การคุ้มครองเงินฝากเป็นนโยบายของภาครัฐ เพื่อให้ประชาชนผู้ฝากมั่นใจว่า จะได้รับเงินฝากคืนภายใต้วงเงิน และภายในระยะเวลาตามที่กฎหมายกำหนด หากสถาบันการเงินภายใต้ความคุ้มครองถูกเพิกถอนใบอนุญาตและต้องปิดกิจการไป
1.วงเงินคุ้มครอง
หากเกิดกรณีที่ สถาบันการเงินตามกฎหมายว่า ด้วยสถาบันคุ้มครองเงินฝากถูกเพิกถอนใบอนุญาต และปิดกิจการ ผู้ฝากเงินในสถาบันการเงินดังกล่าว จะได้รับเงินคืนภายใน 30 วัน ไม่เกินรายละ 1 ล้านบาท โดยจะคุ้มครองในลักษณะ 1 รายผู้ฝาก ต่อ 1 สถาบันการเงิน ขอย้ำว่า ไม่ใช่ต่อ 1 บัญชี
1 ล้านบาทคือ วงเงินสูงสุดที่ผู้ฝากที่มีชื่อเป็นเจ้าของบัญชีเงินฝากตามเอกสารการเปิดบัญชีจะได้รับเงินฝากคืน กรณีที่ผู้ฝากมีบัญชีเงินฝากหลายบัญชีที่เปิดอยู่กับสถาบันการเงิน 1 แห่ง จะต้องนำเงินฝาก ซึ่งรวมเงินต้นและดอกเบี้ย ในทุกสาขาและทุกบัญชีของสถาบันการเงินแห่งนั้น มาคำนวณรวมกัน เพื่อจ่ายคืนให้ผู้ฝากเงินรายนั้น
2.ใครบ้างที่จะได้รับความคุ้มครองเงินฝาก
ผู้ฝากที่เป็นบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล จะได้รับความคุ้มครองโดยอัตโนมัติทันทีที่เปิดบัญชีเงินฝากกับสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันคุ้มครองเงินฝาก ซึ่งผู้ฝากไม่ต้องดำเนินการใดๆ และไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ เพื่อให้ได้รับความคุ้มครอง
ผู้ฝากที่เป็นบุคคลธรรมดา ได้รับความคุ้มครอง เมื่อเปิดบัญชีเงินฝากกับสถาบันการเงินตามกฎหมายว่า ด้วยสถาบันคุ้มครองเงินฝาก
ผู้ฝากที่เป็นนิติบุคคล เช่น บริษัท กองทุนต่าง ๆ มูลนิธิ วัด สมาคม สหกรณ์ บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายเช่นเดียวกับผู้ฝากที่เป็นบุคคลธรรมดา โดยประเภทของเงินฝากและสถาบันการเงินที่ฝากต้องอยู่ภายใต้กฎหมายคุ้มครองเงินฝาก
ชาวต่างชาติที่เปิดบัญชีเงินฝากกับสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันคุ้มครองเงินฝากที่อยู่ในประเทศไทย จะได้รับการคุ้มครองต่อเมื่อเป็นบัญชีเงินฝากภายในประเทศที่เป็นเงินบาท ในประเภทที่ให้ความคุ้มครอง เว้นแต่เป็นเงินฝากใน “บัญชีเงินบาทของบุคคลที่มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ” ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน
3.ผลิตภัณฑ์เงินฝากที่ได้รับความคุ้มครอง
เงินฝากที่เปิดไว้ที่สถาบันการเงินที่อยู่ภายใต้กฎหมายคุ้มครองเงินฝาก เป็นเงินสกุลบาทและเป็นบัญชีเงินฝากภายในประเทศ ในปัจจุบันมี 5 ประเภท ได้แก่
4.ผลิตภัณฑ์ทางการเงินหรือเงินฝากบางประเภทไม่ได้รับการคุ้มครอง
5.สถาบันการเงินที่ได้รับการคุ้มครอง
ธนาคารพาณิชย์จดทะเบียนในประเทศ (19 แห่ง)
สาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ (11 แห่ง)
บริษัทเงินทุน (2 แห่ง)
บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ (3 แห่ง)