ธปท.อนุมัติสินเชื่อฟื้นฟู 7.8หมื่นล้านนบาท จำนวน 25,651 รายวงเงินอนุมัติเฉลี่ย 3.0ล้านบาทต่อรายครอบคลุม 9ประเภทธุรกิจ “ธุรกิจพาณิชย์ อุตสาหกรรมการผลิต บริการ ก่อสร้าง สาธารณูปโภค เกษตรและการป่าไม้ อสังหา การเหมืองแร่และย่อยหิน อื่นๆ”
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)รายงานความคืบหน้าสินเชื่อฟื้นฟู ตามพระราชกำหนด(พ.ร.ก.) การให้ความช่วยเหลือมาตรการสินเชื่อฟื้นฟู ณ วันที่ 19กรกฎาคม2564 ยอดอนุมัติรวม 78,012ล้านบาทจำนวนลูกหนี้ที่ได้รับความช่วยเหลือ 25,651 ราย วงเงินเฉลี่ย 3.0ล้านบาทต่อราย
สำหรับสินเชื่อฟื้นฟูที่ได้รับอนุมัติแบ่งตามวงเงินสินเชื่อเดิม ได้แก่ ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีวงเงิน 36,537ล้านบาทคิดเป็นสัดส่วน 46.8% ลูกหนี้ที่ได้รับสินเชื่อ จำนวน 11,268รายคิดเป็นสัดส่วน 43.9%
รองลงมา เป็นธุรกิจรายใหญ่ จำนวนเงิน 31798ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 40.8% ลูกหนี้ที่ได้รับความช่วยเหลือ จำนวน 2,001รายคิดเป็นสัดส่วน 8% ส่วนลูกหนี้ไมโครได้รับสินเชื่อ 6,959ล้านบาท คิดเป็น 8.9%ลูกหนี้ที่ได้รับความช่วยเหลือจำนวน 11,343รายมีสัดส่วน44.2% และลูกหนี้ใหม่2,718ล้านบาทสัดส่วน 5%จำนวน 1,039รายคิดเป็นสัดส่วน 4.1%
สำหรับสินเชื่อฟื้นฟูที่อนุมัติแล้วเมื่อแยกตามประเภทของธุรกิจพบว่า ธุรกิจพาณิชย์จำนวนเงิน 37,552ล้านบาทคิดเป็นสัดส่วน 48.1% มีผู้ประกอบการจำนวน 13,582รายสัดส่วน 52.9% รองลงมาอุตสาหกรรมการผลิต วงเงิน 18,592ล้านบาท สัดส่วน 23.8%จำนวน 3,921รายสัดส่วน 15.3% ภาคบริการ ได้รับวงเงิน 8,150ล้านบาทสัดส่วน 10.4%จำนวนราย 3,774รายสัดส่วน 14.7%
ภาคก่อสร้าง วงเงิน 7,270ล้านบาทสัดส่วน 9.3% จำนวน 2,488รายสัดส่วน 9.7% สาธารณูปโภควงเงิน 2,743ล้านบาทคิดเป็นสัดส่วน 3.5%จำนวน 932รายสัดส่วน 3.6% เกษตรและการป่าไม้ 1,652ล้านบาท จำนวน 475ราย ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอสังหาริมทรัพย์ 1,542ล้านบาท สัดส่วน 3.5%จำนวน 354ราย การเหมืองแร่และย่อยหิน390ล้านบาท จำนวน 78รายและอื่น 11ล้านบาท จำนวน 10ราย
ทั้งนี้ พ.ร.ก.การให้ความช่วยเหลือมาตรการสินเชื่อฟื้นฟู เริ่มเปิดให้ธนาคารการเงินยื่นคำขอสินเชื่อเมื่อวันที่ 26มิถุนายน 2564 โดยครอบคลุมลูกหนี้รายใหม่ ไมโคร วงเงินสินเชื่อเดิมไม่เกิน 5ล้านบาท, ผู้ประกอบการธุรกิจเอสเอ็มอีวงเงินสินเชื่อเดิม 5-50ล้านบาท และสินเชื่อธุรกิจรายใหญ่ วงเงินสินเชื่อเดิม 50-500ล้านบาท