สิทธิประกันสังคมมาตรา 33 (ม.33) ภายใต้ความคุ้มครองจากกองทุนเงินประกันสังคม จะได้รับใน 7 กรณี ได้แก่ กรณีประสบอันตราย หรือเจ็บป่วย , กรณีคลอดบุตร , กรณีทุพพลภาพ , กรณีเสียชีวิต , กรณีสงเคราะห์บุตร , กรณีชราภาพ และ กรณีว่างงาน
สำหรับมนุษย์เงินเดือน พนักงานบริษัท ซึ่งเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 ในแต่ละเดือนจะถูกนายจ้างหักเงิน 5% ของค่าจ้าง สูงสุดไม่เกิน 750 บาท ( 1,650 - 15,000 บาทต่อเดือน ) เพื่อนำส่งเข้ากองทุนประกันสังคมทุกเดือน
เงิน 5% นี้ ถูกหักไปใช้ทำอะไรบ้าง
กรณีการหักเงินส่งสมทบกองทุนประกันสังคมที่ 750 บาท
โดยในส่วนของเงินประกันชราภาพจะได้รับเมื่ออายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ และความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขดังนี้
กรณีบำนาญชราภาพ
กรณีบำเหน็จชราภาพ
สำหรับรูปแบบการรับเงินเกษียณคืนจากกองทุนประกันสังคม มี 3 กรณี ดังนี้
1.กรณีจ่ายเงินสมทบมาแล้ว ไม่น้อยกว่า 180 เดือน : มีสิทธิได้รับเงินบำนาญชราภาพเป็นรายเดือนในอัตราร้อยละ 20 ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย (สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท )
ตัวอย่างเช่น ผู้ประกันตนทำงานได้รับเงินค่าจ้างเดือนละ 15,000 บาท มาตลอด และส่งเงินสมทบมาแล้ว 20 ปี อายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ และความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลงจะได้รับเงินบำนาญชราภาพรายเดือน ตามการคำนวณดังนี้
ผู้ประกันตนจะได้รับเงินบำนาญ
= 15 ปี (แรก) ได้อัตราเงินบำนาญ 20%
= 5 ปี (หลัง) ได้อัตราเงินบำนาญ (1.5% (ปรับเพิ่ม) × 5ปี )
= 7.5%
รวมอัตราเงินบำนาญ 20 ปี
= 20% + 7.5% = 27.5%
ผู้ประกันตนจะได้รับเงินบำนาญรายเดือน
= 27.5% ของ 15,000 บาท
= 4,125 บาท/เดือนจนตลอดชีวิต
ส่วนกรณีผู้ประกันตนที่ได้รับเงินบำนาญชราภาพเสียชีวิตภายใน 5 ปี ทายาทผู้มีสิทธิ จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพจำนวน 10 เท่าของเงินบำนาญรายเดือน
= 4,125 บาท × 10 เท่า เท่ากับ 41,250 บาท
หมายเหตุ : กองทุนชราภาพ ประกันสังคม จัดตั้งขึ้นเมื่อเดือนธันวาคม 2541 ดังนั้นผู้ที่ทำงานก่อนปี 2542 และได้เข้าระบบประกันสังคม จึงเริ่มส่งเงินสมทบเข้ากองทุนชราภาพ เดือนแรกคือเดือนมกราคม 2542
2.กรณีจ่ายเงินสมทบมากกว่า 12 เดือน แต่ไม่เกิน 180 เดือนและมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ เมื่อความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง จะได้รับเงินบำเหน็จเท่ากับจำนวนเงินสมทบของตนเอง + เงินสมทบในส่วนของนายจ้างและรัฐบาล + ผลประโยชน์ตอบแทน ตามที่สำนักงานประกันสังคมประกาศกำหนด
3.กรณีจ่ายเงินสมทบไม่ถึง 12 เดือน และมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ เมื่อความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง จะได้รับเงินเกษียณจากกองทุนประกันสังคมเป็นเงินบำเหน็จ (เงินก้อนครั้งเดียว) เท่ากับจำนวนเงินที่จ่ายสมทบกองทุนประกันสังคม ตัวอย่างเช่น ผู้ประกันตนท่านหนึ่ง จ่ายเงินสมทบของตนเอง 450 บาท/เดือน เป็นเวลารวม 11 เดือน ดังนั้นผู้ประกันตนจะได้รับเงินบำเหน็จเท่ากับ 450*11 หรือ 4,590 บาท
หลักฐานที่ใช้เพื่อขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพ
-สำเนามรณะบัตรและสำเนาทะเบียนบ้านผู้ตาย
-สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของผู้มีสิทธิรับเงินบำเหน็จชราภาพ
-สำเนาทะเบียนสมรสของผู้ประกันคนและของบริดามารดา (ถ้ามี)
-สำเนาสูติบัตรของบุตรหรือสำเนาทะเบียนบ้านของบุตร กรณีไม่มีสูติบัตร
-หนังสือระบบให้เป็นผู้มีสิทธิรับเงินบำเหน็จชราภาพ (ถ้ามี)
ขั้นตอนการขอรับเงินเกษียณ
สอบถามข้อมูลเกี่ยวกับเงินเกษียณกองทุนประกันสังคมเพิ่มเติม เช่น ข้อมูลการส่งเงินสมทบ และสิทธิประโยชน์อื่น ๆ สามารถตรวจสอบได้ที่
ที่มา : สำนักงานประกันสังคม