ธปท.เผยเศรษฐกิจเม.ย.64รับผลกระทบจากโควิดระลอก3 แต่ส่งออกยังเพิ่มช่วยพยุง- จับตา “ขาดแคลนปัจจัยการผลิต” ห่วงกระทบส่งออก-ก่อสร้าง เตรียมปรับประมาณการเศรษฐกิจใหม่มิ.ย.นี้
นางสาวชญาวดี ชัยอนันต์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)โดยระบุว่า เครื่องชี้เศรษฐกิจไทยในเดือนเมษายน 2564 เริ่มเห็นผลกระทบจากการระบาดระลอก3 ของ COVID-19 แล้ว แต่ยังมีการส่งออกยังปรับเพิ่มต่อเนื่อง ตามอุปสงค์ของประเทศคู่ค้ามาช่วยพยุงทั้งภาคเศรษฐกิจโดยรวมและการผลิตอุตสาหกรรม ซึ่งมีประเด็นที่ต้องติดตามเพิ่มนอกจากเรื่องตลาดแรงงาน คือ เรื่องพัฒนาการการแพร่ระบาดและมาตรการจะส่งผลต่อกิจกรรททางเศรษฐกิจมากน้อยแค่ไหน การกระจายวัคซีนจะกระจายได้มากน้อยและจะส่งผลดีต่อให้เศรษฐกิจกลับมาฟื้นได้ และปัจจัยขาดแคลนวัตถุดิบจะส่งผลต่อแนวโน้มการผลิต การส่งออกในระยะต่อไปหรือไม่
ต่อข้อถามในประเด็น การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยต้องใช้เวลา ซึ่งอาจต้องรอถึงไตรมาสแรกของปี 2566 กว่าจะกลับมาสู่ระดับก่อนโควิดนั้น ธปท.มีการทบทวนการประมาณการ โดยการประมาณการว่าเศรษฐกิจไทยจะกลับสู่ระดับก่อนโควิดประมาณ ไตรมาส2-3ปี2565 เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ถัดมาได้มีการทบทวนทั้งการแพร่ระบาดรอบที่3 ความรุนแรง และการเปิดประเทศที่อาจจะล่าช้าออกไป อาจทำให้การฟื้นตัวช้าออกไปอีกโดยล่าสุดประมาณประมาณไว้ในไตรมาส1ปี2566จะกลับสู่ระดับก่อนโควิด แต่ธปท.จะเผยแพร่ประมาณการเศรษฐกิจใหม่ภายในเดือนมิถุนายนนี้ ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์และมุมมองในอนาคต
สำหรับเครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชนและกิจกรรมในภาคบริการปรับลดลงจากเดือนก่อนตลาดแรงงานยังคงเปราะบางโดยความกังวลของกลุ่มผู้ประกอบอาชีพอิสระเพิ่มขึ้น ขณะที่ความต้องการจ้างงานใหม่ลดลงจากเดือนมีนาคม แม้ว่าเมษายนจะมีวันทำงานน้อยยังความต้องการยังน้อย หากแรงงานถูกเลิกจ้างอาจจยิ่งหางานได้ยากอีก ซึ่งแนวโน้มการจ้างงานยังเป็นตัวแปรที่ต้องติดตามต่อเนื่อง ส่วนเครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชนหดตัว 3.1% มาจากการลงทุนเครื่องจักรและอุปกรณ์ ทั้งการนำเข้าสินค้าทุนและยอดจำหน่ายเครื่องจักรในประเทศสอดคล้องความเชื่อมั่นภาคธุรกิจ และผู้บริโภคลดลง เพราะมาตรการหมดลงในมีนาคม(คนละครึ่งเฟส2,การเพิ่มวงเงินบัตรสวัสดิการ) ขณะที่เครื่องชี้ด้านก่อสร้างเพิ่มขึ้น(วัสดุและที่อยู่อาศัยเปิดขายใหม่)
อย่างไรก็ตาม การใช้จ่ายภาครัฐที่ไม่รวมเงินโอนหดตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน หลักๆมาจากฐานสูงในปีก่อน ซึ่งเร่งเบิกจ่ายหลังพ.ร.ก.งบประมาณปี2563ประกาศใช้ โดยการใช้จ่ายประจำของรัฐบาลกลางขยายตัว 0.9% รายจ่ายลงทุนของรัฐบาลกลางหดตัว 7.7%และรายจ่ายลงทุนของรัฐวิสาหกิจ -13.1% แต่หากเทียบค่าเฉลี่ย 3ปีย้อนหลังยังค่อนข้างดี นอกจากนี้การส่งออกยังคงช่วยพยุงเศรษฐกิจไทยในช่วง 2-3เดือนที่ผ่านมา โดยการส่งออกเดือนเมษายนปรับดีขึ้น 1.1% จากเดือนก่อน มาจากการฟื้นตัวอุปสงค์ของประเทศคู่ค้า โดยสินค้าเกษตร ทั้งผลไม้และเกษตรแปรรูป(ถุงมือยาง,เครื่องใช้ไฟฟ้า,เครื่องจักรและอุปกรณ์) แต่ในส่วนของเคมีภัณฑ์และยานยนต์ปรับลดลงเพราะได้รับปัจจัยชั่วคราวและเร่งผลิตช่วงก่อนหน้า
ในส่วนดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุล 1.3พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นการขาดดุลมากกว่าเดือนมีนาคม 0.8มาจากดุลการค้าที่เกินดุลลดลง เพราะยอดการนำเข้าสูงกว่าการส่งออก ดุลบริการรายได้ และดุลเงินโอนติดลบ เนื่องจากรายได้ภาคท่องเที่ยวน้อย และค่าขนส่งที่อยู่ในระดับสูงด้วย ด้านค่าเงินบาทอ่อนค่าลงและอ่อนค่าเกือบที่สุดเมื่อเทียบสกุลเงินคู่ค้าคู่แข่ง ประกอบกับ การไหลออกส่งคืนเงินปันผลของบริษัทต่างชาติและการขายหลักทรัพย์อย่างต่อเนื่องของนักลงทุนต่างชาติ
“เดือนเมษายนเงินบาทอ่อนค่าลงมากเมื่อเทียบกับเดือนพ.ค.เงินบาทกลับแข็งค่าขึ้นเล็กน้อย ขณะเดียวกันเดือนนี้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลง เพราะนักลงทุนคลายกังวลหลังสหรัฐไม่เพิ่มความเข้มงวดของมาตรการทำให้มีความมั่นใจออกไปลงทุนประเทศต่างๆ มากขึ้น แต่ไทยยังไม่ได้อานิสงส์ดัชนีค่าเงินบาทยังอ่อนค่า”
ส่วนอัตราเงินเฟ้อทั่วไปปรับเพิ่มขึ้น 3.4%จาก - 0.8%เดือนก่อน เป็นผลจากส่วนของฐานที่ต่ำปีก่อน พลังงาน ราคาน้ำมันต่ำมาก อีกทั้งปีนี้หมดมาตรการบรรเทาค่าครองชีพ (ช่วยเรื่องค่าน้ำค่าไฟ) คาดว่าจะเป็นผลชั่วคราว และเงินเฟ้อพื้นฐานเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนเล็กน้อย
แนวโน้มเศรษฐกิจกิจกรรมเดือนพฤษภาคมยังได้รับผลกระทบจากการระบาด ,จำนวนผู้ติดเชื้อยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ขณะที่ช่วงเดือนพฤษภาคมเริ่มมีการฉีดวัคซีนซึ่งต้องรอผลว่าจะทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจสามารถฟื้นตัวมากน้อยเพียงไรในระยะต่อไป
สิ่งที่ธปท.จับตาคือ การขาดแคลนปัจจัยการผลิต โดยกังวลว่าจะส่งผลต่อการส่งออกหรือการก่อสร้างในระยะข้างหน้า ซึ่งผู้ประกอบการประเมินว่าการขาดแคลนตู้คอนเทรนเนอร์อาจยืดเยี้อถึงปลายปี2564 ทำให้ต้นทุนขนส่งสูงขึ้นในกลุ่มสินค้าสิ่งทอ เครื่องนุ่งห่มหรืออาหารแปรรูป ขณะที่บางกลุ่มทางผู้ซื้อชะลอคำสั่งซื้อ เช่น ชิ้นส่วนยานยนต์หรือเครื่องมือแพทย์ที่ใช้ยางพารา และการขาดแคลน Semiconductor เกิดจากกำลังการผลิตลดลงเนื่องจากภัยแล้ง และใช้เวลาในการผลิตชดเชย ซึ่งผู้ประกอบการมองว่าอาจจะยืดเยื้อไปถึงต้นปี2565 รวมถึงผลิตภัณฑ์จากเหล็ก เนื่องจากจีนปิดโรงงานที่ไม่ได้มาตรฐานจากสิ่งแวดล้อม โดยจำกัดการส่งออกเหล็กทำให้ราคาเหล็กตลาดโลกปรับสูงขึ้นสถานการณ์อาจยืดเยื้อถึงไตรมาสที่3 ซึ่งต้นทุนเพิ่มขึ้นของเหล็กจะส่งผลต่อธุรกิจก่อสร้างโดยเฉพาะรายเล็ก แต่ผู้ค้าวัสดุก่อสร้างยังได้รับประโยชน์