ศูนย์วิจัยกสิกรไทยจับตา 8ปัจจัย ชี้ทิศเงินบาทและดัชนีหุ้นสัปดาห์หน้าระหว่างวันที่ 21-25มิ.ย.กรอบการเคลื่อนไหวของอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทที่ 31.20-31.60บาท/ดอลลาร์ ส่วนบล.กสิกรไทยคาดดัชนีหุ้นแนวรับที่1,600 และ 1,585 จุด ขณะที่แนวต้านอยู่ที่ 1,625 และ 1,635 จุดตามลำดับ
เมื่อวันศุกร์(18 มิ.ย.)ที่ผ่านมา เงินบาทอยู่ที่ระดับ 31.43 เทียบกับระดับ 31.08 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในวันศุกร์ก่อนหน้า (11 มิ.ย.) สำหรับสัปดาห์หน้าระหว่างวันที่ 21-25มิถุนายน 2564 ธนาคารกสิกรไทยมองกรอบการเคลื่อนไหวของอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทที่ 31.20-31.60บาท/ดอลลาร์ ขณะที่ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ ตัวเลขการส่งออกของไทยเดือนพ.ค. , ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.) ในวันที่ 23มิถุนายน และประมาณการเศรษฐกิจของไทย สถานการณ์และแผนกระจายวัคซีนต้านโควิดข19 ในประเทศ
ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐที่สำคัญประกอบด้วย ยอดขายบ้านมือสอง ยอดขายบ้านใหม่ ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทน รายได้รายจ่ายส่วนบุคคลและดัชนีราคา PCE/Core PCE Price Index เดือนพ.ค. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนมิ.ย. และตัวเลขจีดีพีไตรมาส 1/2564 (ครั้งที่ 3) นอกจากนี้ตลาดยังรอติดตาม ผลการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางอังกฤษ ดัชนี PMI เดือนมิ.ย. (เบื้องต้น) ของยูโรโซน อังกฤษ และสหรัฐอเมริกา และการกำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ LPR ของธนาคารกลางจีนด้วยเช่นกัน
สำหรับดัชนี SET(เมื่อ18มิ.ย.) ปิดที่ระดับ 1,612.98 จุด ลดลง 1.44% จากสัปดาห์ก่อน ขณะที่มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ 92,767.00 ล้านบาท ลดลง 6.28% จากสัปดาห์ก่อน ส่วนดัชนี mai เพิ่มขึ้น 0.11% มาปิดที่ 505.51จุด
บริษัทหลักทรัพย์(บล.)กสิกรไทย จำกัด มองดัชนีหุ้นไทยระหว่างวันที่ 21-25มิถุนายน 2564 หุ้นไทยมีแนวรับที่1,600 และ 1,585 จุด ขณะที่แนวต้านอยู่ที่ 1,625 และ 1,635 จุดตามลำดับ โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินหรือ กนง. (23 มิ.ย.) ตัวเลขส่งออกเดือนพ.ค.ของไทย สถานการณ์โควิด 19 ตลอดจนความคืบหน้าในการกระจายวัคซีนโควิด 19 ในประเทศและต่ำงประเทศ รวมถึงรายละเอียดเกี่ยวกับแผนการเปิดเมือง
ส่วนข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญได้แก่ ยอดขายบ้านใหม่ ยอดขายบ้านมือสอง ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทน อัตราเงินเฟ้อที่วัดจาก Core PCE Price Index และรายได้และรายจ่ายส่วนบุคคลเดือนพ.ค. ตลอดจนดัชนี PMI ภำคกำรผลิตและบริกำรเดือนมิ.ย. (เบื้องต้น) ขณะที่ปัจจัยต่างประเทศที่สำคัญอื่นๆ ได้แก่ ดัชนี PMI ภาคการผลิต และบริการ เดือนมิ.ย. (เบื้องหน้า) ของญี่ปุ่น และยูโรโซน รวมถึงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้LPR เดือนมิ.ย. ของจีน