นางธัญญนิตย์ นิยมการ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงิน 2 ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผย ภายในไตรมาสที่ 3 ปีนี้ ธปท.จะประกาศแนวปฎิบัติให้ธนาคารทบทวนรายการค่าธรรมเนียมต่างๆ ซึ่งจากทีมได้สำรวจมีจำนวนมากกว่า 300รายการ ขณะเดียวกันธปท.จะให้ธนาคารเปิดเผยรายการค่าธรรมเนียมทุกประเภทบนเว็บไซต์ของแต่ละธนาคาร โดยธปท.จะดึงข้อมูลดังกล่าวมาบนเว็บไซต์ของธปท.
ดังนั้น ในระยะต่อไป ก่อนที่ลูกหนี้จะเลือกใช้บริการกับธนาคารจะสามารถดูข้อมูลเพื่อเปรียบเทียบค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมแต่ละประเภท เพื่อตัดสินใจเลือกใช้บริการกับธนาคารไหน ทั้งนี้ 2-3ปีที่ผ่านมา ธปท.ได้เริ่มเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์ทางการเงินโดยทยอยลงเว็บไซต์ เช่น เงินฝาก สินเชื่อ บัตรเครดิต แต่ธปท.จะขยายมากขึ้นในปีนี้ โดยจะนำค่าธรรมเนียมกว่า 300รายการทยอยลงเว็ยไซต์เป็นเฟสๆเพื่อตรวจสอบความถูกต้อง ขณะเดียวกันธนาคารก็ต้องตั้งต้นข้อมูลเหล่านี้ให้ธปท.
อย่างไรก็ตาม การประกาศแนวปฎิบัติในไตรมาส 3 นั้น ธปท.จะวางกรอบให้ธนาคารพาณิชย์เปิดเผยค่าธรรมเนียมกว่า 300รายการบนเว็บไซต์ของแต่ละธนาคารเพื่อให้ประชาชนได้มีการเปรียบเทียบ ที่ผ่านมาได้ดำเนินการแล้วในส่วนของเงินฝาก สินเชื่อบัตรเครดิต สินเชื่อบุคคล โดยจะขยายเพิ่มรายการให้มากขึ้นโดยทะยออกเป็นเฟส
“ไตรมาส 3 ธปท.จะทำเป็นแบบ Principle based ประมาณ 7-8ข้อเพื่อเป็นกรอบหรือแนวปฎิบัติคล้ายมาร์เก็ต ซึ่งจะเป็น rule -based ให้แบงก์สามารถดำเนินการตามความเหมาะสม โดยธปท.จะไม่เข้าไปกำหนดกฎเกณฑ์แต่สิ่งที่ธปท.จะเน้นในปีนี้คือ จะขยายเพิ่มมากขึ้นเรื่องค่าธรรมเนียม นอกจากธนาคารประกาศเปิดเผยการคิดค่าธรรมเนียมชัดเจนแล้ว ต่อไปธนาคารต้องสะท้อนต้นทุนกับรายการที่เกิดขึ้นจริงด้วย”
นางธัญญนิตย์ นิยมการ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงิน 2 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึงความคืบหน้าภารกิจการแก้หนี้ภาคประชาชน โดยระบุว่า ที่ผ่านมาธปท.ช่วยเหลือลูกหนี้แต่ละกลุ่มที่ดำเนินการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ตั้งแต่ลูกหนี้ปกติ ลูกหนี้เริ่มมีปัญหาหรือขาดสภาพคล่องหรือกลายเป็นเอ็นพีแอลรวมถึงกระบวนการทางศาล โดยคืบหน้าณ สิ้นเดือนพ.ค.2564 ลูกหนี้รายย่อยที่เข้ามาตรการระยะ1-3 คงเหลือ 1.6ล้านล้านบาท คิดเป็นจำนวน 4.4ล้านบัญชี ซึ่งในจำนวนี้เป็น บัตรเครดิตและส่วนบุคคลราวประมาณ 8แสนล้านบาท 3.4ล้านบัญชี สินเชื่อที่อยู่อาศัย 6แสนล้าน 5แสนบัญชีและเช่าซื้อ 2แสนล้านบาท 5แสนบัญชี
โครงการคลินิกแก้หนี้ ณ มิถุนายนจำนวน 19,000 คนเฉลี่ยคน ละ 3บัญชี รวมกว่า 60,500บัญชี โดยสามารถให้ความช่วยเหลือได้ 5,000ล้านบาท ซึ่งอัตราความสำเร็จสูงประมาณ 90% โครงการทางด่วนแก้หนี้ มีลูกหนี้ใช้บริการกว่า 2แสนราย อัตราสำเร็จกว่า 70% มหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้ มีลูกหนี้เข้ามา (30มิ.ย.) จำนวน 685,809บัญชี เฉลี่ยคนละ 3บัญชี โดยให้ความช่วยเหลือแล้ว 193,074แสนล้านบัญชี ประสบความสำเร็จกว่า 72.15% จากที่ผ่านเกณฑ์ 267,594บัญชีติดต่อไม่ได้ 121,975บัญชี ระหว่างดำเนินการ 216,227บัญชี ลูกหนี้เช่าซื้อ 17,642บัญชี อัตราสำเร็จ 77.65% จากลูกหนี้ที่เข้าเงื่อนไข 6,639บัญชี ติดต่อไม่ได้ 1,413บัญชี อยู่ระหว่างดำเนินการ 9,585บัญชี ทั้งนี้เมื่อวันที่ 19ก.ค. จำนวนลงทะเบียนสะสม 22,652บัญชี
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ธปท.ต้องแก้หนี้ครัวเรือนในอนาคตเพื่อให้เกิดความยั่งยืนนั้น ได้แก่ การทำโครงสร้างพื้นฐานด้านข้อมูลเครดิตบูโรให้ครบถ้วน โดยพยายามดึงให้เจ้าหนี้ที่ไม่อยู่ภายในกำกับของธปท.เข้ามาด้วย เช่น สหกรณ์ 2. ผลักดันให้เจ้าหนี้รับผิดชอบต่อการปล่อยกู้โดยไม่ทำให้ลูกหนี้ก่อหนี้จนเกินตัว 3.การให้ความรู้ และคำแนะนำด้านการเงินต่อเนื่องครบวงจร เป็นการแก้หนี้แบบยั่งยืน 4.ส่งเสริมให้มีช่องทางเข้าถึงแหล่งเงินหรือช่องทางกู้ใหม่ เช่น การกู้ยืมเงินระหว่างบุคคลต่อบุคคล หรือ P2P Lending (P2P) เป็นต้น