ช่วงโค้งท้ายปี มนุษย์เงินเดือนที่วางแผนการเงินเพื่อ "ลดหย่อนภาษี 2564" พลาดไม่ได้กับ 2 กองทุนช่วยประหยัดภาษี นั่นคือ กองทุนรวมเพื่อการออม (Super Savings Fund ) หรือ SSF และกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ( Retirement Mutual Fund) หรือ RMF ซึ่งทั้ง 2 กองทุนมีนโยบายการลงทุนในสินทรัพย์ไม่ได้แตกต่างกันนัก คือลงทุนได้ทั้ง หุ้นไทย หุ้นต่างประเทศ ตราสารหนี้ กองทุนทองคำ กองทุนอสังหาริมทรัพย์
แตกต่างก็ตรงการลงทุนใน SSF จะซื้อหน่วยลงทุนเพื่อใช้ลดหย่อนภาษีสูงสุดได้ไม่เกิน 30% ของรายได้ที่ต้องเสียภาษีแต่ไม่เกิน 200,000 บาท และเมื่อรวมกับค่าลดหย่อนการออมเพื่อเกษียณอื่นๆ ตัวอย่าง กองทุนรวมสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund) กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ประกันชีวิตแบบบำนาญ ต้องไม่เกิน 500,000 บาท และต้องถือหน่วยลงทุนไม่ต่ำกว่า 10 ปี นับจากวันที่ซื้อ ไม่กำหนดขั้นต่ำในการซื้อ และไม่ต้องซื้อต่อเนื่องทุกปี
ส่วนผู้ลงทุนกองทุน RMF ซื้อหน่วยลงทุนเพื่อใช้ลดหย่อนภาษีสูงสุดได้ไม่เกิน 30% ของรายได้พึงประเมินที่ต้องเสียภาษี แต่ไม่เกิน 500,000 บาท และเมื่อรวมกับการออมเพื่อเกษียณอื่นๆ ต้องไม่เกิน 500,000 บาท ต้องถือหน่วยลงทุนไม่น้อยกว่า 5 ปี นับตั้งแต่วันที่ซื้อครั้งแรก และขายได้เมื่ออายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ ไม่กำหนดขั้นต่ำในการซื้อ แต่ต้องซื้อต่อเนื่องทุกปี (หรืออย่างน้อยซื้อปีเว้นปี )
SSF และ RMF เหมาะกับใคร ควรเลือกกองทุนแบบไหนดี
กองทุน SSF และ RMF เหมาะกับวัยทำงานที่มีเงินได้ถึงเกณฑ์ต้องเสียภาษี แต่ต้องการประหยัดภาษี และอยากลดหย่อนภาษีด้วยการลงทุนโดยหวังผลตอบแทนในระยะยาว หรือต้องการเตรียมความพร้อมด้านการเงินก่อนเกษียณอายุจากการทำงาน
ส่วนการพิจารณาเลือกลงทุนกองทุน SSF หรือ RMF ขึ้นอยู่กับเป้าหมายในการลงทุน อายุของผู้ลงทุน รายได้และเงินเก็บ ดังนี้