ใกล้เข้าช่วงยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปี 2564 ที่จะต้องยื่นภายในเดือนมีนาคมปี 2565 นั้น มาดูกันว่าการใช้สิทธิหักลดหย่อนภาษี กรณีของค่าฝากครรภ์และค่าคลอดบุตร" สามารถหักลดหย่อนตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกินท้องละ 60,000 บาท มีรายละเอียดเงื่อนไขดังนี้
สิทธิประโยชน์หักค่าลดหย่อน
มนุษย์เงินเดือนผู้มีรายได้ที่กำลังมีลูก สามารถนำค่าฝากครรภ์และค่าคลอดบุตรของตนไปใช้เป็น ค่าลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงรวมสูงสุดไม่เกินท้องละ 60,000 ทั้งนี้อาจจะมีลูกมากกว่า 1 ท้องต่อปีก็ได้ ส่วนการตั้งครรภ์ลูกแฝดถือเป็นการตั้งท้องครั้งเดียว
ทั้งนี้หาก ค่าฝากครรภ์และค่าคลอดบุตรเกิดขึ้นคนละปีกัน สามารถใช้สิทธิลดหย่อนได้ตามค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงในแต่ละปีภาษี แต่ท้องนั้นจะลดหย่อนรวมกันได้สูงสุดไม่เกิน 60,000 บาท
เงื่อนไขการรับสิทธิ
ในกรณีที่สามีภรรยายื่นภาษีรวมกัน ให้คนที่ยื่นภาษีหลักเป็นคนได้ใช้สิทธินี้ แต่ถ้าสามีภรรยาต่างฝ่ายต่างยื่นภาษี คนที่ใช้สิทธิลดหย่อนนี้ได้ต้องเป็น ภรรยา คนเดียวเท่านั้น
ในกรณีที่มีท้องสองครั้งในปีเดียวกัน แต่ละท้องจะได้สิทธิลดหย่อนแยกกันท้องละไม่เกิน 60,000 บาท
เช่น ถ้าจ่ายค่าทำคลอดสำหรับท้องแรกไป 50,000 บาท และในปีเดียวกันก็จ่ายค่าฝากครรภ์สำหรับท้องที่สองด้วยอีก 50,000 บาท จะสามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษี 50,000 บาท สำหรับท้องแรก และใช้สิทธิลดหย่อนภาษีอีก 50,000 บาท สำหรับท้องที่สอง เพราะกฎหมายให้สิทธิแยกเป็นคราวตามการตั้งครรภ์
หากมีสิทธิสวัสดิการเบิกค่าฝากครรภ์หรือค่าคลอดบุตรได้ ไม่ว่าจะเบิกจากบัตรทอง (หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ), ประกันสังคม, สวัสดิการข้าราชการหรือหน่วยงานของรัฐ หรือสิทธิสวัสดิของนายจ้าง ฯลฯ เพดานสิทธิในการหักลดหย่อน จะต้องหักออกจากเงินค่าใช้จ่ายจากสิทธิสวัสดิการที่เบิกมาได้ด้วย
เช่น หากเบิกค่าคลอดบุตรจากประกันสังคมมาได้ 13,000 บาท เพดานสิทธิลดหย่อนจะลดลงจาก 60,000 บาท เหลือ 47,000 บาท (เพดานสิทธิ 60,000 - สิทธิสวัสดิการที่เบิกได้ 13,000 บาท ) หรือกรณีเบิกค่าคลอดบุตรจากบริษัทมาได้ 70,000 บาท เพดานสิทธิลดหย่อนก็จะลดลงเหลือ 0 บาท
ค่าใช้จ่ายที่นำไปลดหย่อนได้
ค่าใช้จ่ายที่คุณสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ ได้แก่
ทั้งนี้ ค่าใช้จ่ายข้างต้นจะจ่ายให้สถานพยาบาลของรัฐหรือเอกชนก็ได้ และแม้ว่าการตั้งครรภ์นั้นสุดท้ายจะแท้งไปก็ยังสามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้
เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการยื่นลดหย่อนภาษี
10 คำถามที่พบบ่อย
การใช้สิทธิหักลดหย่อนค่าฝากครรภ์และค่าคลอดบุตร
Q1 : หากจ่ายค่าคลอดบุตรต้นปี 2561 เป็นเงิน 60,000 บาท ปลายปีจ่ายค่าฝากครรภ์บุตรคนที่ 2 อีก 60,000 บาท ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 120,000 บาทใช่หรือไม่
A1 : สามารถใช้สิทธิแต่ละคราวหรือท้องละไม่เกิน 60,000 บาท ดังนั้น สามารถใช้สิทธิได้ 120,000 บาท
Q2 : หากจ่ายค่าฝากครรภ์ต้นปี 2561 เป็นเงิน 30,000 บาท ต่อมาแท้งบุตรต้องขูดมดลูกจำนวน 40,000 บาท สามารถใช้สิทธิยกเว้นภาษีได้บุคคลธรรมดาเท่าใด
A2 : ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาทั้งค่าฝากครรภ์และค่าขูดมดลูก แต่ต้องไม่เกิน 60,000 บาท
Q3 : หากจ่ายค่าฝากครรภ์ปลายปี 2560 เป็นเงิน 35,000 บาท และจ่ายค่าคลอดบุตรปลายปี 2561 เป็นเงิน 45,000 บาท สามารถใช้สิทธิยกเว้นภาษีได้บุคคลธรรมดาในปี 2561 ได้เท่าใด
A3 : ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเฉพาะค่าคลอดบุตร 45,000 บาท เนื่องจากสามารถใช้สิทธิยกเว้นได้เท่าที่จ่ายไปตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2561 เป็นต้นไป
Q4 : หากจ่ายค่าฝากครรภ์ปี 2561 เป็นเงิน 35,000 บาท และจ่ายค่าคลอดบุตรปี 2562 เป็นเงิน 45,000 บาท สามารถใช้สิทธิยกเว้นภาษีได้บุคคลธรรมดาในปี 2561 และ 2562 ได้เท่าใด
A4 : ปี 2561 ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 35,000 บาท และปี 2562 จำนวน 25,000 บาท เนื่องจากในแต่ละคราวรวมกันต้องไม่เกิน 60,000 บาท
Q5 : กรณีฝากครรภ์แล้วภายหลังตรวจพบว่าบุตรในครรภ์ไม่สมบูรณ์ แพทย์จำเป็นต้องนำทารกออกจากครรภ์ (ยุติการตั้งครรภ์) สามารถใช้สิทธิลดหย่อนได้หรือไม่
A5 : ได้ เนื่องจากค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการรักษาพยาบาลอันเนื่องมาจากการตั้งครรภ์และคลอดบุตร ไม่ว่าจะเป็นค่าตรวจและรับฝากครรภ์ ค่าบำบัดทางการแพทย์ ค่ายาและค่าเวชภัณฑ์ ค่าทำคลอด และค่ากินอยู่ในสถานพยาบาล ทั้งนี้ ไม่ว่าทารกที่คลอดจะมีชีวิตรอดหรือไม่
Q6 : กรณีตั้งครรภ์และแท้งเอง และตั้งครรภ์ใหม่ในปีภาษีเดียวกัน ลดหย่อนได้เท่าใด
A6 : ใช้สิทธิลดหย่อนได้ทั้ง 2 ครั้งๆ ละ ไม่เกิน 60,000 บาท ตามข้อ2(4) ของประกาศอธิบดีฯ ภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 331)
Q7 : ค่าขูดมดลูกกรณีแท้งจากครั้งก่อน ถือเป็นค่าฝากครรภ์ที่ได้รับสิทธิลดหย่อนหรือไม่
A7 : ได้ ถือเป็นค่าบำบัดทางการแพทย์ ตามความหมายของค่าฝากครรภ์และค่าคลอดบุตร ตามประกาศอธิบดีฯ ภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 331)
Q8 : กรณีต่างฝ่ายต่างมีเงินได้แยกยื่นแบบ ใบเสร็จรับเงินค่าฝากครรภ์และคลอดบุตรออกมาในชื่อสามี ภริยาใช้สิทธิลดหย่อนได้หรือไม่
A8 : ได้ ใบเสร็จรับเงินหรือหลักฐานอื่นใดที่แสดงว่าผู้มีเงินได้หรือคู่สมรสได้จ่ายค่าฝากครรภ์ ตามข้อ 3(2) ของประกาศอธิบดีฯ ภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 331)
Q9 : กรณีตั้งครรภ์และแท้งในเดือนมีนาคม 2561 และตั้งครรภ์ใหม่ในเดือนกันยายน 2561 จะได้รับสิทธิค่าฝากครรภ์และค่าคลอดบุตรอย่างไร
A9 : ได้รับสิทธิ 120,000 บาท เนื่องจากมีการตั้งครรภ์ 2 คราว ในปีภาษีเดียวกัน
Q10 : กรณีคลอดลูกแฝด ในเดือนกันยายน ปี 2561 จะได้รับสิทธิลดหย่อนค่าฝากครรภ์และคลอดบุตรอย่างไร
A10 : ได้รับสิทธิ 60,000 บาท เนื่องจากเป็นการตั้งครรภ์เพียงคราวเดียว
อ่าน : คำถามพบบ่อยเพิ่มเติม คลิกที่นี่
ที่มา : กรมสรรพากร
: ผศ.ดร.ยุทธนา ศรีสวัสดิ์ อาจารย์ประจำวิชากฏหมายภาษีอากรและ CEO iTAX