความสามารถในการจ่ายปันผลแล้ว ยังมี ปัจจัยอื่นที่นักวิเคราะห์ชอบนำมาพิจารณาถึงความน่าสนใจของกลุ่มสินทรัพย์ ก็คือ Yield Spread ซึ่งเป็นส่วนต่างของอัตราเงินปันผลและผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปี ซึ่งเป็นตัวสะท้อนส่วนชดเชยความเสี่ยง หากส่วนต่างอยู่ในระดับสูงสะท้อนถึงความน่าสนใจในการลงทุนของสินทรัพย์
ซึ่งหลังจากจบไตรมาสที่ 1 สินทรัพย์กลุ่มนี้เริ่มปรับตัวขึ้นมาจากการประเมินว่าราคาปรับตัวลงไปมากกว่าปัจจัยพื้นฐาน และ จากความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจส่งผลให้กนง.ลดอัตราดอกเบี้ยฯ ประกอบกับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล 10 ปีของไทย ปรับตัวลงต่่ำกว่ำ 1.5% ส่งผลให้ Yield Spread เพิ่มขึ้น ส่งผลต่อความน่าสนใจในสินทรัพย์กลุ่มนี้ แต่ก็ยังไม่สามารถทำให้สินทรัพย์กลุ่มนี้กลับมาใกล้ระดับเดิมก่อนเกิด COVID-19 และในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปีนี้เกิดความไม่แน่นอนทางการเมือง จากการประท้วงตามแนวรถไฟฟ้าเกิดการปิดพื้นที่ต่างๆในวันที่มีการชุมนุมทางการเมือง ส่งผลให้กลุ่ม PF/REITs ในกลุ่มต่างๆไม่ว่าจะเป็น ค้าปลีก อาคาร สำนักงาน โรงแรม และกลุ่มอุตสาหกรรมในไทยได้รับผลกระทบเป็นระลอกที่สอง
ผลกระทบต่อการลงทุนในปี2021 นั้นประเมินว่า จากระดับราคาปัจจุบันของ PF/REITs ในไทยที่ปรับตัวลงกว่า 34% จาก จุดสูงสุด และหากนับเฉพาะปี2020 ปรับตัวลงไปกว่า 28% และในฝั่งของ REITs สิงคโปร์ระดับราคาปัจจุบันของปรับตัวลงกว่า 12% จากจุดสูงสุด ถือว่าสินทรัพย์กลุ่มนี้ยังคง Laggard สินทรัพย์กลุ่มอื่นพอสมควร ถึงแม้สินทรัพย์กลุ่มนี้จะยังถูกกดดันเรื่องของการ ปรับเพิ่มค่าเช่าที่อาจทำได้ค่อนข้างยากในปี2021 แต่หากประเมินด้านปัจจัยต่าง ๆ เช่น อัตราการเช่าที่ยังอยู่ในระดับสูง ประเด็นเรื่อง วัคซีน และนโยบายการค้ากับต่างประเทศโดยเฉพาะฝั่งเอเชียทำให้สินทรัพย์กลุ่มนี้ ดูน่าสนใจเพิ่มขึ้น ประกอบกับราคาที่ปรับตัวลงมา ค่อนข้างมากจากระดับสูงสุด ทำให้ความเสี่ยงจากขาลง (downside risk) อาจน้อยกว่าสินทรัพย์เสี่ยงอื่นโดยเปรียบเทียบ
ที่มา : TMBAM Eastspring