ความรู้ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คงเคยได้ยินกันว่า สิ่งที่ไม่สามารถหนีพ้นได้คือ ภาษี และ ความตาย เพราะตามประมวลรัฎากร กำหนดไว้ว่า ผู้มีเงินได้มีหน้าที่ยื่นเสียภาษีต่อกรรมสรรพากร แต่จะเป็นเงินได้ในระดับไหน และต้องทำอะไรบ้าง
ตามกฎหมาย เงินได้ที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเรียกว่า "เงินได้พึงประเมิน" หมายถึง เงินได้ของบุคคลใดๆ หรือหน่วยภาษีใดข้างต้นที่เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคมที่เกิดขึ้นในปีภาษีนั้นๆ ซึ่งได้แก่
เกณฑ์เงินได้พึงประเมินขั้นต่ำที่ผู้มีเงินได้ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษี
โสด 120,000
สมรส 220,000
โสด 60,000
สมรส 120,000
2.ห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคล หรือคณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคล มีเงินได้พึงประเมินเกิน 60,000 บาท
3.กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง มีเงินได้พึงประเมินเกิน 60,000 บาท
สำหรับการเสียภาษีจะต้องนำเงินได้พึงประเมินทุกประเภทรวมกันตลอดปีภาษี หักด้วยค่าใช้จ่ายตามที่กฎหมายกำหนด เหลือเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่ายแล้ว เหลือเงินได้เท่าไหร่มาหักด้วยค่าลดหย่อนต่างๆ ตามที่กำหมายกำหนด จากนั้นเหลือเงินได้เท่าไหร่จึงมาหักด้วยค่าลดหย่อนเงินบริจาคที่ไม่เกินจำนวนที่กฎหมายกำหนด
สุดท้ายเหลือเงินได้สุทธินำเงินได้สุทธิเท่าไหร่ จึงนำมาคำนวณภาษีตามอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งเป็นอัตราก้าวหน้าตั้งแต่ 5-35% หากเงินได้สุทธิไม่เกินปีละ 150,000 บาทจะได้รับการยกเว้นภาษี
สรุป: ผู้มีรายได้ตามเกณฑ์ขั้นต่ำคือ เงินเดือนไม่ต่ำกว่าเดือนละ 10,000 บาท หรือหากรวมรายได้อื่นแล้วมากกว่า 15,000 บาทต่อเดือนสำหรับคนโสด หรือกรณีสมรสแล้ว มีเงินเดือนไม่ต่ำกว่า 18,000 บาทหรือรวมรายได้อื่นแล้วไม่ต่ำกว่า 28,000 บาท มีหน้าที่ต้องยื่นแบบเสียภาษี ไม่ว่าเมื่อคำนวณภาษีแล้วจะมีภาระภาษีหรือไม่ก็ตาม