สรรพากร เปิดสูตรคำนวณเงินได้ภาษี “คริปโตฯ”

31 ม.ค. 2565 | 11:10 น.
อัปเดตล่าสุด :31 ม.ค. 2565 | 18:51 น.

กรมสรรพากร เปิดสูตรคำนวณยื่นภาษีแสดงเงินได้บุคคลธรรมดา จากการลงทุนคริปโตฯ หลังล่าสุดผ่อนปรนเกณฑ์ให้นำผลขาดทุนมาหักกลับกำไรได้ ย้ำเงื่อนไขทำผ่าน Exchange ภายใต้กำกับ กลต. เท่านั้น

วันที่ 31 มกราคม 65  กรมสรรพากรได้ออกคู่มือการชำระภาษีของผู้มีเงินได้จากการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล หรือคริปโตเคอร์เรนซี เพื่อยื่นแสดงเงินได้ภาษีบุคคล หลังมีการผ่อนปรน โดยอนุญาตให้เอาผลขาดทุนมาหักกลบกำไรที่ดีรับในปีภาษีเดียวกันได้ ภายใต้เงื่อนไขเฉพาะการซื้อขายกับศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล หรือ Exchange ที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เท่านั้น

 

สำหรับการคำนวณภาษี ทำได้ 2 รูปแบบ ได้แก่ คำนวณต้นทุนด้วยวิธีเข้าก่อนออกก่อน และ วิธีต้นทุนถัวเฉลี่ยเคลื่อนที่ ซึ่งหากเลือกวิธีใดวิธีหนึ่งแล้ว จะต้องใช้การคำนวณนั้นตลอดทั้งปี และจะสามารถเปลี่ยนวิธีการคำนวณรูปแบบใหม่ได้ในปีภาษีถัดไป

โดยมีรายละเอียดการคำนวณ ดังนี้

ตัวอย่างที่ 1 คำนวณต้นทุนด้วยวิธีเข้าก่อนออกก่อนในปีแรก และปีถัดมาเปลี่ยนเป็นวิธีต้นทุนถัวเฉลี่ยเคลื่อนที่


ในปีภาษี 2564 นายเอ ซื้อคริปโตเคอร์เรนซี 3 ครั้ง

- วันที่ 3 ก.พ. 64 ปริมาณ 10 เหรียญ มูลค่าเหรียญละ 20 บาท
- วันที่ 5 มิ.ย. 64 ปริมาณ 5 เหรียญ มูลค่าเหรียญละ 8 บาท
- วันที่ 15 ต.ค. 64 ปริมาณ 15 เหรียญ มูลค่าเหรียญละ 9 บาท

และ ขายคริปโตเคอร์เรนซี 2 ครั้ง

- วันที่ 10 ก.ค. 64 ปริมาณ 10 เหรียญ มูลค่าเหรียญละ 30 บาท
- วันที่ 16 พ.ย. 64 ปริมาณ 16 เหรียญ มูลค่าเหรียญละ 10 บาท

ตัวอย่างการคำนวณภาษีคริปโตฯ

นายเอ มีหน้าที่ นำเงินได้จำนวน 121 บาท (100+21) ไปรวมคำนวณเป็นเงินได้พึงประเมินเพื่อเสียภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด.90 ประเภทเงินได้ 40(4)(ฌ) แห่งประมวลรัษฎากร และสำหรับยอดคงเหลือ ปริมาณ 4 เหรียญ มูลค่าเหรียญละ 9 บาท ยังไม่ถือเป็นรายได้ของปีภาษี 2564

ในปีภาษี 2565 นายเอ ซื้อคริปโตเคอร์เรนซี 1 ครั้ง

- วันที่ 15 ม.ค. 65 ปริมาณ 10 เหรียญ มูลค่าเหรียญละ 16 บาท

นายเอ ขายคริปโตเคอร์เรนซี 1 ครั้ง

- วันที่ 20 ม.ค. 65 ปริมาณ 12 เหรียญ มูลค่าเหรียญละ 17 บาท

ตัวอย่างการคำนวณภาษีคริปโตฯ

นายเอ มีหน้าที่ นำเงินได้จำนวน 36 บาท ไปรวมคำนวณเป็นเงินได้พึงประเมินเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด.90 ประเภทเงินได้ 40(4)(ฌ) แห่งประมวลรัษฎากรและสำหรับยอดคงเหลือ ปริมาณ 2 เหรียญ มูลค่าเหรียญละ 14 บาท ยังไม่ถือเป็นรายได้ของปีภาษี 2565

 

ตัวอย่างที่ 2 คำนวณต้นทุนด้วยวิธีต้นทุนถัวเฉลี่ยเคลื่อนที่ทั้ง 2 ปี
ในปีภาษี 2564 นายเอ ซื้อคริปโตเคอร์เรนซี 3 ครั้ง

- วันที่ 3 ก.พ. 64 ปริมาณ 10 เหรียญ มูลค่าเหรียญละ 20 บาท
- วันที่ 5 มิ.ย. 64 ปริมาณ 5 เหรียญ มูลค่าเหรียญละ 8 บาท
- วันที่ 15 ต.ค. 64 ปริมาณ 15 เหรียญ มูลค่าเหรียญละ 9 บาท

และ ขายคริปโตเคอร์เรนซี 2 ครั้ง

- วันที่ 10 ก.ค. 64 ปริมาณ 10 เหรียญ มูลค่าเหรียญละ 30 บาท
- วันที่ 16 พ.ย. 64 ปริมาณ 16 เหรียญ มูลค่าเหรียญละ 10 บาท

ตัวอย่างการคำนวณภาษีคริปโตฯ

นายเอ มีหน้าที่ นำเงินได้จำนวน 128 บาท (140-12) ไปรวมคำนวณเป็นเงินได้พึงประเมินเพื่อเสียภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด.90 ประเภทเงินได้ 40(4)(ฌ) แห่งประมวลรัษฎากร และสำหรับยอดคงเหลือ ปริมาณ 4 เหรียญ มูลค่าเหรียญละ 10.75 บาท ยังไม่ถือเป็นรายได้ของปีภาษี 2564

 

ในปีภาษี 2565 นายเอ ซื้อคริปโตเคอร์เรนซี 1 ครั้ง

- วันที่ 15 ม.ค. 65 ปริมาณ 10 เหรียญ มูลค่าเหรียญละ 16 บาท

นายเอ ขายคริปโตเคอร์เรนซี 1 ครั้ง

- วันที่ 20 ม.ค. 65 ปริมาณ 12 เหรียญ มูลค่าเหรียญละ 17 บาท

ตัวอย่างการคำนวณภาษีคริปโตฯ

นายเอ มีหน้าที่ นำเงินได้จำนวน 30 บาท ไปรวมคำนวณเป็นเงินได้พึงประเมินเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด.90 ประเภทเงินได้ 40(4)(ฌ) แห่งประมวลรัษฎากร

 

ตัวอย่างที่ 3 กรณีใช้คริปโตเคอร์เรนซี/โทเคนดิจิทัล แลกเปลี่ยนกับคริปโตเคอร์เรนซี/โทเคนดิจิทัล


ในปีภาษี 2564 นายเอ นำคริปโตเคอร์เรนซี X ปริมาณ 8 เหรียญ ซื้อมามูลค่าเหรียญละ 15 บาท แลกกับคริปโตเคอร์เรนซี Y ปริมาณ 12 เหรียญ ของนายบี ที่ซื้อมาในมูลค่าเหรียญละ 9 บาท ณ วันที่แลกเปลี่ยนคริปโตเคอร์เรนซี X มีมูลค่าเหรียญละ 20 บาท และคริปโตเคอร์เรนซี Y มีมูลค่าเหรียญละ 14 บาท คำนวณกำไรหรือขาดทุน ดังนี้

ตัวอย่างการคำนวณภาษีคริปโตฯ

นายเอ มีหน้าที่ นำกำไรจำนวน 48 บาท ไปรวมคำนวณเป็นเงินได้พึงประเมินเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด.90 ประเภทเงินได้ 40(4)(ฌ) แห่งประมวลรัษฎากร


นายบี มีหน้าที่ นำกำไรจำนวน 52 บาท ไปรวมคำนวณเป็นเงินได้พึงประเมินเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด.90 ประเภทเงินได้ 40(4)(ฌ) แห่งประมวลรัษฎากร

 

ตัวอย่างที่ 4 กรณีการมีรายได้จากการขายคริปโตเคอร์เรนซีที่ได้จากการขุด คำนวณต้นทุนด้วยวิธีเข้าก่อนออกก่อนในปีแรก และปีถัดมาเปลี่ยนเป็นวิธีต้นทุนถัวเฉลี่ยเคลื่อนที่


ในปีภาษี 2564 นายเอ ลงทุนในเครื่องคอมพิวเตอร์ราคา 900,000 บาท ในเดือน ม.ค. ขุดคริปโตเคอร์เรนซี X ได้ปริมาณ 60 เหรียญ ในเดือน มี.ค. นายเอ ขายคริปโตเคอร์เรนซี X ปริมาณ 40 เหรียญ ณ วันที่ขายคริปโตเคอร์เรนซี X มีมูลค่าเหรียญละ 30,000 บาท โดยในปีภาษี 2564 นายเอ มีค่าซ่อมแซมเครื่องคอมพิวเตอร์ จำนวน 100,000 บาท ค่าไฟฟ้า จำนวน 80,000 บาท และค่าอินเทอร์เน็ต จำนวน 30,000 บาท นายเอ คำนวณต้นทุนด้วยวิธีเข้าก่อนออกก่อน คำนวณกำไรหรือขาดทุน ดังนี้

ตัวอย่างการคำนวณภาษีคริปโตฯ

การคำนวณภาษีที่ต้องเสีย
วิธีที่ 1 เงินได้พึงประเมินหักค่าใช้จ่ายและค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนต่าง ๆ คูณด้วยอัตราภาษีเงินได้ หรือเรียกว่า อัตราก้าวหน้า ตามมาตรา 48(1) แห่งประมวลรัษฎากร

ตัวอย่างการคำนวณภาษีคริปโตฯ

วิธีที่ 2 เงินได้พึงประเมินคูณด้วยอัตราร้อยละ 0.5 หรือเรียกว่า พันละห้า ตามมาตรา 48(2) แห่งประมวลรัษฎากร

ตัวอย่าง การคำนวณภาษีคริปโตฯ

ดังนั้น ในปีภาษี 2564 นายเอ ต้องเสียภาษีที่คำนวณได้ตามวิธีที่ 1 จำนวน 75,000 บาท เนื่องจากภาษีที่คำนวณตาม วิธีที่ 1 สูงกว่าวิธีที่ 2 และนายเอ มีคริปโตเคอร์เรนซี X คงเหลือ จำนวน 20 เหรียญ ในราคาต้นทุน 170,000 บาท (510,000 – 340,000) ยกไปยังปีถัดไป

 

ต่อมาปีภาษี 2565 ในเดือน มี.ค. นายเอ ขุดคริปโตเคอร์เรนซี X ได้ปริมาณ 60 เหรียญ ในเดือน เม.ย. นายเอ ขายคริปโตเคอร์เรนซี X ปริมาณ 30 เหรียญ ณ วันที่ขายคริปโตเคอร์เรนซี X มีมูลค่าเหรียญละ 20,000 บาท โดยในปีภาษี 2565 นายเอ มีค่าซ่อมแซมเครื่องคอมพิวเตอร์ จำนวน 50,000 บาท ค่าไฟฟ้า จำนวน 60,000 บาท และค่าอินเทอร์เน็ต จำนวน 20,000 บาท นายเอ คำนวณต้นทุนด้วยวิธีต้นทุนถัวเฉลี่ยเคลื่อนที่ คำนวณกำไร หรือขาดทุน ดังนี้

ตัวอย่าง การคำนวณภาษีคริปโตฯ

การคำนวณภาษีที่ต้องเสีย
วิธีที่ 1 เงินได้พึงประเมินหักค่าใช้จ่ายและค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนต่าง ๆ คูณด้วยอัตราภาษีเงินได้ หรือเรียกว่า อัตราก้าวหน้า ตามมาตรา 48(1) แห่งประมวลรัษฎากร

ตัวอย่างการคำนวณภาษีคริปโตฯ

วิธีที่ 2 เงินได้พึงประเมินคูณด้วยอัตราร้อยละ 0.5 หรือเรียกว่า พันละห้า ตามมาตรา 48(2) แห่งประมวลรัษฎากร

ตัวอย่างการคำนวณภาษีคริปโตฯ

ในปีภาษี 2565 จากการคำนวณ ตามวิธีที่ 2 ภาษีที่ต้องเสียไม่เกินกว่า 5,000 บาท จึงไม่มีภาษีที่ต้องชำระตามวิธีที่ 2 ดังนั้น นายเอ จึงต้องเสียภาษีที่คำนวณได้ตามวิธีที่ 1 จำนวน 9,000 บาท และมีคริปโตเคอร์เรนซี X คงเหลือ จำนวน 50 เหรียญ ในราคาต้นทุนเหรียญละ 7,500 บาท ยกไปเป็นต้นทุนยังปีภาษีถัดไป

 

ตัวอย่างที่ 5
ในปีภาษี 2564 เมื่อวันที่ 10 ม.ค. 64 นายเอ ซื้อคริปโตเคอร์เรนซี ปริมาณ 10 เหรียญ มูลค่าเหรียญละ 20 บาท และนำไป Staking ได้รับผลตอบแทนเป็นคริปโตเคอร์เรนซี เมื่อวันที่ 30 มิ.ย. 64 ปริมาณ 2 เหรียญ มูลค่าเหรียญละ 10 บาท

ต่อมาเมื่อวันที่ 15 ส.ค. 64 ได้รับคริปโตเคอร์เรนซี ปริมาณ 3 เหรียญ จากการเข้าร่วมกิจกรรม ณ วันที่ได้รับ คริปโตเคอร์เรนซี มีมูลค่าเหรียญละ 8 บาท เมื่อวันที่ 1 ต.ค. 64 ขายคริปโตเคอร์เรนซีให้แก่นายบี ปริมาณ 15 เหรียญ มูลค่าเหรียญละ 20 บาท ใช้วิธีการคำนวณต้นทุนแบบอัตราถัวเฉลี่ยเคลื่อนที่ คำนวณเงินได้พึงประเมิน ดังนี้

ตัวอย่างการคำนวณภาษีคริปโตฯ

สรุปนายเอ มีเงินได้พึงประเมิน ดังนี้
วันที่ 30 มิ.ย. 64 ได้ผลตอบแทนจากการนำคริปโตเคอร์เรนซีไป Staking จำนวน 20 บาท
วันที่ 15 ส.ค. 64 ได้รับคริปโตเคอร์เรนซีจากการให้ จำนวน 24 บาท
วันที่ 1 ต.ค. 64 ได้รับกำไรจากการขายคริปโตเคอร์เรนซี จำนวน 56 บาท

ดังนั้น นายเอ มีหน้าที่ นำเงินได้ จำนวน 100 บาท ไปรวมคำนวณเป็นเงินได้พึงประเมินเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด.90 ประเภทเงินได้ 40(4)(ฌ) แห่งประมวลรัษฎากร จำนวน 56 บาท และประเภทเงินได้ 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร จำนวน 44 บาท