หลังจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)เปิดให้สถาบันการเงินยื่นคำขอสินเชื่อฟื้นฟู เมื่อ 26เมษายน 2564ตามที่ พระราชกำหนด(พ.ร.ก.)การให้ความช่วยเหลือและฟื้นฟูผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ.2564 (พ.ร.ก.ฟื้นฟู) วงเงินไม่เกิน 3.5 แสนล้านบาท ประกอบด้วยมาตรการสนับสนุนการให้สินเชื่อฟื้นฟูวงเงิน 2.5แสนล้านบาทและโครงการพักทรัพย์พักหนี้ (Asset Warehousing) วงเงิน 1แสนล้านบาท
ธปท.รายงานความคืบหน้าโครงการสินเชื่อฟื้นฟู ล่าสุดวันที่ 5กรกฎาคม 2564 มียอดอนุมัติจำนวน 66,898ล้านบาทล้านบาท จำนวนผู้ได้รับความช่วยเหลือ 21,929ราย วงเงินอนุมัติเฉลี่ย 3.1ล้านบาทต่อราย แบ่งตามวงเงินสินเชื่อเดิมสำหรับเอสเอ็มอีได้รับอนุมัติสินเชื่อ 31,629ล้านบาทคิดเป็น 47.3% มีลูกหนี้ที่ได้รับวงเงิน 9,674รายคิดเป็นสัดส่วน 44.1% รองลงมา เป็นธุรกิจรายใหญ่ จำนวนเงิน 27,464ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 41.1% ลูกหนี้ที่ได้รับความช่วยเหลือ 1,678รายประมาณ 7% และไมโครได้รับอนุมัติจำนวน 5,955ล้านบาท คิดเป็น 8.9%มีจำนวนลูกหนี้ที่ได้รับความช่วยเหลือ 9,891รายมีสัดส่วน45.1%
อย่างไรก็ตาม หากแยกตามประเภทของธุรกิจพบว่า ธุรกิจพาณิชย์ได้รับอนุมัติสินเชื่อ32,661ล้านบาทคิดเป็นสัดส่วน 48.8% จำนวนราย 11,680รายสัดส่วน 53.3% รองลงมาเป็นอุตสาหกรรมการผลิต วงเงิน 16,108ล้านบาท สัดส่วน 24.1%จำนวน 3,327รายสัดส่วน 15.2% ตามด้วยภาคบริการ วงเงิน 6,544ล้านบาทสัดส่วน 9.8%จำนวนราย 3,192รายสัดส่วน 14.6% ภาคก่อสร้าง วงเงิน 6,112ล้านบาทสัดส่วน 9.1% จำนวน 2,126รายสัดส่วน 9.7%และสาธารณูปโภควงเงิน2,305ล้านบาทคิดเป็นสัดส่วน 3.4%จำนวน 788รายสัดส่วน 3.6%
ทั้งนี้ มาตรการสินเชื่อฟื้นฟูจะครอบคลุมถึงลูกหนี้รายใหม่ ประกอบด้วย ไมโครเอสเอ็มอี วงเงินสินเชื่อเดิมไม่เกิน 5ล้านบาท, ผู้ประกอบการธุรกิจเอสเอ็มอีวงเงินสินเชื่อเดิม 5-50ล้านบาท และสินเชื่อธุรกิจรายใหญ่ วงเงินสินเชื่อเดิม 50-500ล้านบาท