22 พ.ย.64 กระทรวงการคลัง เปิดจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ รุ่นออมไปด้วยกัน วงเงินรวม 70,000 ล้านบาท โดยจะจำหน่ายให้กับประชาชนทั่วไป ผ่านธนาคารตัวแทนฯ ทั้ง 4 แห่ง ได้แก่ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกสิกรไทย และธนาคารไทยพาณิชย์ วงเงินรวม 55,000 ล้านบาท ในวันที่ 22 พฤศจิกายน – 3 ธันวาคม 2564 ลงทุนขั้นต่ำ 1,000 บาท ไม่จำกัดวงเงินซื้อขั้นสูง
มีให้เลือก 2 รุ่น คือ รุ่นอายุ 5 ปี และ รุ่นอายุ 10 ปี จ่ายดอกเบี้ยแบบขั้นบันได โดยรุ่นอายุ 5 ปี จ่ายดอกเบี้ยเฉลี่ย 2.10% ต่อปี และรุ่นอายุ 10 ปี จ่ายดอกเบี้ยเฉลี่ย 3.00% ต่อปี
นอกจากนี้ยังเปิดจำหน่ายให้แก่นิติบุคคลไม่แสวงหากำไร วงเงินรวม 15,000 ล้านบาท มีเฉพาะรุ่นอายุ 10 ปี เปิดจำหน่ายตั้งแต่ 24 พฤศจิกายน - 3 ธันวาคม 2564 ดอกเบี้ยคงที่ 2.20% จ่ายดอกเบี้ยทุก 6 เดือน
เงื่อนไขมีดังนี้
อายุพันธบัตร
อัตราดอกเบี้ย
อัตราดอกเบี้ยแบบขั้นบันได
ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ย 1.5% ต่อปี
ปีที่ 2 - 4 อัตราดอกเบี้ย 2.00% ต่อปี
ปีที่ 5 อัตราดอกเบี้ย 3.00% ต่อปี
(เฉลี่ย 2.10% ต่อปี)
อัตราดอกเบี้ยแบบขั้นบันได
ปีที่ 1 - 3 อัตราดอกเบี้ย 2.00% ต่อปี
ปีที่ 4 - 5 อัตราดอกเบี้ย 3.00% ต่อปี
ปีที่ 6 - 9 อัตราดอกเบี้ย 3.50% ต่อปี
ปีที่ 10 อัตราดอกเบี้ย 4.00% ต่อปี
(เฉลี่ย 3.00% ต่อปี)
( เฉพาะนิติบุคคลที่ไม่มีวัตถุประสงค์ในการแสวงหากำไร)
อัตราดอกเบี้ยคงที่ 2.20% ต่อปี
วงเงินจำหน่ายรวม
วันที่จำหน่าย
วันที่ 22 พฤศจิกายน - 3 ธันวาคม 2564
ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต Mobile Application และเคาน์เตอร์ทุกสาขาของธนาคารตัวแทนจำหน่าย ได้แก่ ธ.กรุงเทพ , ธ.กรุงไทย , ธ.กสิกรไทย , ธ.ไทยพาณิชย์
วันที่ 24 พฤศจิกายน - 3 ธันวาคม 2564
ผ่านเคาน์เตอร์ทุกสาขาของธนาคารตัวแทนจำหน่าย ได้แก่ ธ.กรุงเทพ , ธ.กรุงไทย , ธ.กสิกรไทย , ธ.ไทยพาณิชย์
ผู้มีสิทธิ์ซื้อในตลาดแรก
วงเงินซื้อ ข้ันต่ำ-ขั้นสูง
วันที่ครบกำหนดไถ่ถอน
วันที่จ่ายดอกเบี้ย
การเสียภาษี
ธนาคารแห่งประเทศไทยจะหักภาษี ณ ที่จ่ายทุกครั้งที่มีการจ่ายดอกเบี้ยตามอัตราที่ประกาศในประมวลรัษฎากร (บุคคลธรรมดาจะถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตรา 15% ของดอกเบี้ยที่ได้รับ) ผู้ซื้อจะได้รับหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายทางไปรษณีย์ หรือทางอินเทอร์เน็ต กรณีที่สมัครใช้บริการข้อมูลพันธบัตรทางอินเทอร์เน็ตแล้ว ( www.bot.or.th หัวข้อพันธบัตรและตราสารหนี้)
การจ่ายคืนเงินต้นเมื่อครบกำหนดไถ่ถอน
ธนาคารแห่งประเทศไทยจะโอนเงินต้นเข้าบัญชีเงินฝาก (ยกเว้นบัญชีเงินฝากออมทรัพย์พิเศษและบัญชีเงินฝากประจำ) ในวันที่ครบกำหนดไถ่ถอน กรณีเปลี่ยนเป็นพันธบัตรแบบมีใบตราสาร (Scrip) ธนาคารแห่งประเทศไทยจะโอนเงินต้นเข้าบัญชี เมื่อธนาคารแห่งประเทศไทยได้รับคืนใบพันธบัตร
ที่มา : สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ